หนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 50 รายละเอียดของธาตุสี่ -บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๔๓๗-๔๓๙/๖๘๔-๖๘๗. ภิกษุ. ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) เป็นอย่างไร คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี ภิกษุ. ก็ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไรได้แก่ สิ่งที่เป็นของแข็ง ของหยาบ ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เป็นของแข็ง เป็นของหยาบ ถูกต้องได้ มีในตน เฉพาะตน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายใน และ ภายนอกเหล่านี้แล ต่างก็เป็นปฐวีธาตุ ทั้งนั้น ปฐวีธาตุนั้น บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญา อันถูกต้อง ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ครั้นเห็นอยู่ ด้วยปัญญา อันถูกต้อง ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย ในปฐวีธาตุ ย่อมยังจิต ให้คลายกำหนัด ในปฐวีธาตุได้ ภิกษุ. ก็อาโปธาตุุ (ธาตุน้ำ) เป็นอย่างไร คือ อาโปธาตุภายในก็มี อาโปธาตุภายนอกก็มี ภิกษุ. ก็อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร ได้แก่ สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ ซึมซาบไป ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุ ภายใน ก็อาโปธาตุทั้งภายใน และ ภายนอกเหล่านี้แล ต่างก็เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น อาโปธาตุนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญา อันถูกต้อง ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา ครั้นเห็นอยู่ด้วยปัญญาอันถูกต้อง ตามที่เป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย ในอาโปธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกำหนัด ในอาโปธาตุได้ ภิกษุ. ก็ เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) เป็นอย่างไร คือ เตโชธาตุภายในก็มี เตโชธาตุภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างไร ได้แก่ สิ่งที่เป็นของร้อน มีลักษณะร้อน ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน คือ ไฟที่ยังกาย ให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และไฟที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว ถึงความย่อยไปด้วยดี. หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เป็นของ มีลักษณะร้อน ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโช ธาต ทั้งภายในและ ภายนอก เหล่านี้แล ต่างก็เป็น เตโชธาตุทั้งนั้น เตโชธาตุนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญา อันถูกต้องตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา ครั้นเห็นอยู่ด้วยปัญญา อันถูกต้อง ตามที่เป็นจริง อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย ในเตโชธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย กำหนัดในเตโชธาตุได้ ภิกษุ. ก็ วาโยธาตุ (ธาตุลม) เป็นอย่างไร คือ วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี.ก็วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างไร ได้แก่ สิ่งที่พัดไปมา ถูกต้องได้ มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้น เบื้องบน ลมพัดลง เบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตาม อวัยวะ น้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิดไรๆ ที่พัดไปมา ถูกต้องได้ มีใน ตน อาศัยตน นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุทั้งภายใน และ ภายนอกเหล่านี้แล ต่างก็เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น วาโยธาตุนั้นบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญา อันถูกต้อง ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ของเรา ครั้นเห็นอยู่ ด้วย ปัญญาอันถูกต้อง ตามที่เป็นจริง อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย ในวาโยธาตุ ย่อมยังจิต ให้คลาย กำหนัดในวาโยธาตุได้.