เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
ปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ (การให้ทานแบบเฉพาะเจาะจง) และ ทานที่ถึงแล้วในสงฆ์ มี ๗ อย่าง 653
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ แบบ (การให้ทานแบบเฉพาะเจาะจง)
1.พระตถาคต
2.พระปัจเจก
3.ผู้เป็นอรหันต์
4.ผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
5.พระอนาคามี
6.ผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามีผลให้แจ้ง
7.พระสกทาคามี
8.ผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามีให้แจ้ง
9.พระโสดาบัน
10.ผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
11.บุคคลภายนอกผู้ปราศจากกาม
12.บุคคลผู้มีศีล
13.ปุถุชนผู้ทุศีล
14.สัตว์เดรัจฉาน


อานิสง
ให้ทาน ในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลได้ ร้อยเท่า
ให้ทาน ในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังได้ พันเท่า
ให้ทาน ในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลได้ แสนเท่า
ให้ทาน ในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากกาม หวังผลได้ แสนโกฏิเท่า
ให้ทาน ในผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง หวังผล นับประมาณไม่ได้
จะป่วยกล่าวไปไย (ที่ให้ทานแก่อริยะบุคคล)
ในพระโสดาบัน ใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
ในพระสกทาคามี ใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ในพระอนาคามี ใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
ในพระปัจเจกสัมพุทธ และ
ในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ

ทานที่ถึงแล้วในสงฆ์ มี ๗ อย่าง
1.ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
2.ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
3.ให้ทานในภิกษุ
4.ให้ทานในภิกษุณี
5.ขอต่อสงฆ์ว่า โปรดจัด ภิกษุ และ ภิกษุณี จำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงแก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
6.ขอต่อสงฆ์ว่า โปรดจัด ภิกษุ จำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
7.ขอต่อสงฆ์ว่า โปรดจัด ภิกษุณี จำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวงเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔๓


ปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ (การให้ทานแบบเฉพาะเจาะจง)


ดูกรอานนท์ ก็ ทักษิณา(ทาน) เป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ

ให้ทานใน ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นประการที่ ๑
ให้ทานใน พระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นประการที่ ๒
ให้ทานใน สาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นประการที่ ๓
ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นประการที่ ๔
ให้ทานแก่ พระอนาคามี นี้เป็นประการที่ ๕
ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้ประการที่ ๖
ให้ทานแก่ พระสกทาคามี นี้เป็นประการที่ ๗
ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นประการที่ ๘
ให้ทานใน พระโสดาบัน นี้เป็นประการที่ ๙
ให้ทานใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นประการที่ ๑๐
ให้ทานใน บุคคลภายนอก* ผู้ปราศจากกาม นี้เป็นประการที่ ๑๑
ให้ทานใน บุคคลผู้มีศีล นี้เป็นประการที่ ๑๒
ให้ทานใน ปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นประการที่ ๑๓
ให้ทานใน สัตว์เดียรัจฉาน นี้เป็นประการที่ ๑๔
*(บุคลลภายนอกธรรมวินัย เช่นผู้ทรงศีลในลัทธิอื่น โยคี นักพรต)

ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคล
ให้ทาน ในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ร้อยเท่า
ให้ทาน ในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ พันเท่า
ให้ทาน ในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ แสนเท่า
ให้ทาน ในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากกาม พึงหวังผลได้ แสนโกฏิเท่า
ให้ทาน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผล นับประมาณไม่ได้

จะป่วยกล่าวไปไย (ที่ให้ทานแก่อริยะบุคคล)
ในพระโสดาบัน ใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
ในพระสกทาคามี ใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ในพระอนาคามี ใน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
ในพระปัจเจกสัมพุทธ และ
ในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ


ทานที่ถึงแล้วในสงฆ์ มี ๗ อย่าง

ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ

ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นประการที่ ๑
ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นประการที่ ๒
ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นประการที่ ๓
ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นประการที่ ๔
ขอต่อสงฆ์ว่า โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นประการที่ ๕
ขอต่อสงฆ์ว่า โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นประการ ที่ ๖
ขอต่อสงฆ์ว่า โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นประการที่ ๗

ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู* มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคน ทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น
*(โคตรภู คือ บุคคลผู้ที่อยู่สูงกว่าปุถุชน แต่ต่ำกว่า สัทธานุสารี)

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์