เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เข้าฌาน 4 และ ญาณ 3 ..สาเหตุที่พระองค์กลับมาฉันท์อาหาร 646
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

สาเหตุที่พระองค์กลับมาฉันท์อาหาร

1. เรามีความคิดเห็นว่า สมณะหรือพราหมณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต คงไม่มีใครที่ต้อง ทุกขเวทนา อันกล้า เผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่ง ถึงเพียงเท่านี้ แม้พระองค์จะบำเพ็ญ เพียรอย่างแรงกล้า
ก็ไม่ได้บรรลุ ญาณทัศนะอันวิเศษเพื่อการตรัสรู้

2. เราจำได้ว่าในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดา เรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้า มีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทาง เพื่อความตรัสรู้ พระองค์พิจารณาแล้ว คิดว่าทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้

3. เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ? จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุข อันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.

4. เรานั้นมีความคิดเห็นว่า อันบุคคลผู้มีกาย อันถึงความซูบผอมเหลือทนอย่างนี้ จะบรรลุถึง ความสุขนั้น ไม่ใช่ทำได้ง่าย จึงควรพึงกินอาหารหยาบ คือข้าวสุก ขนมกุมมาส เถิด
----------------------------------------------------------------------
ปัญจวัคีย์หลีกไป
สมัยนั้น ภิกษุ(ปัญจวัคคีย์) ๕ รูป บำรุงเราอยู่ ด้วยหวังใจว่า พระสมณโคดม จักบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้น แก่เราทั้งหลาย. แต่เมื่อเรากินอาหารหยาบ คือข้าวสุก และ ขนมกุมมาส. พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ ๕ รูปนั้น เบื่อหน่าย เราหลีกไป
ด้วยความเข้าใจว่า พระสมณโคดม เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก.
----------------------------------------------------------------------
ฌาน ๔ (ฌาน ๑ - ๔)
ครั้นเรากินอาหารหยาบมีกำลังดีแล้วจึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติ และ สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปมีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เรามีอุมีเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข เราบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับ โสมนัส โทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

ญาณ ๓
เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่ หวั่นไหว อย่างนี้ ได้โน้มจิตไป เพื่อ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ.
เราย่อมระลึกถึงชาติก่อน ได้เป็นอันมาก

เราเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม

เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ. เรานั้นได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรอวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืด เรา กำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ไม่ ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่.
----------------------------------------------------------------------
สคารวมาณพ ขอบวชเป็นอุบาสก
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ ทรงประกาศ ธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คน หลงทาง หรือตามประทีป ไว้ ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะได้เห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และพระ ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไปฉะนี้แล.
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๐๔

ฌาน ๔ (ฌาน ๑ - ๔)

          [๗๕๔] ดูกรภารทวาชะ ครั้นเรากินอาหารหยาบมีกำลังดีแล้วจึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปมีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เรามีอุมีเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข เราบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

ญาณ ๓

          [๗๕๕] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มจิตไป เพื่อ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง ฯลฯ เราย่อมระลึก ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ดูกรภารทวาชะ นี้เป็นวิชชา ข้อที่ ๑

เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่.
...................................................................................

          [๗๕๖] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อ รู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย. เราเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไป ตามกรรม.
ดูกรภารทวาชะ นี้เป็นวิชชา ข้อที่ ๒

เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยาม แห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่.
...................................................................................

          [๗๕๗] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อ อาสวักขยญาณ. เรานั้นได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึง ความดับอาสวะ. เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตหลุดพ้นแล้วแม้จาก กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูกรภารทวาชะ นี้เป็นวิชชาข้อที่ ๓

เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ไม่ ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่.

...................................................................................

          [๗๕๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สคารวมาณพได้กราบทูล พระผู้มี พระภาคว่า ความเพียรอันไม่หยุดหย่อน ได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ ความเพียรข องสัตบุรุษได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ สมควรเป็นพระอรหันตสัมมา สัมพุทธเจ้า ข้าแต่ท่านพระโคดม เทวดามีหรือหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภารทวาชะ ก็ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ.

      ส. ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า เทวดามีหรือหนอ ดังนี้ ตรัสตอบว่า ดูกรภารทวาชะ ก็ข้อที่ว่า เทวดามีนั้น รู้ได้โดยฐานะ ดังนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคำของพระองค์เป็นถ้อยคำเปล่า เป็นมุสามิใช่หรือ?

     พ. ดูกรภารทวาชะ ผู้ใดเมื่อถูกถามว่า เทวดามีอยู่หรือ พึงกล่าวว่าข้อที่ว่า เทวดามีอยู่ เป็นอันรู้กันได้โดยฐานะ ก็เท่ากับกล่าวว่า เรารู้จักเทวดา เมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญูชนพึงถึงความตกลงในเรื่องนี้ว่า เทวดามีอยู่ดังนี้ ได้โดยส่วนเดียวแท้.

     ส. ก็ทำไม ท่านพระโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์แก่ข้าพเจ้าเสียด้วยคำแรกเล่า?

     พ. ดูกรภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่ดังนี้นั้น เขาสมมติกันในโลกด้วยศัพย์ อันสูง.

สคารวมาณพ แสดงตนเป็นอุบาสก

          [๗๕๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ว่า สคารวมาณพได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะได้เห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดม โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปฉะนี้แล.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์