เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ธาตุสูตร (นิพพานธาตุ2 ประการ) สอุปาทิเสส -  อนุปาทิเสส 599
 
(เนื้อหาพอสังเขป)

ธาตุสูตร สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ กับ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

นิพพานธาตุ ทั้งสองอย่างนี้ มีสำหรับพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันเพียงแต่ว่า ดับใน ช่วงเวลาไหน อรหันต์ประเภท อนุปาทิเสส
ดับก่อนที่ ปฏิจสายเกิดของวิญญาณดวงใหม่เกิดขึ้น
ส่วน สอุปาทิเสส
ดับช้ากว่าอนุปทิเสา เพราะปล่อยให้วิญญาณ(ดวงใหม่)ไหลมาตามปฏิจจสายเกิด อวิชชา -สังขาร-วิญญาณ-นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา แล้วดับที่เวทนา (ด้วยอนุสัย ด้วยความ เคยชิน)

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ... เวทนาทั้งปวง ในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลส ทั้งหลายมีตัณหา เป็นต้นให้เพลิดเพลิน มิได้แล้ว จัก (ดับ)เย็น เป็นการดับการสร้างภพใหม่ (พระพุทธเจ้า สำเร็จอรหันต์ด้วยวิธีนี้)

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ... ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ ทั้งที่ พึงใจ และ ไม่พึงใจ (เสวยเวทนา) ยังเสวยสุข และ ทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใด เป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอ ยังตั้งอยู่นั่นเทียว (ไม่มีความ รู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์ จึงกล่าวว่า เวทนาเป็น ของเย็นในอัตภาพนี้ หรือในโลกนี้
(ความเห็นของท่านพุทธทาส ที่เห็นแย้งกับการแปลในพระไตรปิฎก)

ดูคลิป 1
 
 
 


ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๕ ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต หน้าที่ ๑๙๒


ธาตุสูตร
สอุปาทิเสส
นิพพานธาตุ กับ อนุปาทิเสส นิพพานธาตุ

เป็นอรหันต์ทั้งคู่ และกายยังไม่แตกทำลาย แต่จิตไหลไปแล้วดับ ไม่เท่ากัน

ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ *
ทำกิจที่ควรทำ เสร็จแล้ว
ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพนี้ สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ ทั้งที่ พึงใจ และ ไม่พึงใจ (เสวยเวทนา) ยังเสวยสุข และ ทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใด เป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอ ยังตั้งอยู่นั่นเทียว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
(อรหันต์ที่กายยังไม่แตกทำลาย ยังเสวยสุข-ทุกข์ ในเวทนา แต่ไม่มีราคะโทสะโมหะ)


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ* เป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ *
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ปลงภาระลงได้แล้ว
มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว
มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว
หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวง
ในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย มีตัณหา เป็นต้นให้เพลิดเพลิน มิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น


*(พระไตรปิฎกแปลความ อนุปาทิเสสธาตุ ว่า เป็นอรหันต์ที่กายแตกทำลายแล้ว หรือ ตายแล้ว แต่บทพยัญชนะนี้ อรหันต์นั้น ยังเสวยเวทนา ยังรู้สึกสุข-ทุกข์ แต่ไม่เพลิดเพลิน)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการ นี้แลฯ
(อรหันต์ที่กายยังไม่แตกทำลาย แต่ดับทุกข์เมื่อไหลมาที่เวทนา(ดับเย็น) จิตไม่กระทบสุข-ทุกข์ พระพุทธเจ้าก็เป็นอรหันต์ประเภท อนุปาทิเสส)


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถา ประพันธ์ ดังนี้ ว่า นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหา และทิฐิ ไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบัน นี้ ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราะสิ้น ตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ

ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลาย โดยประการ ทั้งปวง อันมี ในเบื้องหน้าชื่อว่า อนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัย ไม่ปรุงแต่งแล้วนี้ มีจิตหลุดพ้น แล้ว เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพาน เป็นที่สิ้นกิเลส เพราะบรรลุธรรม อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมดฯ เนื้อความแม้นี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

ดูคลิป


อริยสัจจากพระโอษฐ์ (ภาคต้น) ภาค3 หน้า 444 - 446

นิพพานธาตุ


ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ทรงเรียกอยู่ว่า ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ เป็นที่กำจัดโทสะ เป็นที่กำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ เป็นที่กำจัดโทสะ เป็นที่กำจัดโมหะ นี้ เป็นคำที่ใช้เรียกแทนชื่อของอะไรเล่า พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ท. ! คำว่า “ธรรมเป็นที่กำจัดราคะ (ราควินโย) เป็นที่กำจัดโทสะ เป็นที่กำจัด โมหะ” นี้ เป็นคำที่ใช้เรียกแทนชื่อของ นิพพานธาตุ เรียกว่าเป็นธรรมที่สิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย แล


ลักษณะแห่งนิพพานธาตุสองชนิด


ภิกษุ ท. ! นิพพานธาตุมี ๒ อย่าง, สองอย่างเหล่าไหนเล่า ? สองอย่างคือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.


(1) สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ


ภิกษุ ท. ! สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? 

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ แล้ว ได้ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของ ตน แล้ว มีกิเลสอันเป็นเครื่อง ผูกติดให้อยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ โดยชอบ. 

อินทรีย์ห้าของเธอยังตั้งอยู่ 
เพราะเป็นอินทรีย์ที่ยังไม่ถูกกำจัด เธอย่อมเสวย อารมณ์ อันเป็นที่ชอบใจบ้าง ไม่เป็นที่ชอบใจบ้าง ให้รู้สึกสุขและทุกข์บ้าง 

ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะของเธอ อันใด ภิกษุ ท.! อันนั้นแหละ เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ


(2) อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


ภิกษุ ท. ! ก็ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ? 
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำกิจ ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุ ถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสอันเป็นเครื่อง ผูกติดอยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ. 

