เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  สุขที่ควรกลัว และไม่ควรกลัว  557
 
สุขที่ควรกลัว คือ สุขที่เกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย

สุขที่ไม่ควรกลัว คือ สุขจากการทำสมาธิ เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน...
เรียกว่าสุขอาศัยเนกขัมมะ
เป็นสุขเกิดแต่ความ สงัดเงียบ
 
 
 


อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคนำ (ตอน1) หน้า11 (ภาคนำตอน1)


สุขที่ควรกลัว และไม่ควรกลัว 

 ...ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ)ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน ข้อนั้นเรากล่าว เพราะอาศัยเหตุผลอะไรเล่า? 

ภิกษุ ท. ! กามคุณมีห้าอย่างเหล่านี้. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ?

ห้าอย่างคือ รูป ที่เห็นด้วยตา เสียง ที่ฟังด้วยหู กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก รส ที่ลิ้ม ด้วยลิ้น และโผฏฐัพพะ ที่สัมผัสด้วยกาย (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ 

ภิกษุ ท. ! สุข โสมนัสอันใดเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณห้าเหล่านี้ สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่ากามสุข อันเป็นสุขของบุถุชน เป็นสุขทางเมถุน (มิฬ๎หสุข) ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญไม่ควรทำให้มาก ควรกลัว 

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน... จตุตถฌาน...๑ แล้วแลอยู่ นี้ เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะเป็นสุขเกิดแต่ความ สงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้พร้อม เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง ควรทำให้เจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัว

คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความสุข เมื่อรู้จัก การวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายในนั้น คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยเหตุผลนี้ 



 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์