เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 วิหารเชตวัน เรื่องราวการสร้างวิหารเชตวัน เมืองราชคฤห์ ที่ต้องใช้เงินปูทั้งอุทยาน 655
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

เรื่องราวการสร้างวิหารเชตวัน ในเมืองราชคฤห์
สมัยนั้น เศรษฐีคหบดีผู้กว้างของเมืองราชคฤห์ นามว่า "อนาถบิณฑิก" ต้องการสร้างวิหารให้พระผู้มี พระภาคประทับ เพราะพระพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นมาในโลกนี้แล้ว จึงชักชวนมิตรสหายร่วมกันสร้างวิหาร เพื่อบำเพ็ญทาน

ไดเห็น "อุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร" เป็นสถานที่เหมาะสม ที่ไม่ไกลจากหมู่บ้าน ไปมาสะดวก มีความสงบวิเวก ปลอดจากผู้คน จึงเข้าเฝ้าเพื่อขอให้ทรงประทานให้ แต่เจ้าเชตรับสั่งว่า "อารามเรา ให้ไม่ได้ แต่ต้องซื้อด้วย ลาดทรัพย์เป็นโกฏิ" (ต้องเอาเงิน มาปูจนทั่วทั้งอุทยาน)

อนาถบิณฑิกทูลถามว่า พระองค์ตัดสินใจขายแล้วใช่หรือไม่ แต่เจ้าเชตตอบว่า ยังไม่ตกลงขาย อนาถ-จึงถามมหาอำมาตย์ให้ช่วยพิพากษาว่าเป็นอย่างไร.. ขาย หรือไม่ขาย มหาอำมาตย์บอกว่า เมื่อตีราคาแล้ว ก็เป็นอันตกลงว่าขายแล้ว

จากนั้นจึงสั่งให้เอาเกวียนบรรทุกเงินออกมาปูทั่วทั้งอุทยาน แต่ขนมาครั้งแรกนั้น ยังปูไม่เต็มพื้นที่ ขาดบางส่วน เจ้าเชตราชกุมารเห็นดังนั้นจึงบอกพอแล้ว จงให้โอกาสนี้แก่ฉัน ที่ว่างนี้ฉันจักยกให้

อนาถบิณฑิก คหบดีใคร่ครวญว่า เจ้าเชตราชกุมารนี้ทรงเรืองพระนาม มีคนรู้จักมาก มีความเลื่อมใส ในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มักมาก เป็นผู้ยิ่งใหญ่นัก จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร

เจ้าเชตฯ รับสั่งให้ สร้างซุ้มประตู ลงในที่ว่างนั้น ส่วนอนาถบิณฑิก ได้สร้างวิหารหลายหลัง สร้างซุ้ม ประตู สร้างศาลา หอฉัน สร้างโรงไฟ สร้างกัปปิยกุฎี สร้างวัจจกุฎี สร้างที่จงกรม สร้างโรงจงกรม สร้างบ่อน้ำ สร้างศาลาบ่อน้ำ สร้างเรือนไฟ สร้างศาลาเรือนไฟ สร้างสระโบกขรณี สร้างมณฑปฯ

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๗ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ หน้าที่ ๗๐


อนาถบิณฑิกคหบดีสร้างพระเชตวัน


           [๒๕๖] สมัยนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเป็นคนมีมิตรสหายมาก มีวาจา ควรเชื่อถือ ครั้นเสร็จกิจนั้นในเมืองราชคฤห์แล้ว กลับไปสู่พระนครสาวัตถี ได้ ชักชวนชาวบ้าน ระหว่างทางว่าท่านทั้งหลาย จงช่วยกันสร้างอาราม จงช่วยกัน สร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทาน เพราะเวลานี้พระพุทธเจ้าอุบัติในโลกแล้ว

อนึ่ง พระองค์อันข้าพเจ้าได้นิมนต์แล้ว จักเสด็จมาโดยทางนี้ ครั้งนั้นชาวบ้านเหล่านั้น ที่อนาถบิณฑิกคหบดีชักชวนไว้ ต่างพากันสร้างอารามสร้างวิหาร เริ่มบำเพ็ญทาน แล้ว

ครั้นอนาถบิณฑิกคหบดีไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว เที่ยวตรวจดูพระนครสาวัตถี โดยรอบว่า พระผู้มีพระภาคควรจะประทับอยู่ที่ไหนดีหนอ ซึ่งเป็นสถานที่ ไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จากหมู่บ้าน มีคมนาคมสะดวก ชาวบ้านบรรดาที่มีความ ประสงค์ไปมา ได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืน เงียบ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากกลิ่นไอของคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรมในที่ลับของ มนุษย์ชน สมควรเป็นที่หลีกเร้น

