เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 มิคชาลสูตรภิกษุอยู่ด้วยเพื่อนสอง .. ภิกษุอยู่ผู้เดียว (ภิกษุไม่หมกมุ่นในรูป และธรรมารมณ์) 674
 
  (เนื้อหาพอสังเขป)

ภิกษุอยู่ด้วยเพื่อนสอง (ภิกษุที่หมกมุ่นในรูป และธรรมารมณ์)
ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกหมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกหมุ่นรูปนั้น อยู่ย่อมเกิด ความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัด กล้า ก็มีความ เกี่ยวข้อง ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ผู้มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒

ภิกษุอยู่ผู้เดียว (ภิกษุไม่หมกมุ่นในรูป และธรรมารมณ์)
ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้มี ปรกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะอยู่ปะปน กับภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของ พระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ในที่สุดบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว

 
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔

มิคชาลสูตรที่ ๑


            [๖๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ผู้มีปรกติ อยู่ผู้เดียว ผู้มี ปรกติ อยู่ผู้เดียวฉะนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า ภิกษุจึงชื่อว่ามีปรกติอยู่ผู้เดียว และด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่าอยู่ด้วยเพื่อน ๒ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

           ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกหมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกหมุ่นรูปนั้นอยู่ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง

           ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า ผู้มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์ นั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง

           ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒

           ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้มีปรกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงจะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าหญ้าและป่าไม้ เงียบเสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากลมแต่ชนเดินเข้าออก ควรเป็นที่ประกอบกิจของมนุษย์ผู้ต้องการสงัด สมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่ามีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นยังมีตัณหาเป็นเพื่อน ๒ เขายังละตัณหานั้นไม่ได้ ฉะนั้นจึงเรียกว่า มีปรกติอยู่ด้วยเพื่อน ๒

           [๖๗] ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ความเพลิดเพลินย่อมดับ  เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง

           ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปรกติอยู่ผู้เดียวฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัดกล้า เมื่อไม่มีความกำหนัดกล้า ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง

           ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลิน และความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว ดูกรมิคชาละ ภิกษุผู้มีปรกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ แม้จะอยู่ปะปน กับภิกษุภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ในที่สุดบ้านก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังเรียกว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว

           ดูกรมิคชาละ เราเรียกผู้มีปรกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ว่า มีปรกติอยู่ผู้เดียว ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะตัณหาซึ่งเป็นเพื่อน ๒ เธอละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าม ีปรกติอยู่ผู้เดียว

จบสูตรที่ ๑


มิคชาลสูตรที่ ๒


           [๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

           ดูกรมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญหมกมุ่น รูปนั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เรากล่าวว่า เพราะความพลิดเพลินจึงเกิดทุกข์ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญหมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เรากล่าวว่า เพราะเกิดความเพลิดเพลิน จึงเกิดทุกข์

           [๖๙] ดูกรมิคชาละรูปที่จะพึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เรากล่าวว่า เพราะความเพลิดเพลินดับทุกข์จึงดับ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เรากล่าวว่า เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ

           [๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละ ยินดีอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป
ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละหลีกออกจากหมู่ อยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้วกิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี และท่านพระมิคชาละได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนี้แล

จบสูตรที่ ๒



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์