จากหนังสือ กรรม พุทธวจน อะไรคือกรรมเก่าและกรรมใหม่ ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ(ตา) โสตะ(หู) ฆานะ(จมูก) ชิวหา(ลิ้น) กายะ(กาย) มนะ (ใจ) อันเธอทั้งหลายพึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า) อภิสังขตะ (อันปัจจัย ปรุงแต่งขึ้น) อภิสัญเจตยิตะ(อันปัจจัยทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น) เวทนียะ (มีความรู้สึก ต่ออารมณ์ได้) ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากรรมเก่า ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจาด้วยใจในกาลบัดนี้อันใด อันนี้เรียกว่ากรรมใหม่ ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรมวจีกรรม มโนกรรมอันใด อันนี้เรียกว่ากัมมนิโรธ ภิกษุทั้งหลาย ! กั ม ม นิ โ ร ธ คา มิ นี ป ฏิ ป ทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ แห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า? กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่ ๑) สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) ๒) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) ๓) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) ๔) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) ๕) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) ๖) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) ๗) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) ๘) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ). ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่ากัมมนิโรธคามินี-ปฏิปทา. ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า) กรรมเก่า เราได้แสดงแล้วแก่เธอ ทั้งหลาย กรรมใหม่ เราก็แสดงแล้ว กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว กัมมนิโรธคามินี ปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว ภิกษุทั้งหลาย ! กิจใดที่ศาสดาผู้เอ็นดูแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัยความ เอ็นดูแล้วจะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง พวกเธอจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ ประมาท อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลังเลย นี่แลเป็นวาจาเครื่องพร่ำสอน ของเราแก่เธอทั้งหลาย สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗-๒๓๑.