เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อุปมาเรื่องทุกข์ที่เหลือของอริยะสาวก กับ ทุกข์ที่หมดไป 641
 
(เนื้อหาพอสังเขป)
ทุกข์ของพระอริยะที่เหลือ กับทุกข์ที่หมดไป

1.ทุกข์ของพระอริยะที่ยังเหลือ เท่ากับฝุ่นที่ปลายเล็บ.. ทุกข์ที่หมดไปเทียบกับดินในมหาปฐพี
2.ทุกข์ของพระอริยะ เท่ากับน้ำปลายหญ้าคา..เทียบกับน้ำในสระโบกขรณี ขนาด ๕๐ โยชน์

3.เปรียบ ทุกข์ที่ยังเหลือ เท่ากับหยดน้ำ..
4.เปรียบ ทุกข์ที่หมดไป เท่ากับน้ำในแม่น้ำ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี

5.เปรียบ ทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับก้อนดิน.. ดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน
6.เปรียบ ทุกข์ที่หมดไปเท่ากับแผ่นดิน

7.เปรียบ ทุกข์ที่เหลือ เท่ากับหยดน้ำ... บุรุษตักน้ำ ๒-๓ หยด
8.เปรียบ ทุกข์ที่หมดไป เท่ากับมหาสมุทร

9.เปรียบ ทุกข์ที่เหลือ เท่ากับก้อนหิน..ก้อนหินเล็กๆเท่าเม็ดผักกาด 7 ก้อน
10.เปรียบ ทุกข์ที่หมดไป เท่ากับขุนเขา.. ขุนเขาหิมวันต์
 
 
 


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

อุปมาเรื่องทุกข์ที่เหลือของอริยะสาวก กับ ทุกข์ที่หมดไป

(1)
ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับฝุ่นที่ปลายเล็บ

            [๑๗๔๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้ที่ปลาย พระนขา แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายเล็บที่เราช้อนขึ้นนี้กับ มหาปฐพีนี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายพระนขาอันพระผู้มีพระภาคทรงช้อนขึ้นนี้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับมหาปฐพีแล้ว ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายพระนขาที่พระผู้มี พระภาคช้อนขึ้นแล้ว ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

            พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ผู้สมบูรณ์ ด้วยทิฏฐิ ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา ที่สิ้นไปหมดไป มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
.........................................................................................................................................................

(2)
ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับน้ำปลายหญ้าคา


            [๑๗๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณี โดยยาว ๕๐ โยชน์ โดย กว้าง ๕๐ โยชน์ สูง ๕๐ โยชน์ เต็มด้วยน้ำเปี่ยมฝั่ง กาดื่มกินได้ บุรุษ เอาปลายหญ้าคา จุ่มน้ำขึ้นจากสระนั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน น้ำที่เขาเอาปลาย หญ้าคาจุ่มขึ้น กับน้ำในสระโบกขรณี ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระโบกขรณีมากกว่า น้ำที่เขาเอาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้น มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในสระโบกขรณีแล้ว น้ำที่เขาเอาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

            พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
.........................................................................................................................................................

(3)
เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับหยดน้ำ


            [๑๗๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลไปไม่ขาดสายในที่ใด บุรุษตักน้ำ ๒-๓ หยดขึ้นจากที่นั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำ ๒-๓ หยด ที่เขาตักขึ้น กับน้ำที่ไหล ไปประจบกันไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลไปประจบมากกว่าน้ำ ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้นมีประมาณ น้อย เมื่อเทียบกับน้ำ ที่ไหลไปประจบกัน น้ำ ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการ นับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

            พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
.........................................................................................................................................................

(4)
เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับน้ำในแม่น้ำ


            [๑๗๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลไปไม่ขาดสายในที่ใด น้ำนั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือน้ำ ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเทียบน้ำที่ไหล ไปประจบกันซึ่งสิ้นไป หมดไป กับน้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลไปประจบกันซึ่งสิ้นไป หมดไป มากกว่า น้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลืออยู่ น้อยกว่า เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลไป ประจบกัน ซึ่งสิ้นไป หมดไปแล้ว น้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

            พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
.........................................................................................................................................................

(5)

เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับก้อนดิน


            [๑๗๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนดินประมาณ เท่าเมล็ด กระเบา๗ ก้อนจากแผ่นดินใหญ่ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนดิน ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ กับแผ่นดินใหญ่ ไหนจะ มากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่มากกว่า ก้อนดินเท่า เมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดิน ใหญ่ ก้อนดิน ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

            พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
.........................................................................................................................................................

(6)
เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับแผ่นดิน


            [๑๗๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แผ่นดินใหญ่พึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือก้อนดิน ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน ความหมดไป สิ้นไป ของแผ่นดินใหญ่ กับก้อนดินประมาณเท่าเมล็ด กระเบา ๗ ก้อน ที่ยังเหลือไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่หมดไปสิ้นไป มากกว่า ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ด กระเบา ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อยเมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ที่หมดไป สิ้นไป ก้อนดิน ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

            พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

.........................................................................................................................................................

(7)

เปรียบทุกข์ที่เหลือเท่ากับหยดน้ำ


            [๑๗๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษตักน้ำมหาสมุทร ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำ ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น กับน้ำใน มหาสมุทร ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรมากกว่า น้ำ๒-๓ หยด ที่เขาตักขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำใน มหาสมุทร น้ำ ๒-๓ หยด ที่เขาตักขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ ส่วนเสี้ยว.

            พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
.........................................................................................................................................................

(8)

เปรียบทุกข์ที่หมดเท่ากับมหาสมุทร


            [๑๗๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรพึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือน้ำ ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำในมหาสมุทร ที่สิ้นไปหมดไป กับน้ำ ๒-๓ หยด ที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรที่สิ้นไป หมดไป มากกว่า น้ำ ๒-๓ หยด ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำ ในมหาสมุทร ที่สิ้นไป หมดไป น้ำ ๒-๓ หยด ที่ยังเหลือ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

            พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
.........................................................................................................................................................

(9)
เปรียบทุกข์ที่เหลือเท่ากับก้อนหิน


            [๑๗๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน แห่งขุนเขาหิมวันต์ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหิน ประมาณ เท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ กับขุนเขาหิมวันต์ ไหนจะมากกว่า กัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์มากกว่า ก้อนหิน ประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ก้อน ที่เขาเก็บไว้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขา หิมวันต์ ก้อนหินประมาณเท่า เมล็ดผักกาด๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ ส่วนเสี้ยว.

            พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทา.
.........................................................................................................................................................

(10)
เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับขุนเขา


            [๑๗๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาหิมวันต์ พึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉนขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป หมดไป กับก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไปหมดไป มากกว่าก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป หมดไป ก้อนหิน ประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน ที่ยังเหลืออยู่ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

            พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ผู้สมบูรณ์ด้วย ทิฏฐิ ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ที่สิ้นไป หมดไป มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับการ เปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยวเมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไป อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ดูกรภิกษุทั้งหลายเพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ ความเพียรเพื่อรู้ ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์