เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  นิทานสูตร ปฏิจจนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอด หมู่สัตว์จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายยุ่ง 694
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้งเพียงไร ถึงอย่างนั้น ก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายๆ แก่ข้าพระองค์

ดูกรอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ไม่ตรัสรู้
ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม

ดูกรอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย แห่ง อุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีชาติเ พราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ

ดูกรอานนท์ ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดนั้นย่อมดูด โอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้ออย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน

ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอย่างนั้น ทีนั้นบุรุษ เอาจอบและภาชนะมาตัดต้นไม้ที่โคนต้น... แล้วขุดลงไป… ผ่าแล้วเจียกเป็น ชิ้นๆ… ครั้นเอาไฟเผาแล้ว… ถูกทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๘๖


๑๐. นิทานสูตร

           [๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่นิคมของหมู่ชนชาวเมืองกุรุ อันมีชื่อว่า กัมมาสทัมมะ แคว้นกุรุรัฐ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านนั่ง เรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า คือปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมลึกซึ้งเพียงไร ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายๆแก่ข้าพระองค์ ฯ

           [๒๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ดูกรอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือนกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ฯ

           [๒๒๖] ดูกรอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีชาติเพราะชาติ เป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข โทมนัสและอุปายาสความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้ ฯ

           [๒๒๗] ดูกรอานนท์ ต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ไปข้างๆ รากทั้งหมดนั้น ย่อมดูด โอชารสไปเบื้องบน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้น มีอาหารอย่างนั้น มีเชื้อ อย่างนั้น พึงเป็นอยู่ตลอดกาลนาน แม้ฉันใด อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนืองๆ ในธรรม ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ตัณหาย่อมเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ฯลฯ ความเกิดขึ้น แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

           [๒๒๘] ดูกรอานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัย แห่ง อุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับเพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

           [๒๒๙] ดูกรอานนท์ ต้นไม้ใหญ่ยืนต้นอย่างนั้น ทีนั้นบุรุษ เอาจอบและ ภาชนะ มาตัด ต้นไม้นั้นที่โคนต้น แล้วขุดลงไป

ครั้นขุดลงไปแล้ว คุ้ยเอารากใหญ่เล็กแม้เท่า ก้านแฝกขึ้นบุรุษนั้น ทอนต้นไม้นั้น เป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว เจียกเป็นชิ้นๆ

ครั้นเจียกให้เป็นชิ้นๆ แล้ว พึงผึ่งลม ตากแดดครั้นผึ่งลม ตากแดดแล้ว พึงเอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผาแล้ว พึงทำให้เป็นเขม่าครั้นทำให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรง หรือลอยในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยวก็เมื่อเป็นอย่างนี้

ต้นไม้ใหญ่นั้น ถูกตัดเอารากขึ้นแล้ว ถูกทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี ไม่เกิดอีกต่อไป แม้ฉันใด

อานนท์ เมื่อภิกษุเห็นโทษเนืองๆ ในธรรมทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับ ฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับชาติจึงดับ
เพราะชาติดับชราและมรณะโสกปริเทว ทุกขโทมนัส และอุปายาสจึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์