เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อุปมา ๓ ข้อ เรื่องการหลีกออกจากกาม ตรัสกับภาระทวาชะ 643
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

อุปมา ๓ ข้อ
1.เปรียบเหมือนไม้สด ชุ่มด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำ เมื่อนำไม้มาสีกันย่อมไม่เกิดไฟ เหมือน บุคคลที่ยังไม่หลีก ออกจากกาม. ยังมีความพอใจความเสน่หาในกาม ความหมกมุ่นในกาม

2. เปรียบเหมือนไม้สด ชุ่มด้วยยาง ตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ เหมือนบุคคลผู้หลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมีความพอใจในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความเร่าร้อน อันตนยังละไม่ได้ด้วยดียังให้สงบระงับ

3.เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จะเอาไม้นั้นมาสีไฟ จักให้ไฟ เกิด จักทำไฟ ให้ปรากฏ เหมือนบุคคลที่มีกายหลีกออกจากกาม ทั้งความพอใจในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความระหายในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม อันตนละได้ด้วยดี ให้สงบระงับด้วยดีแล้วในภายใน ท่านสมณะ พราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวย ทุกขเวทนา อันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิด เพราะความเพียรก็ดี ถึงแม้จะไม่ได้เสวย ก็ดี ก็สมควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็นซึ่งปัญญา เครื่องตรัสรู้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๐๔



อุปมา ๓ ข้อ

          [๗๔๑] ดูกรภารทวาชะ อนึ่ง อุปมา ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยฟังมา ในกาลก่อนมาปรากฏกะเรา.

        ดูกรภารทวาชะ (อุปมาข้อที่ ๑) เปรียบเหมือนไม้สด ชุ่มด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ ปรากฏดังนี้. ดูกรภารทวาชะท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สด ชุ่ม ด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำมาสีไฟจะพึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือหนอ?

     สคารวมาณพกราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นยังสดชุ่มด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำ บุรุษนั้นพึงมีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อย ลำบากเปล่าเท่านั้น.

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภารทวาชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม. ยังมีความพอใจในกาม ความ เสน่หาในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความระหายในกาม ความเร่าร้อน เพราะกาม อันตนยังละไม่ได้ด้วยดี ให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน.

      ท่านสมณะพราหมณ์เหล่า นั้น ถึงหากจะเสวยทุกขเวทนา อันกล้าเผ็ดร้อนเกิด เพราะความเพียรก็ดี หากจะไม่ได้ เสวยก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็นซึ่งปัญญา เครื่องตรัสรู้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูกรภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๑ นี้แลอันน่า อัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาล ก่อน มาปรากฏกะเรา.

          [๗๔๒] ดูกรภารทวาชะ (อุปมาข้อที่ ๒) อีกข้อหนึ่งอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคย ได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏกะเรา. เปรียบเหมือนไม้สด ชุ่มด้วยยาง ตั้งอยู่บน บก ไกลน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟจักทำไฟ ให้ปรากฏ.

      ดูกรภารทวาชะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยาง ตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ มาสีไฟ จะพึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้หรือหนอ?

     สคารวมาณพกราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้
ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นยังสด ชุ่มด้วยยาง ถึงแม้จะตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงมีส่วน แห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่าเท่านั้น.

     
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภารทวาชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้มีกายหลีกออกจากกามแล้ว. แต่ยังมีความพอใจในกาม ความเสน่หาในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความระหายในกาม ความเร่าร้อนเพราะ กาม อันตนยังละไม่ได้ด้วยดียังให้สงบระงับ ด้วยดีไม่ได้ ในภายใน.

     
ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนา อันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิด เพราะ ความเพียรก็ดี จะไม่ได้เสวยก็ดี ก็ยังไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็นซึ่งปัญญาเครื่อง ตรัสรู้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

      ดูกรภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๒ นี้แลอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนักไม่เคยได้ฟังมา ในกาลก่อน มาปรากฏแก่เรา.

          [๗๔๓] ดูกรภารทวาชะ (อุปมาข้อที่ ๓) อีกข้อหนึ่งอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏกะเรา. เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่ บนบก ไกลน้ำ. ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จะเอาไม้นั้นมาสีไฟ จักให้ไฟเกิด จักทำไฟ ให้ปรากฏ ดังนี้.

      ดูกรภารทวาชะท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้แห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ มาสีไฟจะพึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือหนอ? สคารวมาณพกราบทูลว่า อย่างนั้นท่านพระโคดม ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร เพราะไม้นั้นแห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ.

     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภารทวาชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์ เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายหลีกออกจากกาม. ทั้งความพอใจในกาม ความเสน่หา ในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความระหายในกาม ความเร่าร้อนเพราะกาม อันตนละได้ ด้วยดี ให้สงบระงับด้วยดีแล้วในภายใน.

      ท่านสม
ณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวย ทุกขเวทนา อันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิด เพราะความเพียรก็ดี ถึงแม้จะไม่ได้เสวยก็ดี ก็สมควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็นซึ่งปัญญา เครื่องตรัสรู้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

      ดูกรภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๓ นี้แลอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้ฟังมาในกาล ก่อน มาปรากฏกะเรา.

.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์