เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อานิสงส์ของกายคตาสติ (นัยที่ ๑) 544
 
 

หนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 136

 อานิสงส์ของกายคตาสติ (นัยที่ ๑)

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๒๑๐-๒๑๕/๓๐๖-๓๑๗.

…เมื่อภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วในธรรมนั้นอยู่อย่างนี้ ย่อมละความระลึก และความดำริอันอาศัยเรือนเสียได้ เพราะละความระลึกและ ความดำรินั้นได้ จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ในภายในนั่น เทียว ภิกษุทั้งหลาย.แม้อย่างนี้ ภิกษุนั้นก็ชื่อว่า เจริญกายคตาสติ

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุ นั้น 

ภิกษุทั้งหลาย. เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่ง ถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อย สายใด สายหนึ่งซึ่งไหลไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภาย ในของผู้นั้น ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้น เหมือนกัน 

กายคตาสติ อันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใด อย่างหนึ่ง อันเป็นส่วนแห่งวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่เจริญ ไม่กระทำให้มากแล้ว มารย่อมได้ช่อง ย่อมได้โอกาส…

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มารย่อมไม่ได้ช่อง ย่อมไม่ได้โอกาส…

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เธอย่อมบรรลุถึงความเป็นผู้สามารถ ในธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งเธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งนั้นๆ ได้ ในเมื่อมีสติเป็นเหตุ 

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้ว ทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้ เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอ ดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ 

(๑) เป็นผู้อดกลั้นต่อความไม่ยินดี และความยินดีได้ ไม่ถูกความไม่ยินดีครอบงำ ย่อมครอบงำ ความไม่ยินดี ที่เกิดขึ้นแล้วได้. 

(๒) เป็นผู้อดกลั้นต่อภัย และความหวาดกลัวได้ ไม่ถูกภัยและความหวาดกลัว ครอบงำ ย่อมครอบงำ.ภัยและความหวาดกลัว ที่เกิดขึ้น แล้วได้. 

(๓) เป็นผู้มีปกติอดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ สัตว์เสือกคลาน ต่อ ทำนองคำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย เป็นผู้อดทนต่อเวทนาประจำสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ ชอบใจ พอจะสังหารชีวิตได้. 

(๔) เป็นผู้ได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร. 

(๕) ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ … ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้. 

(๖) ย่อมฟังเสียงทั้งสอง คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและ ที่ใกล้ได้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์. 

(๗) ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ด้วยใจ … หรือจิตยังไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตยังไม่หลุดพ้น. 

(๘) ย่อมระลึกถึงขันธ์ ที่เคยอยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอันมาก … พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยอาการอย่างนี้. 

(๙) ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ … ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยอาการอย่างนี้.

(๑๐) ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย. กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้ว ทำให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่ง สมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการได้ ดังนี้.

(วิธีการปฏิบัติที่ตถาคตจัดเป็นกายคตาสติ มีค่อนข้างมาก เช่น การเจริญอานาปานสติ, การเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ, การพิจารณาอสุภะ, การพิจารณาโดยความเป็นธาตุ, การเจริญฌานทั้ง ๔ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ตรัสถึงอุปมาต่างๆ ไว้ด้วย ผู้อ่านสามารถศึกษา รายละเอียด ได้จากความเต็มของพระสูตรนี้)







 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์