พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๘๒
ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน (อนุบุพพวิหาร ๙)
[๔๖๓] ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่อนุบุพพวิหาร ๙ คือ
ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย
๑. ปฐมฌาน - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน (กามดับ-ไม่คิดเรื่องกาม)
๒. ทุติยฌาน- มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ ทุติยฌาน
(มีวิตกวิจาร/เกิดปิติ เกิดสุข ในสมาธิ)
๓. ตติยฌาน - มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ อนึ่ง เป็น ผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
(จิตผ่องใส ไม่มีวิตกวิจาร)
๔. จตุตถฌาน - ที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุ จตุตถฌาน
๕. วิญญาณัญจายตนฌาน -ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ ดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ บรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน
๖.วิญญาณัญจายตนฌาน - ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำไว้ในใจ ซึ่งนานัตตสัญญาอยู่ บรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน
๗.อากิญจัญญายตนฌาน- ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะ ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
๘.เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน -ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วง วิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวงอยู่ บรรลุ เนวสัญญานาสัญญายตน ฌาน
๙. สัญญาเวทยิตนิโรธ -เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวงอยู่ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วง เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวงอยู่
ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน
[๔๖๔] ธรรม ๙ อย่างที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน ได้แก่อนุบุพพนิโรธ ๙ คือ
เมื่อเข้า ปฐมฌาน กามสัญญาดับ
เมื่อเข้า ทุติยฌาน วิตกวิจารดับ
เมื่อเข้า ตติยฌาน ปีติดับ
เมื่อเข้า จตุตถฌาน ลมอัสสาส ปัสสาสะดับ(ลมหายใจเข้า-ออก)
เมื่อเข้า อากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาดับ
เมื่อเข้า วิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาดับ
เมื่อเข้า อากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาดับ
เมื่อเข้า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนะดับ
เมื่อเข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาดับ
ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ฯ ธรรม ๙ ดังพรรณนามานี้ เป็นของจริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น อันพระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ ฯ
|