เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 สคารวรมานพเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงลำดับเหตุการณ์ก่อนตรัส รู้จนตรัสรู้ 642
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

สคารวรมานพเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
สคาวรมาณพเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลถามเรื่องสมณพราหมณ์ ว่าบางคนฟังตามๆกันมา บางคนอาศัยความเชื่อ เป็นนักตรึก นักตรอง สมณะบางคนรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ถึงบารมีขั้นสูงสุด พระองค์ตรัสว่า เราก็เป็นผู้หนึ่ง ในสมณะพราหมณ์เหล่านั้น

ดูก่อนภาระทวาชะ ก่อนตรัสรู้ สมัยยังเป็นโพธิสัตว์ ได้มีความคิดว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์เป็นไปได้ยาก จึงปลงผมออกบวชเป็นบรรพชิต เพื่อแสวงหาสิ่งที่เป็นกุศล

จึงเข้าไปหา อาฬารดาบสกาลามโคตร ผู้ประกาศ อากิญจัญญายตนะ และเข้าไปหา อุทกดาบสรามบุตร ผู้ประประกาศ เนวสัญญานาสัญญายตนะ. ทรงเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลัน มีภูมิธรรมเสมอกัน เพียงแค่ สนทนาธรรม เรามีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบ ระงับ เพื่อความรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพาน แต่เป็นธรรมเพียงแค่การอุบัติในระดับ อากิญจัญญา- และเนวสัญญา- เท่านั้น

 
 
 



พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้าที่ ๕๐๔


สคาวรมาณพเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

          [๗๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
     สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่. สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานี อาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะ เป็นผู้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์.

นางพลั้งพลาดแล้ว เปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

          [๗๓๕] ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อสคารวะ อาศัยอยู่ในบ้านปัจจลกัปปะ เป็นผู้รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิคัณฑุและคัมภีร์เกตุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์ โลกายตะ และตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ. เขาได้ฟังวาจาที่นางธนัญชานีพราหมณี กล่าวอย่างนั้น ครั้นแล้วได้กล่าวกะนางธนัญชานีพราหมณี ว่านางธนัญชานีพราหมณี ไม่เป็นมงคลเลย นางธนัญชานีเป็น คนฉิบหาย เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรวิชา มีอยู่ เออก็นางไปกล่าวสรรเสริญคุณของสมณะหัวโล้นนั้นทำไม?

นางธนัญชานีพราหมณีได้กล่าวว่า ดูกรพ่อผู้มีพักตร์อันเจริญ ก็พ่อยังไม่รู้ซึ่งศีล และปัญญา ของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ถ้าพ่อพึงรู้ศีล และพระปัญญาของ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น พ่อจะไม่พึงสำคัญพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นว่า เป็นผู้ควรด่า ควรบริภาษเลย.

สคารวมาณพ กล่าวว่า ดูกรนางผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น พระสมณะมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ เมื่อใด พึงบอกแก่ฉันเมื่อนั้น. นางธนัญชานีพราหมณีรับคำสคารวมาณพแล้ว.

          [๗๓๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลโดยลำดับ เสด็จไปถึงบ้านปัจจลกัปปะ. ได้ยินว่าสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในสวนมะม่วง ของพวก พราหมณ์ชาวบ้านตุทิคาม ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ. นางธนัญชานีพราหมณี ได้สดับข่าว ว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จถึงบ้านปัจจลกัปปะ ประทับอยู่ในสวนมะม่วง ของพราหมณ์ชาวบ้านตุทิคาม ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ.

นางจึงเข้าไปหาสคารวมาณพถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกะสคารวมาณพว่า ดูกรพ่อผู้มี พระพักตร์อันเจริญ นี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เสด็จมาถึงบ้านปัจจลกัปปะ ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของพวกพราหมณ์ ชาวบ้านตุทิคามใกล้บ้านปัจจลกัปปะ พ่อจงสำคัญกาลอันควรณ บัดนี้.

