เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ธรรมที่ควรกำหนดรู้, ควรละ, ควรทำให้เจริญ, ควรทำให้แจ้ง 533
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
พึงกำหนดรู้อุปาทานขันธ์5...
พึงละเสียอวิชชาและภวตัณหา...
พึงทำให้เจริญคือสมถะวิปัสนา...
พึงทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและวิมุติ



 
 
 


จากหนังสือ ปฏิบัติ สมถะวิปัสสนา พุทธวจน หัวข้อที่ 04-05



ธรรมที่ควรกำหนดรู้
, ควรละ, 
ควรทำให้เจริญ, ควรทำให้แจ้ง (นัยที่ ๑) 

-บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๓-๓๓๔/๒๕๔.


ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ๔ ประการเป็นอย่างไร คือ 

ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้ 
ก็มีธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย 
ก็มีธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้เจริญ 
ก็มีธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึง ทำให้แจ้งก็มี.

ภิกษุทั้งหลาย. ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ อุปาทานขันธ์ ๕  ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงกำหนดรู้

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย เป็นอย่างไร คือ อวิชชา และ ภวตัณหา
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงละเสีย 

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้เจริญ เป็น อย่างไร คือ สมถะและวิปัสสนา
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้เจริญ 

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว พึงทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร คือ วิชชาและวิมุตติ 
ภิกษุทั้งหลายนี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วย ปัญญาแล้ว พึงทำให้แจ้ง

ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล ธรรม ๔ ประการ.


ธรรมที่ควรกำหนดรู้, ควรละ, 
ควรทำให้เจริญ, ควรทำให้แจ้ง (นัยที่ ๒)

-บาลี อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๓-๕๒๖/๘๒๘-๘๓๑.

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคล
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นรูปตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง
เมื่อรู้เมื่อเห็นเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขก็ตาม อันเป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ก็ตาม ตามความเป็นจริง
เขาย่อม ไม่กำหนัดในจักษุ ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุ วิญญาณไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่กำหนัดในเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม. 

เมื่อบุคคลนั้น ไม่กำหนัดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ลุ่มหลงแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่ อุปาทานขันธ์ ๕ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อเกิดต่อไป และตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพ ใหม่ อันประกอบด้วยความ กำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินอย่างยิ่ง ในอารมณ์นั้นๆ เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความกระวนกระวายแม้ทางจิต เขาย่อมละเสียได้ความแผดเผาแม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความแผดเผาแม้ ทางจิต เขาย่อมละเสียได้

ความเร่าร้อน แม้ทางกาย เขาย่อมละเสียได้ ความเร่าร้อนแม้ทางจิตเขาย่อมละเสียได้ บุคคลนั้น ย่อมเสวยซึ่งความสุข อันเป็นไปทางกายด้วย ซึ่งความสุขอันเป็นไปทางจิต ด้วยเมื่อบุคคล เป็น เช่นนั้นแล้ว ทิฏฐิของเขา ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิ ความดำริของเขา ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ ความพยายามของเขา ย่อมเป็นสัมมาวายามะ สติของเขา ย่อมเป็นสัมมาสติ สมาธิของเขา ย่อมเป็น สัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจีกรรม และ อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์อยู่ก่อนแล้วนั่นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค ของเขานั้น ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์

เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรค ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ สติปัฏฐานทั้ง ๔
ย่อมถึงซึ่งความ เจริญบริบูรณ์ สัมมัปปธานทั้ง ๔ ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์อิทธิบาท ทั้ง ๔
ย่อมถึงซึ่งความ เจริญบริบูรณ์อินทรีย์ทั้ง ๕
ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์ พละทั้ง ๕
ย่อมถึงซึ่งความเจริญ บริบูรณ์โพชฌงค์ทั้ง ๗
ย่อมถึงซึ่งความเจริญบริบูรณ์

ธรรมทั้งสอง คือ สมถะและวิปัสสนา ของเขานั้นย่อมเป็นธรรมเคียงคู่กันไปเขา ชื่อว่า
ย่อมกำหนดรู้ซึ่งธรรมทั้งหลาย ที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละด้วยปัญญา อันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันบุคคลพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมทำให้เจริญ ด้วยปัญญา อันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันบุคคลพึงทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันบุคคล พึงทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร กล่าวคือ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูปอุปาทานขันธ์ คือเวทนาอุปาทานขันธ์ คือสัญญา อุปาทานขันธ์ คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร กล่าวคือ อวิชชาและ ภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร กล่าวคือ สมถะ และ วิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรเจริญด้วย ปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นอย่างไร กล่าวคือ วิชชา และวิมุตติ เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมที่ควรทำ ให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่ง (ในกรณีแห่งหมวด โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้อย่างเดียวกัน พึงขยายความ เอาเองให้เต็มตามนั้น)




 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์