|
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1)
หน้า 97
สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ
ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ บางคราวตกเอา โคนลง บางคราวตกเอาตอนกลางลง บางคราว ตกเอาปลายลง ข้อนี้ฉันใด
ภิกษุ ท. ! สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกแล่นไป อยู่ท่องเที่ยว ไปอยู่ ในสังสารวัฏ ก็ทำนองเดียวกัน บางคราวแล่นไป จากโลกนี้สู่โลกอื่น บางคราว แล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น เพราะความที่เขาเป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่ อริยสัจสี่อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุ ให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์อริยสัจ คือความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ อริยสัจคือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำ ให้รู้ว่า “ทุกข์ เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้น แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1)
หน้า 98
การรู้อริยสัจ รีบด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนศีรษะ
ภิกษุ ท. ! เมื่อไฟลุกโพลงๆอยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้นควรจะทำอย่างไร ?“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อไฟลุกโพลง ๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี เพื่อจะดับเสีย ซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ (เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย)”
ภิกษุ ท. ! (แม้กระนั้นก็ดี) วิญญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับเสื้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดี ที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่ แต่จะรู้สึกว่าสิ่งที่ ควรกระทำโดยยิ่งก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ขะมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ไม่ถอยหลัง)สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้เฉพาะ
อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจ คือความดับ ไม่เหลือ แห่งทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์.
ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำ ให้รู้ว่า “ทุกข์เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่ง ทุกข์ เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ ทางดำเนิน ให้ถึงความ ดับไม่เหลือ แห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้” ดังนี้
|