สคารวมาณพรับคำนางธนัญชานีพราหมณีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม มีสมณพราหมณ์ พวกหนึ่งเป็นผู้ถึงบารมีชั้นสุด เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้ถึงบารมีชั้นที่สุด เพราะยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณ อาทิพรหมจรรย์ ท่านพระโคดมเป็นคนไหน ของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้น?

ความต่างกันแห่งสมณพราหมณ์

          [๗๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภารทวาชะ เรากล่าวความต่างกันแห่ง สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะยิ่งในปัจจุบัน แม้จะปฏิญาณอาทิ พรหมจรรย์ได้ ดูกรภารทวาชะมีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้พึงฟังตามกันมา เพราะการฟังตามกันมานั้น จึงเป็นผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณ อาทิพรหมจรรย์ เหมือนพวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรวิชาฉะนั้น.

อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะผู้ยิ่งในปัจจุบัน ปฏิญาณ อาทิพรหมจรรย์ เพราะเพียงแต่ความเชื่ออย่างเดียว เหมือนพวกพราหมณ์นักตรึก นักตรอง ฉะนั้น.

มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้ฟัง ตามกันมาก่อน ถึงบารมีชั้นที่สุด เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ ดูกรภารทวาชะในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรมด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้ฟังตามกันมาในก่อน ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่ง ในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์

เราเป็นผู้หนึ่งของจำนวนสมณพราหมณ์ เหล่านั้น ข้อนี้พึงรู้ได้โดยบรรยายแม้นี้. เหมือน สมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรมด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลาย ที่ไม่ได้ฟังตามกันมาในก่อน ถึงบารมีชั้นที่สุด เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณ อาทิพรหมจรรย์ เราเป็นหนึ่งของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้นฉะนั้น.
(พระองค์รู้ธรรมด้วยปัญญาของตนเอง ไม่ได้ฟังๆตามๆกันมา ไม่ได้เชื่อตามๆกันมาเหมือน กับสมณพรามหม์เหล่าอื่น นี่คือข้อแตกต่าง)

          [๗๓๘] ดูกรภารทวาชะ ในโลกนี้ ก่อนแต่การตรัสรู้ เรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่ ได้มีความคิดเห็นว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชา เป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไรเราพึงปลงผม และ หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.

สมัยต่อมา เรานั้นยังเป็นหนุ่ม ผมดำสนิท ประกอบด้วยวัยกำลังเจริญเป็นปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ปรารถนา (จะให้บวช) ทรงกันแสงพระเนตรนอง ด้วยอัสสุชล เราปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

เมื่อเราบวชแล้วอย่างนี้ แสวงหาสิ่งไรจะเป็นกุศล ค้นหาสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่น ยิ่งกว่าอยู่ จึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ถึงสำนักแล้วได้กล่าวว่า ดูกรท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.

ดูกรภารทวาชะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อาฬารดาบสกาลามโคตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์ตน ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้า ในธรรมใดแล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น. เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลัน ไม่นานเลย.

เรากล่าวญาณวาท และเถรวาท ได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา* เพียงชั่วกาล ที่พูดตอบเท่านั้น อนึ่งทั้งเราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เราเห็น.
*(การสนทนาธรรมด้วยทางจิต พระองค์เรียนรู้ธรรมนั้นได้ทันที มิช้าเลย จนภูมิธรรมเท่าเทียมกัน)

เรามีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบสกาลามโคตรจะประกาศว่า เราทำธรรมนี้ให้แจ้ง ชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองด้วย เข้าถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธาอย่างเดียวดังนี้ หามิได้ ที่แท้อาฬารดาบสกาลามโคตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่.

ครั้งนั้นเราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำ ธรรมนี้ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอ? เมื่อเราถามอย่างนี้ อาฬารดาบสกาลามโคตรได้ประกาศ อากิญจัญญายตนะ.

