เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ทักขิณาวิภังคสูตร ปาฏิปุคคลิกมี  ๑๔  อย่าง  การให้ทานให้กับบุคคลต่างๆ 597
 

การถวายทานแด่สงฆ์มี 2 แบบ
1. ปาฏิปุคคลิกทาน (มี ๑๔ อย่าง) คือการให้ทานแบบเจาะจง
(ได้อานิสงส์น้อยกว่าแบบที่2)
1.ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ  
2.ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธ
3.ผู้เป็นพระอรหันต์ 
4.ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
5.ให้ทานแก่พระอนาคามี
6.ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
7.ให้ทานแก่พระสกทาคามี
8.ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
9.ให้ทานในพระโสดาบัน
10.ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
11.ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม
12.ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล 
13.ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล
14.ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน

2. ทานถึงแล้วในสงฆ์ที่พระพุทธเจ้าเป็นประมุข (มี ๗ อย่าง) คือให้ทานกับภิกษุแบบไม่เจาะจง หรือสังฆทาน
1.ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
2.ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
3.ให้ทานในภิกษุสงฆ์
4.ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์
5.เผดียงสงฆ์ ว่าขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
6.เผดียงสงฆ์ ว่าขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน
7.เผดียงสงฆ์ ว่าขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน
(เผดียงสงฆ์ แปลว่า ญัตติ คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน)

 
 


พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๓๔๒

ทักขิณาวิภังคสูตร 

            [๗๐๖]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมี* ทรงถือผ้าห่มคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวาย อภิวาท พระผู้มีพระภาค ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอประทับนั่ง เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้หม่อมฉันกรอด้ายทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรง
อาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ ของหม่อมฉันเถิดฯ


*(นางปชาบดี-เป็นมเหสีพระองค์ใหม่ ของพระเจ้าสุทธทนะ ถัดจากพระนางสิริมหามายา พระมารดา ชายสิทธัตถะ ที่สวรรคต หลังประสูติได้ 7 วัน ทำหน้าที่ดูแลเจ้าชายฯ ต่อมาได้บวชเป็นภิกษุณีรูปแรก ในพุทธศาสนาจนสำเร็จ เป็นอรหันต์)

            [๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพ และสงฆ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมี ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้ายทอเอง ตั้งใจอุทิศ พระผู้มีพระภาค ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัย ความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉัน เถิด แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ แล พระผู้มีพระภาค ก็ตรัสกะพระนาง แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ในครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า

            ดูกรโคตรมี พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชา ทั้งอาตมภาพและสงฆ์

            [๗๐๘] มื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ ว่า 
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ ของพระนางมหา ปชาบดีโคตมี เถิด พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีอุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉา ผู้ทรงบำรุง เลี้ยง ประทานพระขีรรส แด่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ได้โปรดให้พระผู้มี พระภาคทรงดื่มเต้าพระถัน แม้พระผู้มีพระภาค ก็ทรงมีอุปการะมาก แก่พระนางมหาปชาบดี โคตมี พระนางทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ได้ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงทรงงดเว้น จากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากฐานะเป็น ที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมา คือสุรา และเมรัยได้ ทรงอาศัยพระผู้มีพระาค จึงทรงประกอบด้วย ความเลื่อมใสอย่างไม่ หวั่นไหว ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงประกอบด้วยศีลที่พระอริยะ มุ่งหมายได้ ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาค จึงเป็นผู้หมดความสงสัย ในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคา มินีปฏิปทาได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาค ก็ทรงมี พระอุปการะมากแก่พระนาง มหาปชาบดีโคตมี

            [๗๐๙] พ. ถูกแล้วๆ อานนท์ จริงอยู่บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรมด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจย เภสัชบริขาร บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว งดเว้น จากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมา คือสุรา และเมรัยได้ เราไม่กล่าวการ ที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร บุคคลอาศัยบุคคล ใด แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อย่างไม่หวั่นไหว ใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีล ที่พระอริยะมุ่งหมายได้ เราไม่กล่าว การที่บุคคล นี้ ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดีเพียงกราบไหว้ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้วเป็นผู้หมดความสงสัย ในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้ เราไม่กล่าว การที่บุคคลนี้ ตอบแทน บุคคลนี้ ด้วยดีเพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจยเภสัชบริขาร 

