เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ธรรมมีประเภทละ ๓ 554
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้า ๑๖๓ – ๑๗๕

หมวด ๓

ธรรมมีประเภทละ ๓

          [๒๒๘] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ ๆ ที่พระผู้มีพระภาคผู้ทรง รู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเรา ทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่ชนมากเพื่อ ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และ มนุษย์ทั้งหลาย 

ธรรมมีประเภทละ ๓ ๆ เป็นไฉน

อกุศลมูล ๓ อย่าง
๑. อกุศลมูล คือ โลภะ
๒. อกุศลมูล คือ โทสะ
๓. อกุศลมูล คือ โมหะ

กุศลมูล ๓ อย่าง
๑. กุศลมูล คือ อโลภะ
๒. กุศลมูล คือ อโทสะ
๓. กุศลมูล คือ อโมหะ

ทุจริต ๓ อย่าง
๑. กายทุจริต           [ความประพฤติชั่วทางกาย]
๒. วจีทุจริต             [ความประพฤติชั่วทางวาจา]
๓. มโนทุจริต           [ความประพฤติชั่วทางใจ]

สุจริต ๓ อย่าง
๑. กายสุจริต           [ความประพฤติชอบทางกาย]
๒. วจีสุจริต             [ความประพฤติชอบทางวาจา]
๓. มโนสุจริต           [ความประพฤติชอบทางใจ]

อกุศลวิตก ๓ อย่าง
๑. กามวิตก            [ความตริในทางกาม]
๒. พยาปาทวิตก      [ความตริในทางพยาบาท]
๓. วิหิงสาวิตก        [ความตริในทางเบียดเบียน]

กุศลวิตก ๓ อย่าง
๑. เนกขัมมวิตก     [ความตริในทางออกจากกาม]
๒. อัพยาปาทวิตก  [ความตริในทางไม่พยาบาท]
๓. อวิหิงสาวิตก     [ความตริในทางไม่เบียดเบียน]

อกุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง
๑. กามสังกัปปะ       [ความดำริในทางกาม]
๒. พยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางพยาบาท]
๓. วิหิงสาสังกัปปะ   [ความดำริในทางเบียดเบียน]

กุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง
๑. เนกขัมมสังกัปปะ   [ความดำริในทางออกจากกาม]
๒. อัพยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่พยาบาท]
๓. อวิหิงสาสังกัปปะ   [ความดำริในทางไม่เบียดเบียน]

อกุศลสัญญา ๓ อย่าง
๑. กามสัญญา        [ความจำได้ในทางกาม]
๒. พยาปาทสัญญา  [ความจำได้ในทางพยาบาท]
๓. วิหิงสาสัญญา    [ความจำได้ในทางเบียดเบียน]

กุศลสัญญา ๓ อย่าง
๑. เนกขัมมสัญญา    [ความจำได้ในทางออกจากกาม]
๒. อัพยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางไม่พยาบาท]
๓. อวิหิงสาสัญญา   [ความจำได้ในทางไม่เบียดเบียน]

อกุศลธาตุ ๓ อย่าง
๑. กามธาตุ           [ธาตุคือกาม]
๒. พยาปาทธาตุ     [ธาตุคือความพยาบาท]
๓. วิหิงสาธาตุ       [ธาตุคือความเบียดเบียน]

กุศลธาตุ ๓ อย่าง
๑. เนกขัมมธาตุ      [ธาตุคือความออกจากกาม]
๒. อัพยาปาทธาตุ   [ธาตุคือความไม่พยาบาท]
๓. อวิหิงสาธาตุ     [ธาตุคือความไม่เบียดเบียน]

…………………………………………………………......................................................................................………….

ธาตุอีก ๓ อย่าง
๑. กามธาตุ         [ธาตุคือกาม]
๒. รูปธาตุ           [ธาตุคือรูป]
๓. อรูปธาตุ         [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป]

ธาตุอีก ๓ อย่าง
๑. รูปธาตุ          [ธาตุคือรูป]
๒. อรูปธาตุ         [ธาตุคือสิ่งที่ไม่มีรูป]
๓. นิโรธธาตุ       [ธาตุคือความดับทุกข์]

ธาตุอีก ๓ อย่าง

๑. หีนธาตุ             [ธาตุอย่างเลว]
๒. มัชฌิมธาตุ         [ธาตุอย่างกลาง]
๓. ปณีตธาตุ           [ธาตุอย่างประณีต]
…………………………………………………………......................................................................................………….

