เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 มนาปทายีสูตร ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี 669
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อุคค คฤหบดี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ พร้อมถวาย ภัตตาหาร ของขบฉันท์ และสิ่งของเช่น ก็เตียง มีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาด อย่างดี ทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดใหญ่ มีหมอนข้างทั้งสองของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ และ ข้าพระองค์ก็ย่อมทราบดีว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ควรแก่พระผู้มีพระภาค เตียงไม้จันทน์ของข้าพระองค์นี้ มีราคาเกินกว่า แสน กหาปณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับเตียง ของข้าพระองค์นั้นเถิด

พระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว

ทรงอนุโมทนาด้วยอนุโมทนียกถาดังต่อไปนี้ ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ใดย่อมให้เครื่อง นุ่งห่ม ที่นอนข้าว น้ำ และปัจจัยมีประการต่างๆ ด้วยความพอใจ ในท่านผู้ประพฤติตรง สิ่งของที่ให้ไป แล้วนั้น ย่อมเป็นของที่บริจาคแล้ว สละแล้วไม่คิดเอาคืน ผู้นั้นเป็นสัปบุรุษทราบชัดว่า พระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญบริจาค สิ่งที่บริจาคได้ยากแล้ว ชื่อว่าให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจดังนี้ ฯ

ต่อมาไม่นาน อุคคคฤหบดี ก็ได้ทำกาละ และเข้าถึงหมู่เทพ ชื่อ มโนมยะ หมู่หนึ่ง

ครั้งนั้น อุคคเทพบุตรมีวรรณงาม เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาค ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า ดูกรอุคคะ ตามที่ท่านประสงค์สำเร็จแล้วหรือ

อุคคเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตามที่ข้าพระองค์ประสงค์สำเร็จแล้วพระเจ้าข้า

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะ อุคคเทพบุตร ด้วยพระคาถา ความว่า ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
... ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
... ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี
.... และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ
นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจะบังเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ดังนี้ ฯ

 
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๔๔

๔. มนาปทายีสูตร


          [๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน  ใกล้เมืองเวสาลีครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์แห่งอุคคคฤหบดี ชาวเมืองเวสาลี ประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาตบแต่งไว้

ครั้งนั้น อุคค คฤหบดี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับ รับมาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ขาทนียาหาร ชื่อ สาลปุบผกะ ของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัย ความอนุเคราะห์รับ ขาทนียาหาร ของข้าพระองค์นั้นเถิด

พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว

อุคคคฤหบดีได้กราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็เนื้อสุกรอย่างดี ของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัย ความอนุเคราะห์ รับเนื้อสุกรอย่างดี ของข้าพระองค์นั้นเถิด

พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว

อุคคคฤหบดีได้กราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจดังนี้ ก็ นาลิยสากะขาทนียาหาร ซึ่งทอดด้วยน้ำมัน ของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับ นาลิยสากะขาทนียาหาร ของข้าพระองค์นั้นเถิด

พระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยควาอนุเคราะห์รับแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์ได้สดับ รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่ขาวสะอาด มีกับมาก มีพยัญชนะมาก ของข้าพระองค์ เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัย ความอนุเคราะห์รับ ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ของข้าพระองค์นั้นเถิด

พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับ รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ผ้าที่ทำในแคว้นกาสี ของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับผ้า ของข้าพระองค์นั้นเถิด

พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับ รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดอย่างดี ทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดใหญ่ มีหมอนข้างทั้งสองของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ และข้าพระองค์ก็ย่อมทราบดีว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ควรแก่พระผู้มีพระภาค เตียงไม้จันทน์ของข้าพระองค์นี้ มีราคาเกินกว่าแสนกหาปณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับเตียง ของข้าพระองค์นั้นเถิด

พระผู้มีพระภาค ทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงอนุโมทนาด้วยอนุโมทนียกถาดังต่อไปนี้ ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ใดย่อมให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอนข้าว น้ำ และปัจจัยมีประการต่างๆ ด้วยความพอใจ ในท่านผู้ประพฤติตรง สิ่งของที่ให้ไปแล้วนั้น ย่อมเป็นของที่บริจาคแล้ว สละแล้วไม่คิดเอาคืน ผู้นั้นเป็นสัปบุรุษทราบชัดว่า พระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญบริจาค สิ่งที่บริจาคได้ยากแล้ว ชื่อว่าให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจดังนี้

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ครั้นทรงอนุโมทนาด้วยอนุโมทนียกถา กะอุคคคฤหบดี ชาวเมืองเวสาลีแล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ต่อมาไม่นาน อุคคคฤหบดี ชาวเมืองเวสาลี ก็ได้ทำกาละ และเมื่อทำกาละแล้ว เข้าถึงหมู่เทพ ชื่อมโนมยะหมู่หนึ่ง

(เทวดา อุคคคฤหบดี เขาเฝ้าพระพุทธเจ้า)

ก็สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นอุคคเทพบุตร มีวรรณงาม เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า

ดูกรอุคคะ ตามที่ท่านประสงค์สำเร็จแล้วหรือ อุคคเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตามที่ข้าพระองค์ประสงค์สำเร็จแล้วพระเจ้าข้า

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะ อุคคเทพบุตร ด้วยพระคาถา ความว่า ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ
ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ
ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี
และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ

นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจะบังเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ดังนี้ ฯ


จบสูตรที่ ๔

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์