เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 การจบกิจแห่งอริยสัจ กำหนดด้วยความสมบูรณ์แห่ง ญาณสามมีรอบ (ปริวัฏฏ์) สาม  672
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

การจบกิจแห่งอริยสัจ
กำหนดด้วยความสมบูรณ์แห่ง ญาณสาม (๑๒ อาการ)
สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ

ภิกษุ ท. ! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน ว่า

ทุกข์ (ควรกำหนดรู้)
๑. ทุกข์  คือสิ่งที่ควรรู้ (เรียกว่า สัจจญาณ)
๒. ทุกข์นี้ ควรกำหนดรอบรู้  (นี้เรียกว่า กิจจญาณ)
๓. ทุกข์นี้ เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว  (นี้เรียกว่า กตญาณ)

สมุทัย (ควรละ)
๑. สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์  คือสิ่งที่ควรรู้ (นี้เรียกว่าสัจจญาณ)
๒. สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ นี้ควรละเสีย(นี้เรียกว่า กิจจญาณ)
๓. สมุทัย คือเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เราได้ละเสียแล้ว  (นี้เรียกว่าว่า กตญาณ)

นิโรธ (ควรทำให้แจ้ง)
๑. นิโรธ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ คือสิ่งที่ควรรู้ (นี้เรียกว่า สัจจญาณ)
๒. นิโรธ ความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ ควรทำให้แจ้ง(นี้เรียกว่า กิจจญาณ)
๓. นิโรธ ความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว (นี้เรียกว่า กตญาณ)

มรรค (ควรทำให้เจริญ)
๑. มรรค คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ คือสิ่งที่ควรรู้  (นี้เรียกว่า สัจจญาณ)
๒. มรรค ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ ควรทำให้เจริญ (นี้เรียกว่า กิจจญาณ)
๓. มรรค ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ทำให้เจริญแล้ว (นี้เรียกว่า กตญาณ)

 
 


มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๙-๕๓๐/๑๖๖๖-๑๖๗๐.


การจบกิจแห่งอริยสัจ
กำหนดด้วยความสมบูรณ์แห่ง ญาณสาม (๑๒ อาการ)

๑. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา และแสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน ว่า
๑. นี้ เป็นความจริงอันประสริฐ คือ ทุกข์
    (นี้ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ) ว่า
๒. ความจริงอันประ-เสริฐคือ ทุกข์นี้ ควรกำหนดรอบรู้
   (นี้ท่านเรียกกันว่า กิจจญาณ) ว่า
๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์นี้ เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว
  (นี้ท่านเรียกกันมา กตญาณ)

๒. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน ว่า
๑. นี้ เป็นความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์
    (นี้ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ) ว่า
๒. ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ ควรละเสีย
    (นี้ท่านเรียกกันว่า กิจจญาณ) ว่า
๓. ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดทุกข์นี้ เราได้ละเสียแล้ว
   (นี้ ท่านเรียกกันว่า กตญาณ)

๓. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน ว่า
๑. นี้ เป็นความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์
   (นี้ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ) ว่า
๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ ควรทำให้แจ้ง
  (นี้ ท่านเรียกกันว่า กิจจญาณ) ว่า
๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
  (นี้ ท่านเรียกกันว่า กตญาณ)

๔. ภิกษุ ท. ! ดวงตา ฯลฯ แสงสว่างของเรา ได้เกิดขึ้นแล้ว ในธรรมที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน ว่า
๑. นี้ เป็นความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
   (นี้ ท่านเรียกกันว่า สัจจญาณ) ว่า
๒. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ ควรทำให้เจริญ (นี้ท่านเรียกกันว่า กิจจญาณ) ว่า
๓. ความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นี้ เราได้ ทำให้เจริญแล้ว (นี้ท่านเรียกกันว่า กตญาณ)

ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
อริยสัจ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ รวม
  ทุกข์ ควรรู้ ความจริง
อันประเสริฐ คือทุกข์
ควรกำหนดรู้ เราได้กำหนดรอบรู้แล้ว 3 อาการ
  สมุทัย ควรรู้
เหตุให้เกิดทุกข์
ควรละเสีย
เราได้ละแล้ว 3 อาการ
  นิโรธ ควรรู้ ความดับ
ไม่เหลือของทุกข์
ควรทำให้แจ้ง เราได้ทำให้แจ้งแล้ว 3 อาการ
  มรรค ควรรู้ ทางดำเนินให้ถึง
ความดับไม่เหลือของทุกข์
ควรทำให้เจริญ เราได้ทำให้เจริญแล้ว 3 อาการ
      รวม 12 อาการ
         

ภิกษุ ท. ! ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง อัน มีรอบ (ปริวัฏฏ์) สาม มีอาการ สิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจด ด้วยดีแก่เรา อยู่เพียงใด ตลอดกาลเพียงนั้น เรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมา สัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์.

ภิกษุ ท. ! เมื่อใด ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง อันมีรอบสาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ เป็นของบริสุทธิ์หมดจด ด้วยดีแก่เรา เมื่อนั้น เราปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์.

ก็แหละ ญาณและทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ว่า “ความหลุดพ้นของเราไม่กลับ กำเริบ ความเกิดนี้ เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้ ความเกิดอีกอย่างไม่มี” ดังนี้.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๙-๕๓๐/๑๖๖๖-๑๖๗๐.


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์