ตัณหา ๓ อย่าง
๑. กามตัณหา       [ตัณหาในกาม]
๒. ภวตัณหา         [ตัณหาในภพ]
๓. วิภวตัณหา       [ตัณหาในปราศจากภพ]

ตัณหาอีก ๓ อย่าง

๑. กามตัณหา      [ตัณหาในกาม]
๒. รูปตัณหา         [ตัณหาในรูป]
๓. อรูปตัณหา       [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป]

ตัณหาอีก ๓ อย่าง

๑. รูปตัณหา         [ตัณหาในรูป]
๒. อรูปตัณหา       [ตัณหาในสิ่งที่ไม่มีรูป]
๓. นิโรธตัณหา     [ตัณหาในความดับสูญ] [อุจเฉททิฏฐิ]
…………………………………………………………......................................................................................………….

สัญโญชน์ ๓ อย่าง
๑. สักกายทิฏฐิ        [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
๒. วิจิกิจฉา            [ความลังเลสงสัย]
๓. สีลัพพตปรามาส  [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยอำนาจศีลพรต]

อาสวะ ๓ อย่าง
๑. กามาสวะ        [อาสวะเป็นเหตุอยากได้]
๒. ภวาสวะ          [อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น]
๓. อวิชชาสวะ     [อาสวะคือความเขลา]

ภพ ๓ อย่าง

๑. กามภพ        [ภพที่เป็นกามาวจร]
๒. รูปภพ          [ภพที่เป็นรูปาวจร]
๓. อรูปภพ        [ภพที่เป็นอรูปาวจร]

เอสนา ๓ อย่าง
๑. กาเมสนา           [การแสวงหากาม]
๒. ภเวสนา             [การแสวงหาภพ]
๓. พรหมจริเยสนา    [การแสวงหาพรหมจรรย์]

วิธา การวางท่า ๓ อย่าง
๑. เสยโยหมสฺมีติวิธา    [ถือว่าตัวเราประเสริฐกว่าเขา]
๒. สทิโสหมสฺมีติวิธา    [ถือว่าตัวเราเสมอกับเขา]
๓. หีโนหมสฺมีติวิธา       [ถือว่าตัวเราเลวกว่าเขา]

อัทธา ๓ อย่าง
๑. อดีตอัทธา        [ระยะกาลที่เป็นส่วนอดีต]
๒. อนาคตอัทธา    [ระยะกาลที่เป็นส่วนอนาคต]
๓. ปัจจุบันนอัทธา  [ระยะกาลที่เป็นปัจจุบัน]

อันตะ ๓ อย่าง
๑. สักกายอันตะ       [ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน]
๒. สักกายสมุทยอันตะ   [ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน]
๓. สักกายนิโรธอันตะ    [ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน]

เวทนา ๓ อย่าง
๑. สุขเวทนา           [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข]
๒. ทุกขเวทนา         [ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์]
๓. อทุกขมสุขเวทนา  [ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข]

ทุกขตา ๓ อย่าง
๑. ทุกขทุกขตา       [ความเป็นทุกข์เพราะทุกข์]
๒. สังขารทุกขตา     [ความเป็นทุกข์เพราะสังขาร]
๓. วิปริฌามทุกขตา  [ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน]

ราสี ๓ อย่าง
๑. มิจฉัตตนิยตราสี    [กองคือความผิดที่แน่นอน]
๒. สัมมัตตนิยตราสี    [กองคือความถูกที่แน่นอน]
๓. อนิยตราสี           [กองคือความไม่แน่นอน]

กังขา ๓ อย่าง
๑. ปรารภกาลที่ล่วงไปแล้วนานๆ แล้วสงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
๒. ปรารภกาลที่ยังไม่มาถึงนานๆแล้ว สงสัยเคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใส
๓. ปรารภกาลปัจจุบันทุกวันนี้แล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่เชื่อลงไปได้ ไม่เลื่อมใสข้อที่ไม่ต้องรักษา ของพระตถาคต ๓ อย่าง

๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมี กายสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ ประพฤติชั่วทางกาย ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึง ความประพฤติชั่วทางกายของเรานี้ ดังนี้

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมี วจีสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ ประพฤติชั่วทางวาจา ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆ อย่าได้รู้ถึง ความประพฤติชั่วทางวาจาของเรานี้ ดังนี้

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย  พระตถาคตมี มโนสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ ประพฤติชั่วทางใจ ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่นๆอย่าได้รู้ถึง ความประพฤติชั่วทางใจของเรานี้ ดังนี้

กิญจนะ ๓ อย่าง
๑. ราคกิญจนะ   [เครื่องกังวลคือราคะ]
๒. โทสกิญจนะ  [เครื่องกังวลคือโทสะ]
๓. โมหกิญจนะ  [เครื่องกังวลคือโมหะ]
………………..................................................…………………………………………………………