เราได้มีความคิดเห็นว่า มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตร เท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มี ศรัทธา มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตรเท่านั้น มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียร เพื่อจะทำ ให้แจ้งชัดซึ่งธรรม ที่อาฬารดาบสกาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่นั้นเถิด. เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่โดยฉับพลันไม่นานเลย. (รู้แจ้งในธรรมทั้นทันที)

ลำดับนั้น เราได้เข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร แล้วได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุ เพียงเท่านี้หรือหนอ? อาฬารดาบสกาลามโคตรตอบว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้ง ชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้. เราได้กล่าวว่า แม้เราก็ทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

อาฬารดาบสกาลามโคตรกล่าวว่า อาวุโส เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้มีอายุเช่นท่าน เราทำธรรมใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่ ท่านทำธรรมใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ เราก็ทำ ธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้นท่าน เช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูกรอาวุโส บัดนี้เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกัน บริหารหมู่คณะนี้เถิด.

ดูกรภารทวาชะ อาฬารดาบสกาลามโคตร เป็นอาจารย์ของเรา ได้ตั้งเรา ผู้เป็นศิษย์ ไว้เสมอกับตน และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เรามีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็น ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบ ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียงเพื่ออุบัติใน อากิญจัญญายตน พรหมเท่านั้น.

เราไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.

          [๗๓๙] ดูกรภารทวาชะ เราเป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าอะไรจะเป็นกุศล ค้นหา สันติวรบท (หนทางอันประเสริฐ)อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่ จึงเข้าไปหา อุทกดาบส รามบุตรถึงสำนักแล้วกล่าวว่า ดูกรท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้.

เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุทกดาบส รามบุตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษ ทำลัทธิของอาจารย์ตนให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้า ในธรรมใด แล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น. เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลัน ไม่นานเลย. (รู้แจ้งในธรรมนั้นทันที)

ย่อมกล่าวญาณวาท และเถรวาท ได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา* เพียงชั่วกาล ที่พูดตอบเท่านั้น อนึ่ง เราและผู้อื่น ปฏิญาณได้ว่า เรารู้ เราเห็น.
*(การสนทนาธรรมด้วยทางจิต)

เรามีความคิดเห็นว่า รามะจะได้ประกาศธรรมนี้ว่า เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเอง ด้วยเหตุเพียงศรัทธาอย่างเดียว แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ หามิได้ ที่แท้ รามะรู้ เห็นธรรมนี้อยู่.

ครั้งนั้น เราเข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตรแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว อุทกดาบสรามบุตรได้ประกาศเนวสัญญานา สัญญายตนะ.

เรานั้นได้มีความคิดเห็นว่า มิใช่ท่านรามบุตรเท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา มิใช่ท่านรามบุตรเท่านั้นมีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มีความเพียร มีสติมีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำให้แจ้งชัดซึ่งธรรม ที่ท่านรามบุตรประกาศว่าเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่นั้นเถิด.

เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ โดยฉับพลัน ไม่นานเลย.

ลำดับนั้น เราได้เข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตรแล้วได้ถามว่า ท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือหนอ? อุทกดาบสรามบุตรตอบว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้ว ประกาศด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

เรากล่าวว่า อาวุโส แม้เราก็ทำธรรมให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้. อุทกดาบสรามบุตรกล่าวว่า อาวุโสเป็นลาภของพวกเรา พวกเรา ได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีอายุเช่นท่าน เราทำธรรมใดให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุแล้ว ประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่ เราก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญา อันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ เรารู้ ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้(ภูมิธรรมทัดเทียมกัน เพียงแค่สนทนาธรรม) ดูกรอาวุโส บัดนี้ เชิญท่านมาบริหาร หมู่คณะนี้เถิด.

ดูกรภารทวาชะ อุทกดาบสรามบุตร เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ของเรา ได้ตั้งเราไว้ ในฐานะอาจารย์ และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง. เรามีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียง เพื่ออุบัติในเนวสัญญา นาสัญญายตนพรหมเท่านั้น.

เราจึงไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์