เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปัญญา เครื่องเจาะแทงกิเลส (นิพเพธิกปัญญา) คือรู้ อริยสัจสี่ 598
 
  พหูสุต คือ ผู้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งคาถาแม้เพียงสี่บท(อริยสัจสี่) แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
  นั่นแหละควรจะเรียกว่า เป็น พหูสูตผู้ทรงธรรม.


  บัณฑิตผู้มีปัญญามาก คือ มีการศึกษา แล้วแทงตลอดซึ่งเนื้อความแห่งสัจจะนั้น
  เห็นด้วยปัญญาอยู่ ว่า
  อย่างนี้ เป็นความทุกข์ อย่างนี้เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์
  อย่างนี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
  อย่างนี้ เป็นหนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

  อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้มีการศึกษา มีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส

 
 
 

- จตุกฺก. อํ .๒๑/๒๔๑/๑๘๖

อริยสัจสี่ เป็นอารมณ์แห่ง นิพเพธิกปัญญา

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำที่กล่าวกันอยู่ว่า ‘เป็นพหูสูตผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูตผู้ทรงธรรม’ ดังนี้ นั้นเป็นได้ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระเจ้าข้า? ”

ดีจริง ดีจริง ภิกษุ ! ปัญญาของเธอเฉียบแหลม ปฏิภาณงดงาม คำถามสวยสลวย.

ภิกษุ ! เธอถามเราว่า เป็นพหูสูต ทรงธรรม กันได้ด้วยเหตุเท่าไร ดังนั้นหรือ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! เราแสดงธรรมแล้ว มากมายครบถ้วนขบวนความ เป็น สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมม์ เวทัลละ

ภิกษุ ! ผู้รู้อรรถรู้ธรรมแห่งคาถาแม้เพียงสี่บท แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นแหละควรจะเรียกว่า เป็น พหูสูตผู้ทรงธรรม “สาธุ พระเจ้าข้า !”

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า “ผู้มีการศึกษามีปัญญา เครื่องเจาะแทงกิเลส ผู้มีการศึกษามีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส” ดังนี้ นั้นเป็นได้ด้วยเหตุเท่าไรหนอพระเจ้าข้า ?”

ดีจริง ดีจริง ภิกษุ ! ปัญญาของเธอเฉียบแหลม ปฏิภาณ งดงามคำถามสวยสลวย. ภิกษุ ! เธอถามเราว่า ผู้มีการศึกษามีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส (นิพเพธิกปัญญา) เป็นกันได้ด้วยเหตุเท่าไร ดังนั้นหรือ? “อย่างนั้นพระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ภิกษุ

มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้ เป็น ความทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่งเนื้อความแห่งสัจจะนั้น เห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี

มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้ เป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่ง เนื้อความแห่งสัจจะนั้น เห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี

มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่งเนื้อความแห่งสัจจะนั้นเห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี

มีการศึกษาอยู่ว่า “อย่างนี้ เป็นหนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้ แล้วแทงตลอดซึ่งเนื้อความแห่งสัจจะนั้นเห็นด้วยปัญญาอยู่ ก็ดี

ภิกษุ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า “ผู้มีการศึกษา มีปัญญาเครื่องเจาะแทงกิเลส.” “สาธุ พระเจ้าข้า !”

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า “ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก“ ดังนี้ นั้นเป็นได้ด้วยเหตุเท่าไรหนอ พระเจ้าข้า !”

ดีจริง ดีจริง ภิกษุ ! ปัญญาของเธอเฉียบแหลม ปฏิภาณงดงามคำถามสวยสลวย. ภิกษุ ! เธอถามเราว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก เป็นกัน ได้ด้วยเหตุเท่าไร ดังนั้นหรือ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !”

ภิกษุ ! ในกรณีนี้ ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ย่อมไม่คิดไป ในทางทำตนเอง ให้ลำบากเลย ไม่คิดไปในทางทำผู้อื่นให้ลำบาก ไม่คิดไปในทางทำทั้งสอง ฝ่ายให้ลำบาก

เมื่อจะคิด ย่อมคิดอย่างเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเอง เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งสองฝ่าย คือเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงนั่นเอง. ภิกษุ ! อย่างนี้แล ชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก.

- จตุกฺก. อํ .๒๑/๒๔๑/๑๘๖.
(นิพเพธิกปัญญา ในที่นี้ เป็นคำแทนชื่อของ สัมมาทิฏฐิ จึงนำมาใส่ไว้ใน ที่นี้)

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์