อัคคี ๓ อย่าง
๑. ราคัคคิ      [ไฟคือราคะ]
๒. โทสัคคิ     [ไฟคือโทสะ]
๓. โมหัคคิ     [ไฟคือโมหะ]

อัคคีอีก ๓ อย่าง

๑. อาหุเนยยัคคิ      [ไฟคืออาหุเนยยบุคคล]
๒. ทักขิเณยยัคคิ     [ไฟคือทักขิเณยยบุคคล]
๓. คหปตัคคิ          [ไฟคือคฤหบดี]
………………..................................................…………………………………………………………

รูปสังคหะ ๓ อย่าง

๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป   [รูปที่เป็นไปกับด้วยการเห็น ทั้งเป็นไปกับด้วยการกระทบ]
๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป   [รูปที่ไม่มีการเห็น แต่เป็นไปกับด้วยการกระทบ]
๓. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป   [รูปที่ไม่เห็น ที่ไม่กระทบ]

สังขาร ๓ อย่าง
๑. ปุญญาภิสังขาร      [อภิสังขารคือบุญ]
๒. อปุญญาภิสังขาร    [อภิสังขารคือบาป]
๓. อเนญชาภิสังขาร    [อภิสังขารคืออเนญชา]

บุคคล ๓ อย่าง
๑. เสกขบุคคล        [บุคคลผู้ยังต้องศึกษา]
๒. อเสกขบุคคล       [บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา]
๓. เนวเสกขนาเสกขบุคคล [บุคคลผู้ยังต้องศึกษาก็ไม่ใช่ผู้ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่]

เถระ ๓ อย่าง
๑. ชาติเถระ     [พระเถระโดยชาติ]
๒. ธรรมเถระ     [พระเถระโดยธรรม]
๓. สมมติเถระ   [พระเถระโดยสมมติ]

ปุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
๑. ทานมัย     [บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน]
๒. สีลมัย       [บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล]
๓. ภาวนามัย  [บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา]

เหตุสำหรับโจทน์ ๓ อย่าง
๑. ทิฏฺเฐน   [ด้วยได้เห็น]
๒. สุเตน     [ด้วยได้ยินได้ฟัง]
๓. ปริสงฺกาย  [ด้วยความรังเกียจ]

กามอุปบัติ ๓ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่มีกามปรากฏมีอยู่ สัตว์เหล่านั้น   เมื่อกาม ปรากฏแล้ว ย่อมยัง อำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลายเช่นมนุษย์ เทพดาบางจำพวก และวินิบาตบางจำพวก ฉะนั้น นี้เป็น กามอุปบัติข้อที่หนึ่ง

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่นิรมิตกามได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นนิรมิตแล้วๆ ย่อมยังอำนาจให้เป็น ไป ในกามทั้งหลาย เช่นเทพดาเหล่านิมมานรตีฉะนั้น นี้เป็น กามอุปบัติข้อที่สอง

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ประเภทที่ผู้อื่นนิรมิตกามให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้น ย่อมยัง อำนาจให้เป็น ไปในกาม ที่ผู้อื่นนิรมิตให้แล้ว เช่นเทพดาเหล่าปรนิมมิตวสวตี ฉะนั้น นี้เป็นกามอุปบัติข้อที่สาม

สุขอุปบัติ ๓ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้นๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุขมีอยู่ เช่น พวกเทพเหล่า พรหมกายิกา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติข้อที่หนึ่ง ฯ

๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่า นั้น บางครั้ง บางคราว เปล่งอุทานว่า สุขหนอๆ ดังนี้ เช่น พวกเทพเหล่าอาภัสสรา ฉะนั้น นี้เป็นสุขอุปบัติข้อที่สอง ฯ

๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่า นั้นสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น พวกเทพเหล่าสุภกิณหา ฉะนั้นนี้เป็นสุขอุปบัติ ข้อที่สาม ฯ

………………..................................................…………………………………………………………

ปัญญา ๓ อย่าง
๑. เสกขปัญญา                [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ]
๒. อเสกขปัญญา              [ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ]
๓. เนวเสกขานาเสกขปัญญา [ปัญญาที่เป็นของพระเสขะก็ไม่ใช่ของพระอเสขะ
ก็ไม่ใช่] ฯ

ปัญญาอีก ๓ อย่าง

๑. จินตามยปัญญา      [ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด]
๒. สุตามยปัญญา       [ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง]
๓. ภาวนามยปัญญา    [ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม] ฯ

………………………….......................................................………………………………………………

อาวุธ ๓ อย่าง

๑. สุตาวุธ       [อาวุธคือการฟัง]
๒. ปวิเวกาวุธ   [อาวุธคือความสงัด]
๓. ปัญญาวุธ   [อาวุธคือปัญญา] ฯ

