เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อานิสงส์ของกายคตาสติ (นัยที่ ๒) 545
 
 

หนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 137

อานิสงส์ของกายคตาสติ (นัยที่ ๒)

-บาลี เอก. อํ. ๒๐/๕๗–๖๐/๒๓๓-๒๔๖.

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไปในส่วนวิชชา ย่อมหยั่ง ลงในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทร อันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่ง ซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ กทาคา มิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อรหัตตผลให้แจ้ง ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ. 

ภิกษุทั้งหลาย. ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทา คามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำ อนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอรหัตตผลให้แจ้ง 

ภิกษุทั้งหลาย. เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส

ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

ภิกษุทั้งหลาย. ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ได้ปัญญา
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี ปัญญาชำแรกกิเลส

ภิกษุทั้งหลาย.ชนเหล่าใด ไม่บริโภคกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ย่อมไม่บริโภคอมตะ 

ภิกษุทั้งหลาย.ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ.

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชนเหล่าใด ไม่บริโภคแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น ไม่บริโภคแล้ว ภิกษุทั้งหลาย.

กายคตาสติอันชน เหล่าใด บริโภคแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว. 

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติของชนเหล่าใด เสื่อมแล้ว
อมตะของชนเหล่า นั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติของชนเหล่าใด ไม่เสื่อมแล้ว
อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่เสื่อมแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชนเหล่าใด เบื่อแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้น เบื่อแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติ อันชนเหล่าใด ชอบใจแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.ชนเหล่าใด ประมาทกายคตาสติ 
ชนเหล่านั้นชื่อว่า ประมาทอมตะ

ภิกษุทั้งหลาย. ชนเหล่าใด ไม่ประมาทกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ 

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชนเหล่าใด หลงลืมอมตะ
ชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชนเหล่าใด ไม่หลงลืม
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชนเหล่าใด ไม่ซ่องเสพแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ซ่องเสพแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชนเหล่าใด ซ่องเสพแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นซ่องเสพแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใด ไม่เจริญแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใด เจริญแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใด ไม่ทำให้มากแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใด ทำให้มากแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใด ไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใด รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใด ไม่กำหนดรู้แล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันชนเหล่าใด กำหนดรู้แล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนดรู้แล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใด ไม่ทำให้แจ้งแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย.กายคตาสติอันชนเหล่าใด ทำให้แจ้งแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว





 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์