เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อัชฌัตติกสูตร - ว่าด้วยเรื่องทิฎฐิ สักกายทิฎฐิ ความยึดมั่น อัตตา อนิจจัง 621
 




๑. อัชฌัตติกสูตร ว่าด้วยเหตุ แห่งสุขและทุกข์ภายใน
๒. เอตังมมสูตร ว่าด้วยเหตุแห่ง การยึดมั่นว่าเป็นของเรา
๓. เอโสอัตตาสูตร ว่าด้วยเหตุแห่ง สัสสตทิฏฐิ
๔. โนจเมสิยาสูตร ว่าด้วยเหตุแห่ง นัตถิกทิฏฐิ
๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยเหตุแห่ง มิจฉาทิฏฐิ

๖. สักกายทิฏฐิสูตร ด้วยเหตุแห่ง สักกาทิฏฐิ
๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร ว่าด้วยเหตุแห่ง อัตตานุทิฏฐิ
๘. อภินิเวสสูตรที่ ๑ ว่าด้วยเหตุแห่ง ความยึดมั่น
๙. อภินิเวสสูตรที่ ๒ ว่าด้วยเหตุแห่งความยึดมั่น
๑๐. อานันทสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจัง และมิใช่ของเรา
 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๗๘

ทิฏฐิวรรคที่ ๕

๑. อัชฌัตติกสูตร  ว่าด้วยเหตุแห่งสุขและทุกข์ภายใน



        [๓๔๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น?
        ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป สุขและทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ ... เพราะอาศัยวิญญาณสุข และทุกข์ภายในจึงเกิดขึ้น.

        [๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง?
     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายในพึง บังเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
     ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

     พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุขและทุกข์ภายใน พึงเกิดขึ้น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
     ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


๒. เอตังมมสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการยึดมั่นว่าเป็นของเรา

        [๓๔๘] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร บุคคลจึงตามเห็นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูปอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป บุคคลจึงตาม เห็นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ ... เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ บุคคลจึงตามเห็นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน ของเรา.

        [๓๔๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง?
     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา บุคคลพึงตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
     ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

     พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
     ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
     ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

     พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา บุคคลพึงตามเห็นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
     ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

     พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

๓. เอโสอัตตาสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งสัสสตทิฏฐิ


        [๓๕๐] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยน แปลง เป็นธรรมดา?

        ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีทิฏฐิ อย่างนี้ ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยงยั่งยืนมั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา.

        [๓๕๑] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า ตนก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี.

๔. โนจเมสิยาสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งนัตถิกทิฏฐิ


        [๓๕๒] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และ บริขาร ของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี บริขารของเราจักไม่มี? ภิกษุทั้งหลายกราบทูล ว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี บริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี บริขารของเราจักไม่มี. เมื่อเวทนามีอยู่ .. เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณจึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และ บริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี บริขารของเราจักไม่มี.

        [๓๕๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี บริขารของเราจักไม่มี เพราะไม่ อาศัย สิ่งนั้น บ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีทิฏฐิอย่างนี้ ว่าเราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี บริขารของเราจักไม่มี เพราะไม่อาศัย สิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่น เพื่อความ เป็นอย่างนี้ มิได้มี.


๕. มิจฉาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งมิจฉาทิฏฐิ

        [๓๕๔] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปแลมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมี มิจฉาทิฏฐิ. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณ มีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณเพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ.

        [๓๕๕] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนธรรมดา พึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ เพราะไม่ อาศัย สิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีมิจฉาทิฏฐิ เพราะ ไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ เป็น อย่างนี้มิได้มี.


๖. สักกายทิฏฐิสูตร ด้วยเหตุแห่งสักกายทิฏฐิ

        [๓๕๖] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดมี สักกายทิฏฐิ?
        ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดม ีสักกายทิฏฐิ. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ เมื่อวิญญาณ มีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณเพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ.

        [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมี สักกายทิฏฐิ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมีสักกายทิฏฐิ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


๗. อัตตานุทิฏฐิสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งอัตตานุทิฏฐิ

        [๓๕๘] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิด อัตตานุทิฏฐิ?   
        ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดมี อัตตานุทิฏฐิ. เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณ มีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดมีอัตตานุทิฏฐิ.

        [๓๕๙] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมี อัตตานุทิฏฐิ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดมี อัตตานุทิฏฐิ เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


๘. อภินิเวสสูตรที่ ๑ ว่าด้วยเหตุแห่งความยึดมั่น

        [๓๖๐] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดความพัวพันด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น?
        ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ
        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป จึงเกิดความพัวพันด้วย สังโยชน์และความยึดมั่น.
        เมื่อเวทนามีอยู่ ... เมื่อสัญญามีอยู่ ... เมื่อสังขารมีอยู่ ... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดความพัวพันด้วยสังโยชน์ และ ความยึดมั่น.

        [๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดความพัวพัน ด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดความ พัวพันด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


๙. อภินิเวสสูตรที่ ๒ ว่าด้วยเหตุแห่งความยึดมั่น

        [๓๖๒] พระนครสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไร มีอยู่เพราะอาศัยอะไร เพราะยึดมั่นอะไร จึงเกิดความพัวพันและความ หมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะอาศัยรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดความ พัวพันและความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น. เมื่อเวทนามีอยู่ .. เมื่อสัญญา มีอยู่ .. เมื่อสังขารมีอยู่ ...เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะอาศัยวิญญาณ เพราะยึดมั่น วิญญาณ จึงเกิดความพัวพันและความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น.

        [๓๖๓] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดความพัวพัน และความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์ และความยึดมั่น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา พึงเกิดความพัวพัน และความหมกมุ่นด้วยสังโยชน์และความยึดมั่น เพราะไม่อาศัยสิ่งนั้นบ้างหรือ?
        ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.


๑๐. อานันทสูตร ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนิจจัง และมิใช่ของเรา

        [๓๖๔] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาสขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆเดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.
        พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยง หรือไม่เที่ยง?
        อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
        อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

        พ. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?
        อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
        อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

        พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา?
        อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

        [๓๖๕] พ. ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดีอยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา.

        เวทนา ... สัญญา ...สังขาร ... วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดีภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดีวิญญาณทั้งหมดนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา.

        ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น.

        เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทิฏฐิวรรคที่ ๕.

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์