อินทรีย์ ๓ อย่าง
๑. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่าเราจักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้]
๒. อัญญินทรีย์      [อินทรีย์คือความตรัสรู้]
๓. อัญญาตาวินทรีย์  [อินทรีย์คือความรู้ทั่วถึง] ฯ

จักษุ ๓ อย่าง
๑. มังสจักขุ   [ตาเนื้อ ตาปรกติ]
๒. ทิพพจักขุ  [จักษุทิพย์]
๓. ปัญญาจักขุ [จักษุคือปัญญา] ฯ

สิกขา ๓ อย่าง
๑. อธิศีลสิกขา   [สิกขาคือศีลยิ่ง]
๒. อธิจิตตสิกขา   [สิกขาคือจิตยิ่ง]
๓. อธิปัญญาสิกขา  [สิกขาคือปัญญายิ่ง] ฯ

ภาวนา ๓ อย่าง
๑. กายภาวนา [การอบรมกาย]
๒. จิตตภาวนา   [การอบรมจิต]
๓. ปัญญาภาวนา  [การอบรมปัญญา] ฯ

อนุตตริยะ ๓ อย่าง

๑. ทัสสนานุตตริยะ  [ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม]
๒. ปฏิปทานุตตริยะ  [ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม]
๓. วิมุตตานุตตริยะ   [ความพ้นอย่างยอดเยี่ยม] ฯ

สมาธิ ๓ อย่าง
๑. สวิตักกวิจารสมาธิ    [สมาธิที่ยังมีวิตกวิจาร]
๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ [สมาธิที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร]
๓. อวิตักกวิจารสมาธิ    [สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร] ฯ

สมาธิอีก ๓ อย่าง
๑. สุญญตสมาธิ      [สมาธิที่ว่างเปล่า]
๒. อนิมิตตสมาธิ      [สมาธิที่หานิมิตมิได้]
๓. อัปปณิหิตสมาธิ   [สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้] ฯ

โสเจยยะ ๓ อย่าง
๑. กายโสเจยยะ      [ความสะอาดทางกาย]
๒. วจีโสเจยยะ        [ความสะอาดทางวาจา]
๓. มโนโสเจยยะ      [ความสะอาดทางใจ]

โมเนยยะ ๓ อย่าง
๑. กายโมเนยยะ     [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย]
๒. วจีโมเนยยะ       [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา]
๓. มโนโมเนยยะ     [ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ] ฯ

โกสัลละ ๓ อย่าง
๑. อายโกสัลละ      [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ]
๒. อปายโกสัลละ    [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม]
๓. อุปายโกสัลละ    [ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญและความ
เสื่อม]

มทะ ความเมา ๓ อย่าง
๑. อาโรคยมทะ      [ความเมาในความไม่มีโรค]
๒. โยพพนมทะ      [ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว]
๓. ชาติมทะ          [ความเมาในชาติ] ฯ

อธิปเตยยะ ๓ อย่าง
๑. อัตตาธิปเตยยะ     [ความมีตนเป็นใหญ่]
๒. โลกาธิปเตยยะ     [ความมีโลกเป็นใหญ่]
๓. ธัมมาธิปเตยยะ     [ความมีธรรมเป็นใหญ่] ฯ

กถาวัตถุ ๓ อย่าง
๑. ปรารภกาลส่วนอดีตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้วได้มีแล้วอย่างนี้
๒. ปรารภกาลส่วนอนาคตกล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังไม่มาถึงจักมีอย่างนี้
๓. ปรารภกาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้ กล่าวถ้อยคำว่ากาลส่วนที่เกิดขึ้น
เฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ ฯ

วิชชา ๓ อย่าง
๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักระลึกชาติในก่อนได้]
๒. จุตูปปาตญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักกำหนดจุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย]
๓. อาสวักขยญาณวิชชา [วิชชาคือความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป] ฯ

วิหารธรรม ๓ อย่าง

๑. ทิพยวิหาร      [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทพดา]
๒. พรหมวิหาร     [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม]
๓. อริยวิหาร       [ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ] ฯ

ปาฏิหาริยะ ๓ อย่าง
๑. อิทธิปาฏิหาริยะ        [ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์]
๒. อาเทสนาปาฏิหาริยะ  [ดักใจเป็นอัศจรรย์]
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริยะ   [คำสอนเป็นอัศจรรย์] ฯ

ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทละ ๓ ๆ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเรา ทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่ควรแก่งแย่งกันในธรรมนั้น   การที่พรหมจรรย์นี้   พึงยั่งยืนตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ ทั้งหลาย ฯ

จบหมวด ๓


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์