เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 เวทนา ๑๐๘ (นัยที่ ๑) 539
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

เวทนา ประกอบด้วย
เวทนา ๒ / เวทนา ๓ /เวทนา ๔./ เวทนา ๕. /เวทนา ๖. /เวทนา ๑๘/ เวทนา ๓๖ / เวทนา ๑๐๘


 
 
 


จากหนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 59-60


เวทนา ๑๐๘ (นัยที่ ๑)

-บาลี ม. ม. ๑๓/๙๔-๙๖/๙๘-๙๙.


นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ได้กล่าวกับท่านพระอุทายีว่าท่านพระอุทายี พระผู้มีพระภาค ตรัสเวทนาไว้เท่าไร.

ท่านพระอุทายีตอบว่า คหบดีพระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา คหบดี พระผู้มีพระภาคตรัส เวทนาไว้ ๓ ประการดังนี้

ข้าแต่ท่านพระอุทายี. พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา เพราะอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระ ภาคตรัสไว้ในสุขอันสงบ อันประณีตแล้ว

ท่านพระอุทายีได้กล่าวคำเดิมเป็นครั้งที่ ๒ และนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ก็ได้กล่าวยืนยันคำของตัวเอง เป็นครั้งที่ ๒ 

ท่านพระอุทายีได้กล่าวคำเดิมเป็นครั้งที่ ๓ และนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ได้กล่าวยืนยันคำของตัวเอง เป็นครั้งที่ ๓ 

ท่านพระอุทายีไม่สามารถจะให้นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะยินยอมได้ นายช่างไม้ชื่อปัญจะกังคะก็ไม่สามารถ จะให้ท่าน พระอุทายียินยอมได้.

ท่านพระอานนท์ได้สดับถ้อยคำเจรจาของ ท่านพระอุทายี กับนายช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ จึงได้กราบทูลถ้อยคำเจรจา ของ ท่านพระอุทายี กับ นายช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ ทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาค เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูล อย่างนี้ แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า 

อานนท์. นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่ยอมตามบรรยายอันมีอยู่ของพระอุทายี และ อุทายีก็ไม่ยอมตามบรรยายอันมีอยู่ของนายช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ

อานนท์. แม้เวทนา ๒ เราได้กล่าวโดยปริยาย ถึงเวทนา ๓.เวทนา ๔.(1).เวทนา ๕.เวทนา ๖.เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖. เวทนา ๑๐๘. เราก็กล่าว แล้วโดยปริยาย 

อานนท์. ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้แล ผู้ใดไม่รู้ตามด้วยดี ไม่สำคัญตามด้วยดี ไม่ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและกัน ในธรรมที่เราแสดงโดย ปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลอันนี้ คือ จักบาดหมาง ทะเลาะวิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่.

อานนท์.ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ผู้ใดรู้ตามด้วยดี สำคัญตามด้วยดี ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและกัน ในธรรมที่แสดงโดยปริยาย อย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลอันนี้ คือ จักพร้อม เพรียง บันเทิง ไม่วิวาท กัน เป็นเหมือน น้ำนม ระคนกับน้ำ แลดูกันด้วย สายตาเป็นที่รักอยู่.

(1)..บาลีฉบับมอญและอักษรโรมัน ไม่มีเวทนา ๔  -ผู้รวบรวม

เวทนา ๑๐๘ (นัยที่ ๒)

-บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๖-๒๘๘/๔๓๐-๔๓๗.

ภิกษุทั้งหลาย.เราจักแสดงธรรมปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น ก็ธรรม ปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘ เป็นอย่างไร. 

ภิกษุทั้งหลาย.โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดย ปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี.โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี. 

ภิกษุทั้งหลายก็เวทนา๒ เป็นอย่างไร เวทนา ๒ คือ 
เวทนาทางกาย เวทนาทางใจ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๒ 

ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา ๓ เป็นอย่างไร เวทนา ๓ คือ 
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ๓

ภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา ๕ เป็นอย่างไร เวทนา ๕ คือ 
อินทรีย์คือ สุข อินทรีย์คือ ทุกข์ อินทรีย์คือ โสมนัส อินทรีย์คือ โทมนัส อินทรีย์คือ อุเบกขา
 เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๕.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็เวทนา ๖ เป็นอย่างไร เวทนา๖ คือ 
เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางตา เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางหู เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางกาย เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางใจ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๖

ก็เวทนา ๑๘ เป็นอย่างไร เวทนา ๑๘ คือ 
เวทนาที่เกิดร่วมกับโสมนัส๖ เวทนาที่เกิดร่วมกับโทมนัส ๖ เวทนาที่เกิดร่วมกับอุเบกขา ๖ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๑๘.

ก็เวทนา ๓๖ เป็นอย่างไร เวทนา ๓๖ คือ 
เคหสิตโสมนัส ๖ (โสมนัสอาศัยเรือน)
เนกขัมมโสมนัส๖ (โสมนัสอาศัยการหลีกออกจากกาม)
เคหสิตโทมนัส ๖ (โทมนัสอาศัยเรือน) 
เนกขัมมสิตโทมนัส ๖ (โทมนัสอาศัยการหลีกออกจากกาม)
เคหสิตอุเบกขา๖ (อุเบกขาอาศัยเรือน)
เนกขัมมสิตอุเบกขา๖ (อุเบกขาอาศัยการหลีกออกจากกาม)
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา๓๖ 

เวทนา ๑๐๘ เป็นอย่างไร เวทนา ๑๐๘ คือ 
เวทนาที่เป็นอดีต ๓๖
เวทนาที่เป็นอนาคต ๓๖
เวทนาที่เป็นปัจจุบัน ๓๖
เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๑๐๘ 


ภิกษุทั้งหลาย.เหล่านี้แล ธรรมปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘.




 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์