อนาถบิณฑิกคหบดีได้เห็น พระอุทยานของเจ้าเชตราชกุมาร ซึ่งเป็นสถานไม่ ไกลนัก ไม่ใกล้นักจากหมู่บ้าน มีการคมนาคมสะดวก ชาวบ้าน บรรดาที่มีความ ประสงค์ไปมา ได้ง่าย กลางวันมีคนน้อย กลางคืนเงียบ มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจาก กลิ่นไอคน เป็นสถานควรแก่การประกอบกรรม ในที่ลับของมนุษย์ชน สมควรเป็นที่ หลีกเร้น

ครั้นแล้วจึงเข้าเฝ้าเชตราชกุมาร กราบทูลว่า ขอใต้ฝ่าพระบาทจงทรงประทาน พระอุทยานแก่เกล้ากระหม่อม เพื่อจัดสร้างพระอาราม พระเจ้าข้า
           เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งว่าท่านคหบดี อารามเราให้ไม่ได้ แต่ต้องซื้อด้วย ลาดทรัพย์เป็นโกฏิ
           อ. อาราม พระองค์ทรงตกลงขายหรือ พระเจ้าข้า
           ช. อาราม ฉันยังไม่ตกลงขาย ท่านคหบดี
           เจ้าชายกับคหบดี ได้ถามมหาอำมาตย์ผู้พิพากษาความว่า เป็นอันตกลง ขาย หรือไม่ตกลงขาย มหาอำมาตย์ผู้พิพากษาตอบว่า เมื่อพระองค์ตีราคาแล้ว อารามเป็น อันตกลงขาย

จึงอนาถบิณฑิกคหบดี สั่งให้คนเอาเกวียนบรรทุกเงินออกมาเรียงลาด  ริมจดกัน ณ อารามเชตวัน เงินที่ขนออกมาคราวเดียว ยังไม่พอแก่โอกาสหน่อยหนึ่งใกล้ซุ้มประตู จึงอนาถบิณฑิกคหบดี สั่งคนทั้งหลายว่า พนาย พวกเธอจง ไปขนเงินมาเรียงใน โอกาสนี้ ขณะนั้นเจ้าเชตราชกุมารทรงพระรำพึงว่า ที่อันน้อยนี้จักไม่มีเหลือ โดยที่ คหบดีนี้บริจาคเงินมากเพียงนั้น

จึงเจ้าเชตราชกุมารตรัสกะ อนาถบิณฑิกคหบดีว่า พอแล้ว ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ ลาดโอกาสนี้เลยท่าน จงให้โอกาสนี้แก่ฉัน ที่ว่างนี้ฉันจักยกให้ ดังนั้น อนาถบิณฑิก คหบดีใคร่ครวญว่า เจ้าเชตราชกุมารนี้ทรงเรืองพระนาม มีคนรู้จักมาก อันความเลื่อมใสในพระธรรม วินัยนี้ ของคนที่มีคนรู้จักมากเห็นปานนี้ ยิ่งใหญ่นักแล จึงได้ถวายที่ว่างนั้นแก่เจ้าเชตราชกุมาร

เจ้าเชตราชกุมารรับสั่งให้สร้างซุ้มประตูลงในที่ว่างนั้น ส่วนอนาถบิณฑิกคหบดี ได้ให้ สร้างวิหารหลายหลัง ไว้ในพระเชตวัน สร้างบริเวณ สร้างซุ้มประตู สร้างศาลา หอฉัน สร้างโรงไฟ สร้างกัปปิยกุฎี สร้างวัจจกุฎีสร้างที่จงกรม สร้างโรงจงกรม สร้างบ่อน้ำ สร้างศาลาบ่อน้ำ สร้างเรือนไฟ สร้างศาลาเรือนไฟ สร้างสระโบกขรณี สร้างมณฑปฯ

           [๒๕๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วได้เสด็จจาริกทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลีนั้น ฯ

           [๒๕๘] ก็สมัยนั้น ชาวบ้านตั้งใจทำการก่อสร้าง แลอุปัฏฐากภิกษุ ผู้อำนวยการก่อสร้างด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยของภิกษุอาพาธ โดยเคารพ ฯ

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์