เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ลักษณะของบุคคล สี่ประเภท 551
 

1. กายออก - จิตไม่ออก 
    กายออกจากเรือนไปสู่ป่า แต่จิตคิดในสิ่งที่เป็นกุศล (จิตยังอยู่กับกุศล)
2. กายไม่ออก - จิตออก 

    กายอยู่บ้านอยู่ในเรือน(ไม่ออกไปไหน) แต่จิตออกจากกาย ไปคิดในสิ่งที่เป็นอกุศล
3. กายไม่ออก - จิตไม่ออก 
    กายอยู่บ้านอยู่ในเรือน แต่จิตคิดในสิ่งที่เป็นกุศล
4. กายออก - จิตออก

    กายออกจากเรือนไปสู่ป่า แต่จิตก็ไม่คิดในสิ่งที่เป็น อกุศล
----------------------------------------------------------------------
กายออก คือ ออกสู่ป่าเสพเสนาสนะ
กายไม่ออก คือ ไมเสพเสนาสนะ (อยู่เรือน)
จิตออก คือ คิดละกาม พยายาท เบียดเบียน (ไม่คิดเรื่องกาม...)
จิตไม่ออก คือ ครุ่นคิดแต่ กาม พยายาท เบียดเบียน (ไม่คิดละ...)

ความสำคัญอยู่ที่ จิตต้องออก หมายถึง ออกจากความคิดในกาม พยาบาท เบียดเบียน
 
 
 


จากหนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 145

ลักษณะของบุคคลสี่ประเภท

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๕-๑๘๖/๑๓๘.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก. 
๔ จำพวกเป็นอย่างไรคือ 
(๑) บุคคลมีกายออกไปแล้ว มีจิตยังไม่ออก 
(๒) บุคคลมีกายยังไม่ออก มีจิตออกไปแล้ว 
(๓) บุคคลมีกายยังไม่ออกด้วย มีจิตยังไม่ออกด้วย 
(๔) บุคคลมีกายออกไปแล้วด้วย มีจิตออกไปแล้วด้วย

(๑) ภิกษุทั้งหลาย. ก็บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้ว มีจิตยังไม่ออกไป เป็นอย่างไร บุคคลบางคน ในโลกนี้ เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและราวป่า
เขาตรึกถึง กามวิตก บ้าง
(ตริตรึกถึงกาม)
ตรึกถึง พยาบาทวิตก บ้าง
(ตริตรึกถึงการพยาบาท)
ตรึกถึง วิหิงสาวิตก บ้าง
(ตริตรึกถึงการเบียดเบียน) ในเสนาสนะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้วมี จิตยังไม่ออกอย่างนี้แล

(๒) ภิกษุทั้งหลาย. ก็บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกไป มีจิตออกไป เป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและราวป่า
เขาตรึกถึง เนกขัมมวิตก บ้าง (ไม่คิดเรื่องกาม)
อัพยาบาทวิตก บ้าง
(ไม่คิดปองร้าย)
อวิหิงสาวิตก บ้าง
(ไม่คิดเบียดเบียน) ในที่นั้น.
ภิกษุทั้งหลาย. บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกไป มีจิตออกไปแล้วอย่างนี้แล 

(๓) ภิกษุทั้งหลาย. ก็บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกด้วย มีจิตยังไม่ออกด้วย เป็นอย่างไรบุคคลบางคน ในโลกนี้ ไม่เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและราวป่า เขาตรึกถึง กามวิตก บ้าง (ตริตรึกเรื่องกาม)
ตรึกถึง พยาบาทวิตก บ้าง
(ตริตรึกถึงการพยาบาท)
ตรึกถึง วิหิงสาวิตก บ้าง
(ตริตรึกถึงการเบียดเบียน)
ภิกษุทั้งหลาย. บุคคลเป็นผู้มีกายยังไม่ออกด้วย มีจิตยังไม่ออกด้วยอย่าง นี้แล

(๔) ภิกษุทั้งหลาย.ก็บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้วด้วย มีจิตออกไปแล้วด้วย เป็นอย่างไร บุคคล บางคนในโลกนี้ เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและราวป่า เขาตรึกถึง เนกขัมมวิตก บ้าง (ไม่คิดเรื่องกาม)
อัพยาบาทวิตก บ้าง (ไม่คิดปองร้าย)
อวิหิงสาวิตก บ้าง (ไม่คิดเบียดเบียน) ในเสนาสนะนั้น.
ภิกษุทั้งหลาย. บุคคลเป็นผู้มีกายออกไปแล้วด้วย มีจิตออก ไปแล้วด้วยอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย. บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

อกุศล อกุศลวิตก
(คิดแต่เรื่อง อกุศล)
(จิตไม่ออก)
กุศลวิตก
(คิดแต่เรื่อง กุศล)
(จิตออก)
กาม
(พอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส
สัมผัส จากอายตนะทั้ง 5)
กามวิตก
(ตริตรึกในกาม
เนกขัมมวิตก
(ไม่คิดเรื่องกาม)

พยาบาท
(ปองร้าย อาฆาต
อันเกิด จากอายตนะทั้ง 5)

พยาบาทวิตก
(ตริตรึกในพยาบาท
อัพยาบาทวิตก
(ไม่คิดปองร้าย)
เบียดเบียน
(ทำร้ายทางกาย วาจา
อันเกิดจาก อายตนะทั้ง 5 )
วิหิงสาวิตก
(ตริตรึกในการเบียดเบียน)
อวิหิงสาวิตก
(ไม่คิดเบียดเบียน)


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์