เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน) ในกรณีของความเห็นที่เป็นไปในลักษณะยึดถือตัวตน 662
 
  (เนื้อหาพอสังเขป)

รูปไม่เที่ยง.. สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อ รูปนั่นแล มีอยู่, เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไป สู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น อย่างนี้ว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้.

ความสงสัย (กังขา)ใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งที่อริยสาวกละขาดแล้ว ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่าความสงสัยแม้ใน ทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิดทุกข์ แม้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แม้ในข้อ ปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวก ละขาด แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้ แล

 
 
 


พุทธวจน - โสดาบัน (หน้า 95) ข้อที่19

๑๙
ผู้สิ้นความสงสัย (พระโสดาบัน) ในกรณีของความเห็นที่เป็นไปในลักษณะยึดถือตัวตน


ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจ เข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นจนถึงกับว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมี ครรภ์ ก็ไม่คลอด พระจันทร์ และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของ ตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้ ?

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลวิงวอนว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูลมีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำมีพระผู้มี พระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เป็นการชอบแล้วหนอขอให้อรรถแห่ง ภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะพระผู้มี พระภาคเจ้าเองเถิด. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจาก พระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้” ดังนี้. พระผู้มี พระภาคเจ้าจึงตรัสเตือน ให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดี แล้วได้ตรัสข้อความ ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อ รูปนั่นแล มีอยู่, เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจเข้าไป สู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้.

(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษร กับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร :

รูป เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า !”.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?
เป็นทุกข์พระเจ้าข้า !”.
แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิ อย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ไหม ว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้น ไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้ ?

ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”.
(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสถาม และภิกษุ เหล่านั้นทูลตอบ อย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อ แห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้สิ่งใดที่บุคคล ได้เห็นแล้วฟังแล้ว รู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุ แล้ว แสวงหาแล้ว ครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

“ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า !”.


ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?

เป็นทุกข์พระเจ้าข้า !”.

แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหม ว่า “ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหลสตรีมี ครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของ ตั้งอยู่อ ย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด” ดังนี้ ?

ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า !”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา)ในฐานะทั้งหลาย ๖ ประการ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ อริยสาวกละขาดแล้ว ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่าความสงสัยแม้ใน ทุกข์ แม้ในเหตุให้เกิดทุกข์ แม้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ แม้ในข้อปฏิบัติ เครื่องทำสัตว์ให้ถึง ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวก ละขาด แล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่า เป็นอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า ดังนี้ แล.
..................................................................................................................................................
1. ฐานะหกประการ คือ ขันธ์ห้าประการ และอาการที่ได้เห็นแล้วเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้วข้างบน เจ็ดอย่าง รวมเป็นหนึ่งประการ; รวมเป็นหกประการ.
..................................................................................................................................................

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์