เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อัสสุตวตาสูตรที่ ... ผู้ได้สดับจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดในร่างกาย แต่ไม่อาจเบื่อหน่ายในจิตได้ 695
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ปุถุชนผู้มิได้สดับ... จะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้น ในร่างกาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของ ย่อมปรากฏ (ยอมรับการเกิด แก่เจ็บ ตาย ของกาย)

แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้น ในจิต นี้ได้เลย (ปุถุชนมองไม่ออก ว่า ร่างกายนี้ มีทั้งกายและใจ จึงมองไม่เห็นความเสื่อมของจิตหรือวิญญาณ)

เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าจิตนี้ อันปุถุชนผู้มิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วย ตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาล จึงจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตนั้นไม่ได้เลย (ปุถุชนยังยึดว่า ร่างกายนี้เป็นเรา จึงไม่อาจคลายความรู้สึกในความ เป็นตัวตน)

อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจด้วยดี โดยแยบคาย ถึง ปฏิจจสมุปบาท ในร่างกาย และจิต ที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ (อริยะสาวกผู้ได้สดับ ย่อมรู้ชัดตามปฏิจจ-ว่าสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เกิดเพราะปัจจัย ดับเพราะปัจจัย)

เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนา เพราะผัสสะอันเป็น ปัจจัย แห่ง สุขเวทนานั้นดับไป….

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้า ๙๓

๒. อัสสุตวตาสูตรที่ ๒


          [๒๓๕] สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ บิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาตรัสว่า  

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตายก็ดี ของร่างกาย อันเป็นที่ ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ

          ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้น บ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้น ในจิต เป็นต้นนั้นได้เลย

          ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนผู้มิได้สดับ รวบรัด ถือไว้ด้วย ตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาล ช้านาน ฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงจะเบื่อหน่ายคลายกำหนัด หลุดพ้น ในจิต เป็นต้นนั้นไม่ได้เลย ฯ

          [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกาย อันเป็น ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึด ถือเอาจิต โดยความเป็นตนหาชอบไม่

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

          เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้เมื่อดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้างสามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้างวิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและในกลางวัน ฯ

          [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมใส่ใจด้วยดี โดยแยบคาย ถึง ปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกาย และจิต ที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ

          เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนา เพราะผัสสะ อันเป็น ปัจจัย แห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นปัจจัย แห่งสุขเวทนา จึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่ง ทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้น จึงดับจึงสงบไป

          เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัย แห่งเวทนาที่ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ จึงเกิด อทุกขม สุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะ อันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุข เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป ฯ

          [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันครูดสีกันจึงเกิดไออุ่น เกิดความร้อน แต่ถ้าแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละออกเสียจากกัน ไออุ่นซึ่งเกิดจาก การครูดสีกันนั้น ก็ดับไปสงบไป แม้ฉันใด

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิด สุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัย แห่งสุขเวทนานั้นดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้น

          เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้น จึงดับจึงสงบไป เพราะ อาศัยผัสสะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา จึงเกิดทุกขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นจึงดับ จึงสงบไป เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นปัจจัย แห่งเวทนา ที่มิใช่ทุกข์ มิใช่สุขจึงเกิดอทุกขมสุขเวทนาขึ้น เพราะผัสสะอันเป็นปัจจัย แห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นดับไป อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นปัจจัย แห่งอทุกขมสุขเวทนานั้น จึงดับ จึงสงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

          [๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้  ย่อมหน่าย แม้ในผัสสะ ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว และย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์