ภิกษุ ท. ! เวทนาทั้งหลายทั้งปวงของเธอ อันเธอไม่เพลิดเพลินแล้ว จักดับเย็นในโลก นี้เอง 

ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

(คาถาผนวกท้ายพระสูตรนี้ มีว่า)

นิพพานธาตุ อันพระผู้มีพระภาคผู้มีจักษุ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ ได้ประกาศไว้ แล้ว มีอยู่ ๒ อย่าง เหล่านี้คือนิพพานธาตุอย่างหนึ่ง (มี) เพราะความ สิ้นไปแห่ง ภวเนตติ เป็นไปใน ทิฎฐธรรมนี้ (อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา) ยังมีอุปาทิเหลือ

และ นิพพาน-ธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) ไม่มีอุปาทิเหลือ เป็นไปในกาลเบื้องหน้า (สมฺปรายิกา) เป็นที่ดับแห่งภพทั้งหลายโดยประการ ทั้งปวง

บุคคลเหล่าใด รู้ทั่วถึงแล้วซึ่งนิพพานธาตุสองอย่างนั่นอันเป็นอสังขตบท เป็นผู้มี จิตหลุดพ้น พิเศษแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งภว-เนตติ บุคคลเหล่านั้น ยินดีแล้ว ในความสิ้นไป (แห่งทุกข์) เพราะ การถึงทับซึ่งธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละแล้ว ซึ่งภพทั้งปวง ดังนี้

นื้อความแม้นี้ เป็นเนื้อความ อันพระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้
 ดังนี้

(ถ้อยคำในพากย์บาลี มีดังต่อไปนี้)
เทฺว อิมา จกฺขุมตา ปกาสิตา
นิพฺพานธาตู อนิสฺสิเตน ตาทินา
เอกา หิ ธาตุ อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา
สอุปาทิเสสา ภวเนตฺติสงฺขยา
อนุปาทิเสสา ปน สมฺปรายิกา
ยมฺหิ นิรุชฺฌนฺติ ภวานิ สพฺพโส.
เย เอตทญฺญาย ปทํ อสงฺขตํ
วิมุตฺตจิตฺตา ภวเนตฺติสงฺขยา
เต ธมฺมสาราธิคมกฺขเย รตา
ปหํสุ เต สพฺพภวานิ ตาทิโนติ.


(นิพพานธาตุทั้งสองอย่างนี้ เป็นนิพพานธาตุสำหรับพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว ทั้งสองชนิด หากแต่ผู้บรรลุนิพพานธาตุชนิด สอุปาทิเสสะ นั้น ระบบแห่งความรู้สึก ทางอินทรีย์ห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของท่าน ยังไม่ถูกกำจัดโดยสิ้นเชิง ด้วยอำนาจนิพพานธาตุนั้น ความเคยชินในความรู้สึก ต่ออารมณ์สำหรับจะรู้สึกเป็นสุข หรือ เป็นทุกข์ ยังเหลืออยู่ จึงเรียกว่า  สอุปาทิเสสะ - มีอุปาทิ เหลืออยู่ นั่นคือ ดังข้อความข้อ ก.

ส่วนพระอรหันต์ จำพวกหลังนั้น ความเคยชินในความรู้สึกต่อ อารมณ์ของอินทรีย์ ทั้งห้า ถูกนิพพานธาตุอย่างที่สองกำจัดแล้ว สิ้นเชิง

เวทนาของท่านจึงเย็นสนิท ไม่รู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จึงเรียกว่า อนุปาทิเสสะ - ไม่มีอุปาทิ เหลืออยู่ ดังข้อความที่กล่าวแล้วในข้อ ข. หาใช้ต้องทำลายขันธ์ถึง มรณภาพไปไม่ เพราะบาลี มีอยู่ อย่างชัดเจนว่าเวทนาเหล่านั้นดับเย็น (คือไม่เป็นสุข หรือเป็นทุกข์) ในอัตภาพนี้ หรือใน โลกนี้เอง

การที่มีผู้เข้าใจไปว่า นิพพานธาตุ อย่างแรก เป็นของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ และ นิพพานธาตุ อย่างหลังเป็นของ พระอรหันต์ ผู้ถึงแก่มรณภาพแล้ว ดังนี้นั้น คงจะ เนื่องจากความเข้าใจผิดต่อ คำบาลีสองคำ ในคาถาผนวก ท้ายสูตรนั่นเอง คือ คำว่า สมฺปรายิกา ซึ่งแปลกันว่าโลกหน้า หรือต่อตายแล้ว ซึ่งที่แท้แปลว่า ในเวลาถัด ๆ ไป ก็ได้ ส่วนคำว่า ทิฏฐธมฺมิกา มีความหมาย ว่า ทันทีทันใดที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องระบุว่าในชาตินี้ ภพนี้เสมอไป.

ผู้รวบรวม มีความเห็นว่า นิพพานธาตุ ทั้งสองอย่างนี้ มีสำหรับพระอรหันต์ ที่ยัง มีชีวิตอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันเพียงแต่ว่า
พวกแรกนั้น
(สอุปา) อินทรีย์ยังรู้สึกต่อสุขและทุกข์ แม้จะไม่มีความยึดถือใน เวทนานั้น
ส่วนพวกหลังนั้น
(อนุปา) ไม่มีความ รู้สึกเป็นสุข หรือทุกข์ จึงกล่าวว่าเวทนาเป็นของ เย็น ในอัตภาพนี้ หรือในโลกนี้ ข้อนี้จะยุติ เป็นอย่างไร ผู้ศึกษาจงพิจารณาดูเองเถิด)

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์