เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ความเข้าใจผิดของชาวพุทธในเรื่องต่างๆ 530
 
 

จาก หนังสือ เดรัจฉานวิชา พุทธวจน หน้า 117

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ
 อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป 

อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป มีปรากฏในเรื่องวัฏฏังคุลีราชชาดก กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูป ไม้แก่นจันทน์แดง ของพระเจ้า ปัสเสนทิโกศล ว่า “สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหมู่ภิกษุ เสด็จ จาริกไปเพื่อ โปรดเวไนยสัตว์ที่มาเข้าข่าย คือพระญาณของ พระองค์พระเจ้าปัสเสนทิโกศล เสด็จ ไปสู่ พระเชตวัน ไม่เห็นพระศาสดาและภิกษุสงฆ์จึงเกิดความสลดพระทัยว่า ถ้าว่าพระ ผู้มีพระภาค ไม่ประทับอยู่ เราจะได้อะไร เป็นตัวแทนของพระองค์ เอาไว้กราบไหว้เมื่อกลับมา จึงดำริว่าจะสร้าง พระพุทธปฏิมา

เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับมาแล้ว จึงเข้าไปกราบทูลขออนุญาต พระผู้มีพระภาคก็ทรงอนุญาต เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็มาทูล อาราธนาพระพุทธเจ้า เสด็จไปชมพระพุทธปฏิมาแล้วทูลถามว่า ผู้ได้สร้าง พระพุทธ ปฏิมา จะได้ผลอานิสงส์อย่างไร พระศาสดา จึงตรัสบอกอานิสงส์โดยประการต่างๆว่า ผู้ที่ ได้สร้างพระพุทธปฏิมาจะเป็นบุรุษ ก็ตามสตรีก็ตามสร้าง ด้วยดิน เหนียว หรือศิลาก็ตามสร้างด้วย โลหะ และทองแดง ก็ตามสร้างด้วยไม้และสังกะสีดีบุกก็ตาม สร้างด้วยรัตนะ และเงินทองก็ ตาม ผู้นั้น จักได้อานิสงส์พ้นที่จะนับจะประมาณ

เมื่อพระพุทธปฏิมาประดิษฐานอยู่ในโลกตราบใดโลก ก็ชื่อว่าไม่ว่างเปล่าจาก พระพุทธเจ้า ตราบนั้น พระพุทธปฏิมานี้ ได้ชื่อว่า ยังพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นถาวร ผู้ที่ได้สร้าง ก็จะมีแต่ความสุขเป็น เบื้องหน้า แม้ปรารถนาผลอันใด ก็จะสำเร็จ สมปรารถนา แม้แต่พระองค์เอง

ครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ก็ได้ทำพระหัตถ์ของพระพุทธปฏิมา ที่หักให้บริบูรณ์ ด้วยดินเหนียว อานิสงส์ อันนั้น ทำให้ได้เกิด ในเทวโลกเมื่อจุติจากเทวโลก แล้วมาเกิดในเมืองมนุษย์ มีพระองคุลี เป็นอาวุธชี้ไป ทางข้าศึกศัตรูๆก็ล้มเซซวนไป ไม่ สามารถ จะสู้รบได้เมื่อตรัสดังนี้แล้วก็ทรงนำ เอา อดีตนิทานมาแสดง ในเรื่อง วัฏฏังคุลีราชกุมารผู้มีนิ้วพระหัตถ์อันวิเศษ สามารถเอาชนะข้าศึกได้ด้วย การใช้นิ้วพระหัตถ์ ชี้ใส่ ข้าศึก”.... 

วัฏฏังคุลีราชชาดกเป็นชาดกเรื่องที่๒๐ จาก๕๐ เรื่องของหนังสือปัญญาสชาดก แต่สมัยที่แต่ง ประวัติ ผู้แต่ง และสถานที่แต่ง ยังคงไม่ชัดเจนหลักฐานบางส่วน ที่เคยยอมรับกันก็เริ่มไม่เป็นที่แน่ชัดเพราะมี หลักฐาน ที่ค้นคว้าได้ ใหม่บางส่วน มาขัดแย้ง

ทัศนะที่ยอมรับกันตามที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์ไว้ใน “พระนิพนธ์คำนำ” ของปัญญาสชาดกในการ จัดพิมพ์ครั้งแรกว่า“ หนังสือ ปัญญาสชาดกนี้ คือประชุมนิทานเก่าแก่ ที่เล่า กัน ในเมือง ไทยแต่โบราณ ๕๐เรื่อง พระสงฆ์ชาว เชียงใหม่รวบรวมแต่งเป็นชาดก ไว้ในภาษา มคธ เมื่อพระพุทธศักราช ประมาณ ราวในระหว่าง ๒๐๐๐ จน ๒๒๐๐ ปี อันเปน สมัยเมื่อ พระสงฆ์ชาว ประเทศนี้ พากันไป เล่าเรียน มา แต่ลังกาทวีป การรู้ภาษามคธแตกฉานเอาแบบอย่าง ของ พระภิกษุ สงฆ์ ในลังกาทวีป มาแต่งหนังสือเปนภาษามคธ ขึ้นในบ้านเมืองของตน แต่ง เป็นอย่างอรรถา ธรรมาธิบาย ...”

