อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๐๕๔ กามวิตก ภิกษุทั้งหลาย ! กามวิตก (ความตริตรึกในกาม) ย่อมเกิดอย่างมีเหตุให้เกิด ไม่ใช่เกิดอย่างไม่มีเหตุให้เกิด; นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัย กามธาตุ จึงเกิด กามสัญญา เพราะอาศัย กามสัญญา จึงเกิด กามสังกัปปะ เพราะอาศัย กามสังกัปปะ จึงเกิด กามฉันทะ เพราะอาศัย กามฉันทะ จึงเกิด กามปริฬาหะ (ความเร่าร้อนเพื่อจะได้กาม) เพราะอาศัย กามปริฬาหะ จึงเกิด กามปริเยสนา (การแสวงหากาม) ภิกษุทั้งหลาย ! บุถุชนผู้ไม่มีการสดับ เมื่อแสวงหาอยู่อย่างแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดยฐานะสาม คือ โดยกาย โดยวาจา โดยใจ. …………………………………………......................................................................................………………… พระไตรปิฎก ไทย เล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๔ กุศล-อกุศล อกุศลวิตก ๓ อย่าง ๑. กามวิตก [ความตริในทางกาม] ๒. พยาปาทวิตก [ความตริในทางพยาบาท] ๓. วิหิงสาวิตก [ความตริในทางเบียดเบียน] กุศลวิตก ๓ อย่าง ๑. เนกขัมมวิตก [ความตริในทางออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทวิตก [ความตริในทางไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาวิตก [ความตริในทางไม่เบียดเบียน] …………………………………………......................................................................................………………… อกุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง ๑. กามสังกัปปะ [ความดำริในทางกาม] ๒. พยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางพยาบาท] ๓. วิหิงสาสังกัปปะ [ความดำริในทางเบียดเบียน] กุศลสังกัปปะ ๓ อย่าง ๑. เนกขัมมสังกัปปะ [ความดำริในทางออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาสังกัปปะ [ความดำริในทางไม่เบียดเบียน] …………………………………………......................................................................................………………… อกุศลสัญญา ๓ อย่าง ๑. กามสัญญา [ความจำได้ในทางกาม] ๒. พยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางพยาบาท] ๓. วิหิงสาสัญญา [ความจำได้ในทางเบียดเบียน] กุศลสัญญา ๓ อย่าง ๑. เนกขัมมสัญญา [ความจำได้ในทางออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทสัญญา [ความจำได้ในทางไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาสัญญา [ความจำได้ในทางไม่เบียดเบียน] …………………………………………......................................................................................………………… อกุศลธาตุ ๓ อย่าง ๑. กามธาตุ [ธาตุคือกาม] ๒. พยาปาทธาตุ [ธาตุคือความพยาบาท] ๓. วิหิงสาธาตุ [ธาตุคือความเบียดเบียน] กุศลธาตุ ๓ อย่าง ๑. เนกขัมมธาตุ [ธาตุคือความออกจากกาม] ๒. อัพยาปาทธาตุ [ธาตุคือความไม่พยาบาท] ๓. อวิหิงสาธาตุ [ธาตุคือความไม่เบียดเบียน]