เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ขันธ5 เป็นเครื่องผูกพันสัตว์ 572
 
 

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า 248

เบญจขันธ์เป็นเครื่องผูกพันสัตว์


ภิกษุ ท. ! ในโลกนี้ บุถุชน ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดใน ธรรมของ พระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นเหล่าสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งรูป โดยความเป็นตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่า มีรูป
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งรูป ว่ามีอยู่ ในตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ ในรูป บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนา
โดยความเป็นตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีเวทนา
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนา ว่ามีอยู่ในตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ในเวทนาบ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญา
โดยความเป็นตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีสัญญา
หรือ ตามเห็นพร้อม ซึ่งสัญญา ว่ามีอยู่ในตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีอยู่ในสัญญา บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลายโดยความเป็นตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีสังขาร
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย ว่ามีอยู่ในตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ใน สังขารทั้งหลาย บ้าง

ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งวิญญาณ
โดยความเป็นตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตน ว่ามีวิญญาณ
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งวิญญาณ ว่ามีอยู่ในตน
หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาณ บ้าง

ภิกษุ ท. ! บุถุชนผู้ไม่ได้ยินได้ฟังนี้ เราเรียกว่า
ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน คือรูปบ้าง
ผู้ถูกผูกพันด้วย เครื่องผูกพัน คือเวทนาบ้าง
ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน คือสัญญาบ้าง
ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน คือสังขารทั้งหลายบ้าง
ผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพัน คือวิญญาณบ้าง

เป็นผู้ถูกผูกพันด้วยเครื่องผูกพันทั้งภายในและภายนอก
เป็นผู้ไม่เห็นฝั่งนี้ (คือวัฏฏสงสาร) เป็นผู้ไม่เห็นฝั่งโน้น (คือนิพพาน) 
เกิดอยู่อย่างผู้มีเครื่องผูกพัน
 แก่อยู่อย่างผู้มีเครื่องผูกพันตายอยู่อย่างผู้มีเครื่องผูกพัน จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นอย่างผู้มีเครื่องผูกพันแล

เรียกกันว่า “สัตว์” เพราะติดเบญจขันธ์ 

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! คนกล่าวกันว่า‘สัตว์สัตว์’ ดังนี้ เขากล่าวกันว่า สัตว์ เช่นนี้มีความหมายเพียงไร ? พระเจ้าข้า”

ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน)ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใด ๆ มีอยู่ในรูป สัตว์ ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า สัตว์ (ผู้ข้องติด) ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในเวทนา สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในเวทนานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้นสัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสัญญา สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสัญญานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น  เพราะฉะนั้นสัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น  เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้

ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในวิญญาณ สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติด ในวิญญาณนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้นสัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้แล

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์