นอกจากนี้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ว่า

“... หนังสือ ปัญญาสชาดก นี้ต้นฉบับเดิม เป็นคัมภีร์ลานจำนวนรวม ๕๐ ผูก ด้วยกันเดี๋ยวนี้เห็นจะมี อยู่แต่ในประเทศสยาม กับที่หัวเมืองหลวงพระบาง แลที่กรุงกัมพูชาที่อื่นหามีไม่ มีเรื่องราวปรากฏว่า เคยได้ฉบับ ไปถึงเมืองพม่า ครั้งหนึ่งพม่า เรียกว่า‘เชียงใหม่ปัณณาส’ แต่พระเจ้าแผ่นดิน พม่า องค์ใดองค์หนึ่งดำรัสว่า เป็นหนังสือแต่งปลอม พระพุทธวจนะ สั่งให้เผาเสีย ในเมืองพม่า จึงมิได้มีหนังสือ ปัญญาสชาดก เหลืออยู่ ...”

“... นิทานใน ปัญญาสชาดก เป็นนิทานที่ไทยเรารู้จักกันอยู่ซึมทราบหลายเรื่อง เช่นเรื่องสมุทโฆษ เรื่องพระสุธนนาง มโนห์รา เรื่องสังข์ทอง เรื่องพระรถเสน แลเรื่องคาวีเปนต้น ...”ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอกรมพระยา. (๒๔๖๗).

พระนิพนธ์คำอธิบาย” ในปัญญาสชาดกภาคที่๒พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.
(พิมพ์ในการกุศลงารศพ หม่อมเจ้าหญิง พร้อมเพราพรรณ 
ท.จ. ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๗).

ธานินทร์อาทิตวโร, พระมหา. (๒๕๔๖) ปัญญาสชาดกเรื่อง ๘-๒๗ : การตรวจชำระ และศึกษาเชิงวิเคราะห์.
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาบาลี 
มหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย.

นิยะดาเหล่าสุนทร. (๒๕๓๘).ปัญญาสชาดก : 
ประวัติและความสำคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย. 
กรุงเทพฯ: แม่คำผาง,

อ้างถึงในปรีชามโหสโถ, พระมหา. (๒๕๔๑).
อิทธิพลของวรรณคดีบาลีเรื่องปัญญาสชาดกที่มีต่อสังคมไทย. 
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา 
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปรีชามโหสโถ, พระมหา. (๒๕๔๑).
อิทธิพลของวรรณคดีบาลีเรื่องปัญญาสชาดกที่มีต่อสังคมไทย.
วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา 
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

หมายเหตุผู้รวบรวม
เรื่องอานิสงส์ในการสร้างพระพุทธรูป ที่ถูกแต่งขึ้นใหม่เป็นเหตุให้ขัดแย้งต่อภาษิต และบัญญัติ พระศาสดาที่ตรัสไว้ก่อน ปรินิพพานว่า พระองค์ให้ใช้ธรรม และวินัย ที่แสดงไว้ดีแล้ว เป็นศาสดาแทน ต่อไป และยังตรัสให้พึ่งตนเอง ละพึ่งธรรมะไม่ได้ ให้ไปพึ่งอย่างอื่น นอกจากนี้ได้ตรัสโทษของ การ แสดง สิ่งที่ตถาคตไม่ได้ภาษิตไว้ และไม่ได้บัญญัติไว้ว่า เป็นสิ่งที่ตถาตได้ ภาษิต ไว้ และได้บัญญัติ ไว้นั้น ย่อมทำ มหาชนให้หมดความสุข เป็นไปเพื่อความฉิบหาย แก่มหาชนคนนั้น ย่อมประสบสิ่ง ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก และชื่อว่าทำสัทธรรมของพระองค์อันตรธานไป.

เรื่องต่างๆ ที่เป็นความเข้าใจผิดของชาวพุทธ  
  ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับการฟังเทศน์มหาชาติ 122
  ความเข้าใจผิด ในพระสัมมาสัมพุทธะ เมตเตยยะ 123
  ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกรวดน้ำอุทิศบุญ 126
  ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำน้ำมนต์ 128
  ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอานิสงส์ของการสวดมนต์ 130
  บทสวดมนต์ยอดนิยมเป็นคำแต่งใหม่ 133
  บทสวดพาหุง (พุทธชัยมังคล)เป็นคำแต่งใหม่ 134
  คาถาชินบัญชร เป็นคำแต่งใหม่ 135
   
  บทสวดอภยปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 137
  บทสวดอาฏานาฏิยปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 138
  บทสวดโพชฌงคปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 139
  บทสวดชัยปริตร เป็นคำแต่งใหม่ 140
  บทสวดอุทิศบุญกุศล (ปัตติทานคาถา) เป็นคำแต่งใหม่ 141




 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์