เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 สมัยที่ไม่สมควร และที่สมควรกระทำความเพียร 550
 
 สมัยที่ไม่สมควรทำความเพียร
 1.เป็นคนแก่คนชรา
 2.เป็นผู้อาพาธ
 3.สมัยที่มีข้าวแพง
 4.สมัยที่มีภัย
 5.สมัยที่สงฆ์แตกกัน
สมัยที่ควรกระทำความเพียร
1.เป็นคนหนุ่ม
2. ผู้มีอาพาธน้อย
3.สมัยข้าวกล้างาม
4. มนุษย์สามัคคี
5.สงฆ์พร้อมเพรียง
 
 
 


หนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 118


สมัยที่ไม่สมควร และที่สมควรกระทำความเพียร

-บาลี ปญฺจก. อํ. ๒๒/๗๕-๗๖/๕๔.

ภิกษุทั้งหลาย.สมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียร ๕ ประการนี้.
๕ ประการเป็นอย่างไรคือ 


ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนแก่ ถูกชราครอบงำ 
นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อาพาธ ถูกพยาธิครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีข้าวแพง ข้าวกล้าเสียหาย มีบิณฑบาตหาได้ยาก ไม่สะดวกที่จะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการแสวงหาบิณฑบาตนี้ เป็นสมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๓

อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีภัย มีความกำเริบในป่าดง ชาวชนบทพากัน ขึ้นยานพาหนะอพยพไปนี้ เป็นสมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์แตกกัน ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการ ด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน มีการใส่ร้ายกันและกัน มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้น ย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใส ย่อมเป็นอย่างอื่นไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควร กระทำ ความเพียรข้อที่ ๕.

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล.สมัยที่ไม่ควรกระทำความเพียร ๕ ประการ.

ภิกษุทั้งหลาย. สมัยที่ควรกระทำความเพียร ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นอย่างไรคือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความ เป็นหนุ่ม ตั้งอยู่ในปฐมวัย นี้เป็นสมัยที่ควรกระทำความ เพียรข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุที่เผาอาหารให้ย่อยสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปาน กลาง ควรแก่การกระทำความเพียร นี้เป็นสมัยที่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๒. 

อีกประการหนึ่ง สมัยที่ข้าวกล้างามดี มีบิณฑบาตหาได้ง่าย สะดวกที่จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหา บิณฑบาตนี้เป็น สมัยที่ควร กระทำความเพียรข้อที่ ๓. 

อีกประการหนึ่ง สมัยที่พวกมนุษย์พร้อมเพรียงกัน(สามัคคีกัน) ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วย สายตาที่ประกอบด้วยความรัก นี้เป็นสมัยที่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๔. 

อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน ย่อมอยู่เป็นผาสุก.. ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อสงฆ์สมัครสมาน กัน ย่อมไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการใส่ร้ายกันและกัน ไม่มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้น ย่อมเลื่อมใส และคนที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป นี้เป็นสมัยที่ควรกระทำความเพียรข้อที่ ๕.

ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล สมัยที่ควรกระทำความเพียร ๕ ประการ.





 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์