เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 กามภูสูตร 649
 
  (เนื้อหาพอสังเขป)

จักษุ เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของ รูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของจักษุ หามิได้ .. ความพอใจรักใคร่ เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ

ใจ เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหามิได้.. ความพอใจ รักใคร่เกิดขึ้น เพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้นเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจ และธรรมารมณ์นั้น

เปรียบเหมือน โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายทาม หรือด้วยเชือก เส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยว เนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวชอบหรือ
 
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวงเล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๖

กามภูสูตร

             [๒๙๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระกามภูอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระกามภูออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์

ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

ดูกรท่านพระอานนท์

จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของจักษุ ฯลฯ
ใจเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหรือ


ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรท่านพระกามภู

จักษุ เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของ รูป รูปเป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ของจักษุ หามิได้
ความพอใจ รักใคร่เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ

ใจ เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจหามิได้ ความพอใจ รักใคร่เกิดขึ้น เพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะ เกี่ยวในใจ และธรรมารมณ์นั้น

ดูกรท่านพระกามภู โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายทาม หรือด้วยเชือก เส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยวเนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยว เนื่องกับ โคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวชอบหรือ ฯ

กา. ดูกรท่านพระอานนท์ ไม่ใช่เช่นนั้น โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว ทั้งโคขาว ก็ไม่เกี่ยวเนื่อง กับโคดำ โคดำกับโคขาวนั้น เขาผูกติดกันด้วยสายทาม หรือด้วยเชือก เส้นเดียวกัน สายทาม หรือเชือก เส้นเดียวกันนั้น เป็นเครื่องเกี่ยวเนื่องในโค ทั้งสองนั้น ฉันใด ฯ

อา. ดูกรท่านกามภู ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของรูป รูปก็เป็น เครื่อง เกาะเกี่ยวของจักษุหามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักษุและรูป ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยว ในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ

ใจ เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของใจ หามิได้ ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจ และธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวในใจและธรรมารมณ์นั้น ฯ


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์