(โดยสรุป นางปชาบดีทอผ้าไหม ถวายพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับ เพราะเป็นการถวาย แบบเจาะจง หรือปาฏิปุคคลิกทาน จึงทรงปฏิเสธ ทั้งนี้็เพื่อให้นางฯ ได้อานิสงส์มากกว่านั้น โดยถวาย แด่ภิกษุสงฆ์ แบบไม่เจาะจง หรือสังฆทาน ซึ่งจะทำให้นางฯได้บูชาตถาคตด้วย)

(ถวายทานแด่สงฆ์แบบที่ 1)


ปาฏิปุคคลิกมี  ๑๔  อย่าง

            [๗๑๐]  ดูกรอานนท์ ก็ ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี  ๑๔  อย่าง คือ 
ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๑ 
ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒ 

ให้ทานในสาวกของตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่  ๔

ให้ทานแก่
พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕ 
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖ 

ให้ทานแก่
พระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗ 
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘ 

ให้ทานใน
พระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐

ให้ทานในบุคคลภายนอก
ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิ-ประการที่ ๑๑
ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒

ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓
ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔

            [๗๑๑]  ดูกรอานนท์ ใน  ๑๔  ประการนั้น บุคคล
ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ร้อยเท่า 
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ พันเท่า 
ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ แสนเท่า 
ให้ทานในบุคคลภายนอก ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้ แสนโกฏิเท่า
ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้ จน ประมาณไม่ได้  จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติ เพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และใน ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ

---------------------------------------------------------------------------------

(ถวายทานแด่สงฆ์แบบที่ 2)


ทานถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง
(ทักษิณาถึงแล้วในสงฆ์ ได้อานิสงส์มากกว่า ปาฏิปุคคลิค ๑๔)

            [๗๑๒]  ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ 
ให้ทานในสงฆ์ ๒ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๑ 

ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
นี้เป็นทักษิณาแล้วในสงฆ์ ประการที่

ให้ทานในภิกษุสงฆ์
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๓ 

ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์
นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่

เผดียงสงฆ์*ว่าขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่ ๕ 

เผดียงสงฆ์ ว่าขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่  

เผดียงสงฆ์ ว่าขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ ประการที่

เผดียงสงฆ์ แปลว่า ญัตติ คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน

            [๗๑๓]  ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มีผ้ากาสาวะ พันคอเป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะสงฆ์ได้ ในเหล่าภิกษุ ทุศีลนั้น ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น เราก็กล่าวว่า  มีผลนับไม่ได้ 
ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าว ปาฏิปุคคลิกทาน ว่ามีผลมากกล่าวทักษิณา ที่ถึงแล้วในสงฆ์โดย ปริยายไรๆ เลย

            [๗๑๔]  ดูกรอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่าง เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกบางอย่าง บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก บางอย่างฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ก็ไม่บริสุทธิ์ บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก

            [๗๑๕]  ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก อย่างไร ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหก เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แลทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก

            [๗๑๖]  ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก อย่างไร ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามกปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก

            [๗๑๗]  ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหก ก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร ดูกรอานนท์ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก ปฏิคาหก ก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามกอย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์

            [๗๑๘]  ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่ายปฏิคาหก อย่างไร ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม ปฏิคาหก ก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก

            ดูกรอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง

            [๗๑๙]  พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ได้ตรัสคาถา ประพันธ์ดังนี้ต่อไปอีกว่า

(๑)  ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม อย่างยิ่ง 
ให้ทานในคนทุศีล ทักษิณาของผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก  

(๒)  ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรม อย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก

(๓)  ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใส ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรม อย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผลไพบูลย์

(๔)  ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรม และผลของกรรม อย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าวทาน ของผู้นั้นแลว่ามีผลไพบูลย์

(๕)  ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรม อย่างยิ่ง ให้ทานในผู้ปราศจาก ราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย

จบ  ทักขิณาวิภังคสูตร  ที่  ๑๒

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์