พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๘๖
1
ติงสมัตตาสูตร ภิกษุชาวเมืองปาวาประมาณ ๓๐ รูป ฟังธรรมแล้วหลุดพ้นทั้งหมด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้ยัง มีอวิชชาเป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ พวกเธอจะสำคัญ ความข้อนั้น เป็นไฉน
1.ผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะ สมัยเกิด เป็นกระบือ โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่น แหละมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ (ติงสมัตตาสูตร )
2 เมื่อเธอทั้งหลาย เกิดเป็นแกะ... เกิดเป็นแพะ .. เกิดเป็นเนื้อ .. เกิดเป็นสุกร .. เกิดเป็นไก่... เมื่อพวกเธอถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่าเป็นโจรฆ่าชาวบ้าน ตลอด กาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ (ติงสมัตตาสูตร)
3. เมื่อเธอทั้งหลายถูกจับตัดศีรษะ โดยข้อหาว่า เป็นโจรคิดปล้น ... ถูกจับตัดศีรษะ โดยข้อหาว่า เป็นโจรประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่น ตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหล ออกนั่นแหละ มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ (ติงสมัตตาสูตร)
5. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯพอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ฯ(มาตุสูตร)
6. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบิดาโดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลยดังนี้ฯ(ปิตุสูตร)
7 ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่ชายน้องชาย โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลย ดังนี้ (ภาตุสูตร)
8.ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นพี่หญิงน้องหญิง โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลยดังนี้ฯ (ภคินีสูตร)
9.ดูกรภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นบุตร โดยกาลนานนี้ มิใช่หาได้ง่ายเลยดังนี้ฯ(ปุตตสูตร)
2
มนุษย์ เกิด-ตาย มาแล้วนับจำนวนไม่ถ้วน
มารดาของเรา มากกว่ามัดท่อนไม้ทั้งป่า (ติณกัฏฐสูตร)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษตัดท่อนหญ้า ไม้กิ่งไม้ ใบไม้ในชมพูทวีปนี้ แล้วจึงรวมกันไว้ ครั้นแล้ว พึงกระทำให้เป็นมัดๆ ละ ๔ นิ้ว วางไว้ สมมติว่า นี้เป็น มารดาของเรา นี้เป็นมารดาของมารดาของเราโดยลำดับ มารดาของมารดา แห่งบุรุษนั้น ไม่พึงสิ้นสุด ส่วนว่าหญ้าไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ พึงถึงการหมด สิ้นไป
ปั้นดินเท่าลูกกะเบาวางต่อกัน (ปฐวีสูตร)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษปั้นมหาปฐพีนี้ให้เป็นก้อน ก้อนละเท่าเม็ด กระเบา แล้ววางไว้ สมมติว่า นี้เป็นบิดาของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา โดยลำดับ บิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
น้ำตาที่ไหล มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง4 (อัสสุสูตร)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำตาที่หลั่งไหล ของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญ ร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้ กำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
น้ำนมมารดามากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง4 (ขีรสูตร)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำนมมารดา ที่พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาอยู่โดยกาลนานนี้ ดื่มแล้ว มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
3
อุปมาความนานของกัป
1 กัป กับเขาหินแท่งทึบ(ปัพพตสูตร)
ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่าเท่านี้ปีเท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ ดูกรภิกษ ุเหมือนอย่างว่า ภูเขาหิน ลูกใหญ่ ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่งไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึง เอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการ หมดไปสิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่ หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้ กำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียว เพื่อจะเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
(๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๖ กม.)
1กัป อุปมาเหมือนเมล็ดพันธ์ผักกาด (สาสปสูตร)
ดูกรภิกษุเหมือนอย่างว่า นครที่ทำ ด้วยเหล็ก ยาวโยชน์ ๑ กว้างโยชน์ ๑ สูงโยชน์ ๑ เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอา เมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้น โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อเมล็ด เมล็ด พันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป เพราะความพยายามนี้ยังเร็วกว่า แล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนานอย่างนี้แล บรรดากัปที่นาน อย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้วมิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าสงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลาย ไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
(๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๖ กม.)
กัปที่ล่วงไป (สาวกสูตร)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสาวก ๔ รูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปี หากว่าท่านเหล่านั้น พึงระลึกถอยหลังไปได้ วันละแสนกัป กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึก ไม่ถึงพึงยังมีอยู่อีก สาวก ๔ รูปของเราผู้มีอายุ ๑๐๐ ปีมีชีวิต ๑๐๐ ปี พึงทำกาละ โดยล่วงไป ๑๐๐ ปีๆ โดยแท้แล กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มีจำนวนมากอย่างนี้แล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ร้อยกัป เท่านี้พันกัปหรือว่าเท่านี้แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
กัปที่ล่วงไปแล้วมากกว่าเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา (คงคาสูตร)
ดูกรพราหมณ์ แม่น้ำคงคานี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใดเมล็ดทราย ในระยะนี้ไม่เป็นของง่าย ที่จะกำหนดได้ว่า เท่านี้เม็ด เท่านี้ ๑๐๐ เม็ดเท่านี้ ๑,๐๐๐ เม็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เมล็ด ดูกรพราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไป แล้ว มากกว่าเมล็ดทรายเหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัป เหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มี อวิชชา เป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ไม่ปรากฏ สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูน ปฐพี ที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น ดูกรพราหมณ์ ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียว เพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวงพอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ |