เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ปฏิปทาวรรค ทุกขาปฏิปทา(ทันยา-ขิปปา)... สุขาปฏิปทา....(ทันยา-ขิปปา) 615
 
  สรุปย่อปฏิปทา 4 แบบ

แบบทุกขาปฏิปทา
1.กิเลสมาก
อินทรีย์ 5 อ่อน ทำให้บรรลุช้า
2.กิเลสมาก
แต่อินทรีย์ 5 แก่กล้า ทำให้บรรลุเร็ว

แบบสุขาปฏิปทา
3.กิเลสเบาบาง อินทรีย์ 5 อ่อน ทำให้บรรลุช้า
4.กิเลสเบาบาง แต่อินทรีย์ 5 แก่กล้า ทำให้บรรลุเร็ว


ปฏิปทาเพื่อสิ้นอาสวะ
1. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
2. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
(พระโมคคัลลานะ ปฏิบัติด้วยวิธีนี้)
3. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
4. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว
(พระสารีบุตร ปฏิบัติ้วยวิธีนี้)
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๔๗- ๑๕๒

ปฏิปทาวรรคที่ ๒


           [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉนคือ
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ๑
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว ๑
(พระโมคคัลลานะ ใช้วิธีนี้)
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า ๑
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว ๑
(พระสารีบุตร ใช้วิธีนี้)
           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล

           [๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ 
ทกุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ 
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง อินทรีย์ ๕  ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์  สมาธินทรีย์  ปัญญินทรีย์  ของเขาปรากฏว่าอ่อน เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษ เพื่อความ สิ้นอาสวะได้ช้า เพราะอินทรีย์ ๕ เหล่านี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติยาก-รู้ได้ช้า)
(กิเลสมาก อินทรีย์ 5 อ่อน ทำให้บรรลุช้า)

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติเป็นผู้มีราคะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นผู้มีโมหะกล้าย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าแก่กล้า เขาย่อมบรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์๕ ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัตยาก-รู้ได้เร็ว)
(กิเลสมาก แต่อินทรีย์ 5 แก่กล้า ทำให้บรรลเร็ว)

.................................................................................................


           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติไม่เป็นคนมีราคะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติไม่เป็นผู้มีโทสะกล้า ย่อมไม่ได้เสวย ทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่ โทสะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติไม่เป็นผู้มีเป็นโมหะกล้า ย่อมไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเขาปรากฏว่าอ่อน เขาย่อมได้บรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา (ปฏิบัตง่าย-รู้ได้ช้า)
(กิเลสเบาบาง อินทรีย์ 5 อ่อน ทำให้บรรลุช้า)

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ โดยปรกติไม่เป็นผู้มีราคะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่ราคะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นผู้ไม่มีโทสะกล้า ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่โทสะเนืองๆ บ้าง โดยปรกติเป็นผู้ไม่มีโมหะกล้าไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัส อันเกิดแต่โมหะเนืองๆ บ้าง อินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯปัญญินทรีย์ของเขา ปรากฏว่าแก่กล้า เขาย่อมบรรลุ คุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ฉับพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา (ปฏิบัติง่าย-รู้ได้เร็ว)
(กิเลสเบาบาง แต่อินทรีย์ 5 แก่กล้า ทำให้บรรลเร็ว)

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา๔ ประการนี้แล



           [๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา เห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าเป็นของ ปฏิกูล มีความสำคัญ ในโลก ทั้งปวง ว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่า ไม่เที่ยง อนึ่ง มรณสัญญา ของเธอตั้งอยู่ดีแล้ว ในภายใน เธอเข้าไปอาศัยธรรม อันเป็นกำลัง ของพระ เสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา อินทรีย์ ๕ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ของเธอ ปรากฏว่าอ่อน เธอได้บรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น ในกายว่าไม่งาม ... แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ  สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเธอปรากฏว่า แก่กล้า เธอย่อมได้บรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะ เร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาทันธาภิญญาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจาก กาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิด แต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มี วิตก วิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติ สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดังนี้ บรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือสัทธาหิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญาอยู่ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอบรรลุคุณวิเศษ เพื่อความสิ้น อาสวะช้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจาก กาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธออาศัยธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ สัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญา ทั้งอินทรีย์ ๕ ประการนี้คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมได้บรรลุ คุณวิเศษ เพื่อความสิ้นอาสวะเร็วพลัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ปฏิปทา๔ ประการนี้แล



           [๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
การปฏิบัติ ไม่อดทน ๑
การปฏิบัติ อดทน ๑
การปฏิบัติ ข่มใจ ๑
การปฏิบัติ ระงับ ๑


           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาด่า ย่อมด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ย่อมขึ้งโกรธตอบเขาทุ่มเถียงย่อม ทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติไม่อดทน

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน บุคคลบางคน ในโลกนี้  เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาขึ้งโกรธ ไม่ขึ้งโกรธตอบ เขาทุ่มเถียง ไม่ทุ่มเถียงตอบ นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เห็นรูป ด้วย จักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่ สำรวม แล้วจะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศลคือ อภิชฌา และ โทมนัสครอบงำ ได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ... ดมกลิ่น ด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ...   ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ แล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต  ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรม อันเป็น บาปอกุศล คือ อภิชฌา และโทมนัส ครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความ สำรวม ในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติข่มใจ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ระงับไปกระทำให้สิ้นสุด ให้ถึง ความไม่มี ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก ... วิหิงสาวิตก ... ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ระงับ ไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติ ระงับ
           
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล

.............................................................................................................................................................

           [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
  ๑. การปฏิบัติ ไม่อดทน
  ๒. การปฏิบัติอดทน
  ๓. การปฏิบัติข่มใจ
  ๔. การปฏิบัติระงับ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ อดทน ต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลมแดด และสัตว์ เลื้อยคลาน ทั้งหลาย ต่อถ้อยคำอันหยาบคาย ร้ายแรง เป็นผู้ไม่อดทน ต่อทุกขเวทนา ทางกายอันเกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่าชื่นใจไม่น่าพอใจอาจปลงชีวิตเสียได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การปฏิบัติไม่อดทน

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติอดทนเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้  เป็นผู้อดทน ต่อหนาว ร้อน ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติอดทน

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูป ด้วยจักษุ ...ฟังเสียงด้วยหู .. สูดกลิ่นด้วยจมูก .. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย .. รู้แจ้ง ธรรมารมณ์ ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดย อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวม มนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌา และโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติข่มใจ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การปฏิบัติระงับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทา ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้ระงับไป กระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความ ไม่มี ย่อมไม่รับรอง ย่อมละ ย่อมบรรเทาซึ่งพยาบาทวิตก.. วิหิงสาวิตก .. ธรรมอันเป็นบาป อกุศล ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ระงับไปกระทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการปฏิบัติระงับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล

.............................................................................................................................................................

           [๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ   ๑. ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
  ๒. ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา
  ๓. สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา
  ๔. สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในปฏิปทา ๔ ประการนั้น

ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาบัณฑิตกล่าวว่า เลวโดยส่วนทั้งสองทีเดียว คือ กล่าวว่าเลวแม้ด้วยการ ปฏิบัติลำบาก กล่าวว่าเลวแม้ด้วย การรู้ช้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทานี้
บัณฑิตกล่าวว่า เลวโดยส่วนทั้งสองทีเดียว

ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่า เลวเพราะปฏิบัติลำบาก
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา บัณฑิตกล่าวว่า
เลวเพราะรู้ได้ช้า
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาบัณฑิตกล่าวว่า ประณีตโดยส่วนทั้งสองทีเดียว คือ กล่าวว่าประณีต แม้ด้วยการปฏิบัติ สะดวกกล่าวว่าประณีต แม้ด้วย การรู้ได้เร็ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่า ประณีตโดยส่วนทั้งสองทีเดียว

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล

.............................................................................................................................................................

           [๑๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ  ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึก ถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้ถามท่าน พระมหาโมคคัลลานะว่า

           ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑ สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ๑ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ๑ ดูกรท่านผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดา ปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วย อุปาทาน เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน

           ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ฯลฯ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

           [๑๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่ได้ ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ สารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ... ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่าน หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ปฏิปทาข้อไหน

           ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการ นี้ ... ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของผมหลุดพ้นแล้วจาก อาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานเพราะอาศัย สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา

(พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ จิตหลุดพ้นด้วยการใช้ปฏิปทาคนละแบบ)
.............................................................................................................................................................

           [๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก เป็นไฉน คือ

  บุคคลบางคน ในโลกนี้เป็นสสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพานด้วย ต้องใช้ความ เพียรเรี่ยวแรงในปัจจุบันเทียว
  บางคน เมื่อกายแตก จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี
  บางคน เป็นอสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพานด้วย ไม่ต้องใช้ความเพียร เรี่ยวแรง ในปัจจุบัน
  บางคน เมื่อกายแตก จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี

(อนาคามี ในกลุ่ม ปุริสคติ 7..อสังขาระคือพวกที่ 4 สะเก็ดไฟตกลงพื้นแล้วดับ สสังขาระ คือพวกที่ 5 สะเก็ดไฟตกลงกอหญ้าหรือกองไม้แล้วดับ)

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคล เป็นสสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบัน อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น ในกายว่า ไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล มีความสำคัญในโลกทั้งปวง ว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง และมรณสัญญาของเธอ ตั้งอยู่ ดีแล้ว ในภายในเธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตัปปะ วิริยะ ปัญญาทั้งอินทรีย์๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์  ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบันเทียว เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็น สสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคล เมื่อกายแตกจึง เป็นสสังขารปรินิพพายี อย่างไร  ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ประการ คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ...ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอเมื่อกายแตกจึงเป็น สสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคล เมื่อ กายแตก จึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็น อสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบัน อย่างไร  ภิกษุในธรรม วินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ คือ ศรัทธา ... ปัญญา อินทรีย์๕ ประการนี้ คือสัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่า แก่กล้า เธอเป็นอสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายี ในปัจจุบัน อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคล เมื่อกายแตกจึง เป็นอสังขารปรินิพพายี อย่างไร  ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลเมื่อกายแตก จึงเป็น อสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏ อยู่ในโลก

  อสังขาร สสังขาร อนาคามีในกลุ่ม 5 และ 6

(คลิก)
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์