เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  โสตวสูตร ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์๕ ภิกษุก็ประกอบด้วยองค์ ๕ เช่นกัน 671
 


ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ฉันใด
๑) เป็นสัตว์เชื่อฟัง
๒) เป็นสัตว์ฆ่าได้
๓) เป็นสัตว์รักษาได้
๔) เป็นสัตว์อดทนได้
๕) เป็นสัตว์ไปได้

ภิกษุในธรรมวินัยก็ฉันนั้น
1. ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟังอย่างไร ภิกษุย่อมตั้งใจ เงี่ยโสตลงฟังธรรมของตถาคต

2. ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้อย่างไร ภิกษุย่อมอดกลั้น กำจัด ทำให้สิ้นไปซึ่ง กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ที่เกิดขึ้น

3. ภิกษุเป็นผู้รักษาได้อย่างไร ภิกษุเห็นรูปแล้วย่อมไม่ถือโดยนิมิต พึงเป็นเหตุให้บาป อกุศล คือ อภิชฌา และโทมนัส ครอบงำได้

4. ภิกษุเป็นผู้อดทนได้อย่างไร คือภิกษุเป็นผู้อดทนได้ต่อเย็น ร้อน หิว สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลาน อดทนได้ต่อคำหยาบระคาย อดทนได้ต่อทุกขเวทนา

5. ภิกษุเป็นผู้ไปได้อย่างไร ภิกษุย่อมเป็นผู้ไปสู่ทิศ ที่ไม่เคยไปตลอดกาลนานนี้คือ ธรรมเป็น ที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืน อุปธิกิเลสทั้งปวง

 
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๖

๑๐. โสตวสูตร

 

           [๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะทีเดียวองค์ ๕ ประการเป็นไฉน

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาในโลกนี้
๑) เป็นสัตว์เชื่อฟัง
๒) เป็นสัตว์ฆ่าได้
๓) เป็นสัตว์รักษาได้
๔) เป็นสัตว์อดทนได้
๕) เป็นสัตว์ไปได้

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟังอย่างไร
ช้างของพระราชาในโลกนี้ ย่อมตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตฟังเหตุการณ์ ที่ควาญช้างให้กระทำ คือ เหตุการณ์ที่เคยกระทำหรือไม่เคยกระทำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟังอย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้อย่างไร
ช้างของพระราชา ในโลกนี้ เข้าสงครามแล้ว ย่อมฆ่าช้างบ้างฆ่าควาญช้างบ้าง ฆ่าม้าบ้าง ฆ่าคนขี่ม้าบ้าง ทำลายรถบ้าง ฆ่าพลรถบ้าง ฆ่าพลเดินเท้าบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้อย่างไร
ช้างของพระราชาในโลกนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว ย่อมรักษากายเบื้องหน้า กายเบื้องหลัง เท้าหน้า เท้าหลัง ศีรษะหู งางวง หาง ควาญช้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา เป็นสัตว์รักษาได้อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้อย่างไร
ช้างของ พระราชาในโลกนี้ เข้าสงครามแล้ว ย่อมอดทนต่อการประหารด้วยหอก ต่อการถูก ลูกศร ต่อการถูกง้าว ต่อเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึกที่กระหึ่ม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้อย่างไร
คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ ย่อมเป็นสัตว์ไปสู่ทิศที่ควาญช้างไสไป คือ ทิศที่เคยไป หรือทิศ ที่ยังไม่เคยไปได้โดยเร็วพลัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ ไปได้ อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมควรแก่ พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะทีเดียว
--------------------------------------------------------------------------------

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เชื่อฟัง ๑ เป็นผู้ฆ่าได้ ๑ เป็นผู้รักษาได้ ๑ เป็นผู้อดทนได้ ๑ เป็นผู้ไปได้ ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟังอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตลงฟังธรรม ในเมื่อผู้อื่นแสดงธรรมวินัย ที่ตถาคตประกาศแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟังอย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้อย่างไร คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอดกลั้น ละ บรรเทา กำจัด ทำให้สิ้นไป ให้ถึงซึ่งความไม่มีแห่งกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ... พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ... วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมอดกลั้น ละ บรรเทา กำจัด ทำให้สิ้นไป ให้ถึงซึ่งความไม่มีแห่งอกุศลธรรมที่ลามกทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รักษาได้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูป ด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศลคือ อภิชฌาและ โทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รักษาได้อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนได้อย่างไร คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนได้ต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย สัมผัสแห่ง เหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์ เลื้อยคลาน เป็นผู้อดทนได้ต่อคำหยาบระคาย เป็นผู้อดทนได้ต่อทุกขเวทนา ทางร่างกาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันกล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ชื่นใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ สามารถปลิดชีพเสียได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนได้อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไปได้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ ไปสู่ทิศ ที่ไม่เคยไปตลอดกาลนานนี้คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืน อุปธิกิเลสทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาเป็นที่สำรอก เป็นที่ดับหาเครื่องเสียบแทง มิได้ โดยเร็วพลัน กรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไปได้อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควร ของคำนับ ควรของต้อนรับควรแก่ทักขิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์