เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 สังคัยหสูตรที่ ๑ (เฝ้าระวังผัสสะทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ) 622
 
  ผัสสายตนะ ๖
(จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ) บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้... บุคคลฝึกฝนดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ..บุคคลเจริญดีแล้วในอารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด จิตของบุคคลนั้น อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ในกาลนั้น เธอทั้งหลาย ได้ปราบราคะ และโทสะเสียแล้ว ย่อมเป็นผู้ถึง นิพพาน ซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๗๒


สังคัยหสูตรที่ ๑

         [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครองไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ผัสสายตนะ  ๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้วย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้ ฯ

         [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคลฝึกฝนดี  คุ้มครองดีรักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ผัสสายตนะ ๖เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะฆานะ ชิวหา กาย ใจ ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดีสำรวมระวังดีแล้ว ย่อม นำสุขมากมาให้ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์

ภาษิตนี้จบลงแล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ

         [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖ นั่นแหละ เว้นการ สำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์ บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะ เหล่านั้น บุคคลเหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่

บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจ และ เห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึงบรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึง เสียใจว่า รูปไม่น่ารัก ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว)

ได้ยินเสียงที่น่ารัก และ เสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึงบรรเทา โทสะ ในเสียงที่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่ น่ารักเข้าแล้ว)

ได้ดมกลิ่นที่ชอบใจอันน่ายินดี และ ได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารักใคร่ พึงบรรเทา ความหงุดหงิด ในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่ พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่

ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และ ลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อย ด้วยความติดใจ และ ไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย

ถูกสัมผัสที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และ ถูกผัสสะที่เป็นทุกข์ กระทบเข้าแล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวาง เฉยผัสสะทั้งที่เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้ายเพราะผัสสะ อะไรๆ

นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความสำคัญในกิเลส เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลส เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่ ก็บุคคลบรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา ใจให้ประกอบด้วย เนกขัมมะ

ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้นอันสุขสัมผัส กระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ปราบราคะ และโทสะเสียแล้ว ย่อมเป็นผู้ถึง นิพพาน ซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์