เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ขันธ์5 ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน 570
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
รูป เวทนา สัญญา สังขาร เป็น สมุทยธรรม (มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา)
เป็นวยธรรม (มีความเสื่อมเป็นธรรมดา)
และเป็นนิโรธธรรม (มีความดับเป็นธรรมดา)

(เกิด-เสื่อม-ดับ)

 
 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น หน้า 233

ขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์)ไม่เที่ยง
 

ภิกษุ ท. ! รูป เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! เวทนา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สัญญา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้
ภิกษุ ท. ! วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ แล

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! คนกล่าวกันว่า สมุทยธรรม สมุทยธรรม (มีความก่อขึ้นเป็นธรรมดา) ดังนี้ ก็ สมุทยธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า? พระเจ้าข้า!”

ราธะ ! รูป เป็นสมุทยธรรม เวทนา เป็นสมุทยธรรม, สัญญาเป็นสมุทยธรรม สังขารทั้งหลาย เป็นสมุทยธรรม และวิญญาณ เป็นสมุทยธรรม แล

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า วยธรรมวยธรรม (มีความเสื่อมเป็นธรรมดา) ดังนี้  ก็ วยธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า !”

ราธะ ! รูป เป็นวยธรรม, เวทนา เป็นวยธรรมสัญญา เป็นวยธรรมสังขารทั้งหลาย เป็นวยธรรม และวิญญาณ เป็นวยธรรม แล.

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า นิโรธธรรม  นิโรธธรรม (มีความดับเป็นธรรมดา) ดังนี้ ก็ นิโรธธรรมนั้นเป็นอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า ! ”

ราธะ ! รูป เป็นนิโรธธรรม เวทนา เป็นนิโรธธรรม สัญญาเป็นนิโรธธรรม สังขารทั้งหลาย เป็นนิโรธธรรม และวิญญาณ เป็นนิโรธธรรม แล

ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง, สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา(เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา (น เมโส อตฺตา) ” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! เวทนา ไม่เที่ยง, สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เรา(เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา (น เมโส อตฺตา) ” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สัญญา ไม่เที่ยง, สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง, สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ไม่เที่ยง, สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา สิ่งใด เป็นอนัตตา พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า “นั่น ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา” ดังนี้ แล.


เหตุปัจจัยของเบญจขันธ์ก็ไม่เที่ยง


ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง, ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของรูปก็ไม่เที่ยง รูป ที่เกิดจาก เหตุปัจจัย อันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! เวทนา ไม่เที่ยง, ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของเวทนา ก็ไม่เที่ยง เวทนา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

ภิกษุ ท. ! สัญญา ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของ สัญญา ก็ไม่เที่ยง สัญญา ที่เกิดจากเหตุปัจจัย อันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร 

ภิกษุ ท. ! สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของ สังขารทั้งหลาย ก็ไม่เที่ยง สังขาร ที่เกิดจากเหตุปัจจัยอันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร  

ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ไม่เที่ยง ถึงแม้เหตุ แม้ปัจจัย เพื่อการบังเกิดขึ้นของวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง วิญญาณ ที่เกิดจากเหตุปัจจัยอันไม่เที่ยงแล้ว จักเป็นของเที่ยงได้อย่างไร

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์