เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ธรรมย่อมไหลไปสู่ธรรม  535
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์แล้วด้วยศีล
ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความไม่เดือดร้อนเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล
สมบูรณ์แล้วด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา


 
 
 

หนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา-พุทธวจน หัวข้อ 37


ธรรมย่อมไหลไปสู่ธรรม
 
-บาลี เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๖/๒๐๙.


ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์แล้วด้วยศีล ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอความไม่เดือดร้อนจงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ความไม่เดือดร้อนเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์แล้วด้วยศีลนี้ เป็นธรรมดา. 

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอความปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เราเถิด ภิกษุทั้งหลาย. ข้อที่ความปราโมทย์เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่มีความเดือดร้อนนี้ เป็นธรรมดา. 

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีความปราโมทย์ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดขึ้นแก่เราเถิดภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติเกิดขึ้น แก่บุคคลผู้มีความปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา. 

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบเถิด ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่กาย ของบุคคล ผู้มีใจประกอบด้วยปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีกายสงบแล้ว ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเสวยสุขเถิด. ภิกษุทั้งหลายข้อที่บุคคลผู้มีกาย สงบแล้ว เสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา. 

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีสุข ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่นเถิด..ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของบุคคลผู้มี สุข แล้วตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา. 

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตามเป็นจริงเถิด. ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วรู้เห็นตามเป็นจริงนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้รู้เห็นตามเป็นจริง ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเบื่อหน่ายเถิด.ภิกษุทั้งหลาย. ข้อที่บุคคล ผู้รู้เห็นตามเป็นจริงแล้วเบื่อหน่ายนี้ เป็นธรรมดา. 

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้เบื่อหน่าย ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงคลายกำหนัดเถิด. ภิกษุทั้งหลายข้อที่บุคคลผู้ เบื่อหน่าย แล้วคลายกำ.หนัดนี้ เป็นธรรมดา. 

ภิกษุทั้งหลาย.บุคคลผู้มีจิตคลายกำหนัดแล้ว ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะเถิด ภิกษุทั้งหลาย. ข้อที่บุคคลคลายกำหนัดแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา.

ภิกษุทั้งหลาย.

วิราคะ (หมดราคะ) มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์

นิพพิทา(ความเบื่อหน่าย) มีวิราคะ เป็นผล มีวิราคะ เป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสสนะ(เห็นตามความเป็นจริง)มีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

สมาธิ มียถาภูตญาณทัสสนะ เป็นผล มีถาภูตญาณทัสนะ เป็นอานิสงส์

สุข มีสมาธิ เป็นผล มีสมาธิ เป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ (ความสงบทางกาย-ใจ) มีสุขเป็นผล มีสุข เป็นอานิสงส์

ปีติ มีปัสสัทธิ เป็นผล มีปัสสัทธิ เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์ มีปีติ เป็นผล มีปีติ เป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์ เป็นผล มีความปราโมทย์ เป็นอานิสงส์

ศีลที่เป็นกุศล มีความไม่เดือดร้อน เป็นผล มีความไม่เดือดร้อน เป็นอานิสงส์

ด้วยประการดังนี้แล. 

ภิกษุทั้งหลาย. ธรรมย่อมไหลไปสู่ธรรม ธรรมย่อมยังธรรมให้บริบูรณ์ เพื่อการถึงฝั่ง (คือนิพพาน) จากที่อันมิใช่ฝั่ง (สังสารวัฏ) ด้วยอาการอย่างนี้แล


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์