เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  รู้อริยสัจสี่ ยังดีกว่าถูกแทงด้วยหอกวันละ 300 เล่ม ตลอด 100 ปี 565
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
เพราะเหตุว่า สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้น และที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว
ดังนั้น เบื้องต้นและที่สุด แห่งการประหาร ด้วยหอก ด้วยดาบ ด้วยหลาว ด้วยขวาน
ก็จะไม่ ปรากฏนี้ฉันใด


 
 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า 99

การรู้อริยสัจควรแลกเอา แม้ด้วยการถูกแทงด้วยหอก
วันละ ๓๐๐ ครั้ง ๑๐๐ ปี


ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวกะบุรุษผู้มีชีวิตร้อยปี อย่างนี้ว่า “เอาไหมล่ะ ท่านบุรุษผู้เจริญ ! เขาจักแทงท่าน ด้วยหอก ร้อยเล่ม ตลอดเวลาเช้า ร้อยเล่มตลอดเวลาเที่ยง ร้อยเล่มตลอดเวลาเย็น 

ท่านบุรุษ-ผู้เจริญ ! เมื่อเขาแทงท่านอยู่ด้วยหอกสามร้อยเล่มทุกวัน ๆ จนมีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่ร้อยปี โดยล่วงไปแห่งร้อยปีแล้ว ท่านจักรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ที่ท่านยัง ไม่รู้เฉพาะแล้ว” ดังนี้

ภิกษุ ท. ! กุลบุตรผู้รู้ซึ่งประโยชน์ ควรจะตกลง ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุว่า สังสารวัฏนี้มีเบื้องต้น และที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว ดังนั้น เบื้องต้นและที่สุด แห่งการประหาร ด้วยหอกด้วยดาบด้วยหลาวด้วยขวาน ก็จะไม่ ปรากฏนี้ฉันใด  

ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้น เรากล่าวการรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ว่าเป็นไปกับด้วยทุกข์
กับด้วยโทมนัส ก็หามิได้ แต่เรากล่าว การรู้เฉพาะซึ่งอริยสัจทั้งสี่ ว่าเป็นไปกับด้วย สุขกับด้วย โสมนัสทีเดียว 

อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์

ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำ ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้


พุทธวจนปิฎก เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๕๑๙

สัตติสตสูตร
ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔

             [๑๗๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าว อย่างนี้ กะผู้มีชีวิตอยู่ร้อยปีว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ชนทั้งหลาย จักเอาหอกร้อยเล่ม ทิ่มแทงท่าน ในเวลาเช้า ...ในเวลาเที่ยง ... ในเวลาเย็น

ท่านนั้นถูกเขาเอาหอกสามร้อยเล่ม ทิ่มแทงอยู่ทุกวันๆ มีอายุร้อยปีมีชีวิตอยู่ร้อยปี จักตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้โดยล่วงร้อยปีไป

กุลบุตรผู้เป็นไปในอำนาจแห่งประโยชน์ควรจะรับเอา ข้อนั้นเพราะเหตุไร? 

เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้น ที่สุด แห่งการประหารด้วยหอก ดาบ หลาว และขวานย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด

ก็ข้อนี้พึงมีได้ฉันนั้นว่า ก็เราไม่กล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยทุกข์ โทมนัส แต่เรากล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยสุข โสมนัส

อริยสัจ ๔ เป็นไฉน?  คือ ทุกขอริยสัจฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.  


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑

สัตติสตสูตร
ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔


             [๑๗๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าว อย่างนี้ กะผู้มีชีวิตอยู่ร้อยปีว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ชนทั้งหลาย จักเอาหอกร้อยเล่ม ทิ่มแทงท่าน ในเวลาเช้า ... ในเวลาเที่ยง ... ในเวลาเย็น

ท่านนั้นถูกเขาเอาหอกสามร้อยเล่ม ทิ่มแทงอยู่ทุกวันๆ มีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่ร้อยปี จักตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้โดยล่วงร้อยปีไป

กุลบุตรผู้เป็นไปในอำนาจ แห่งประโยชน์ควรจะรับเอา ข้อนั้นเพราะเหตุไร?

เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นที่สุดอันบุคคลไป ตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้น ที่สุด แห่งการประหารด้วยหอก ดาบ หลาว และขวานย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด

ก็ข้อนี้พึงมีได้ฉันนั้นว่า ก็เราไม่กล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยทุกข์ โทมนัส แต่เรากล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยสุข โสมนัส

อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง กระทำความเพียร
เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์