เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เห็นจิตในจิต - จิตหลุดพ้น 527
 
1. เห็นจิตในจิต - นัยสติปัฏฐานสูตร จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ ...
2. เห็นจิตในจิต- นัยอานาปานสติสูตร เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจเข้า ...

3. จิตหลุดพ้น นัยยะ 1 เห็นขันธ์5 ว่าไม่เที่ยง
4. จิตหลุดพ้น นัยยะ 2 เห็นอายตนะภายนอก ว่าไม่เที่ยง
5. จิตหลุดพ้น นัยยะ 3 เห็นอายตนะภายใน ว่าไม่เที่ยง

6. จิตหลุดพ้นดีแล้ว เมื่อภิกษุ มนสิการถึงกามทั้งหลาย จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
7. จิตหลุดพ้นด้วยดี จิตของภิกษุเป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ ตัดรากแล้ว


 
 
 


สิ้นนันทิ สิ้นราคะ และสิ้นทุกข์

ภิกษุ ท. ! ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั่นแล ว่าไม่เที่ยง
ความเห็นเช่นนั้น เป็น สัมมาทิฏฐิ ของเธอนั้น.
(สมฺมา ปสฺสํ นิพฺพินฺทติ) เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
(นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย) เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิจึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
(ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย) เพราะความสิ้นไปแห่งราคะจึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
(นนฺทิราคกฺขยา จิตฺตํ สุวิมุตฺตนฺติ วุจฺจติ) เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี


หนังสือ จิต-มโน-วิญญาณ หน้า 90

1
เห็นจิตในจิต (นัยสติปัฏฐานสูตร)

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ เป็นอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ
จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน
จิตถึงความเป็นจิตใหญ่ (มหรคต) ก็รู้ชัดว่าจิตถึงความเป็นจิตใหญ่
หรือจิตไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ถึงความเป็นจิตใหญ่

จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่าจิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น หรือ จิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น
จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่หลุดพ้น

ด้วยอาการอย่างนี้ ที่ภิกษุเป็นผู้
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่บ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่บ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายใน และ ภายนอกอยู่บ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในจิตอยู่บ้าง
พิจารณา เห็นธรรม คือความเสื่อมในจิตอยู่บ้าง 
พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้น และความเสื่อมในจิตอยู่บ้าง
อนึ่ง สติว่าจิต มีอยู่ ก็เป็นสติที่ดำรงไว้เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่า อาศัยระลึกเท่านั้น เป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิ ไม่อาศัยอยู่ และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่


2

เห็นจิตในจิต (นัยอานาปานสติสูตร)
-บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๔๒๔/๑๔๐๓
หนังสือ จิต-มโน-วิญญาณ หน้า 92

… ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
เรา เป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต หายใจออก ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิต ให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เรา เป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิต ให้ตั้งมั่น หายใจออก ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า

เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า ว่าเราเป็นผู้ทำจิต ให้ปล่อยอยู่ หายใจออก

ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียร เผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้

ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้ มีสติอันลืมหลง แล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็น ประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌา และโทมนัสในโลก ออกเสียได้
----------------------------------------------------------------------------------------------------


3
จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๑) (เห็นขันธ์5 ว่าไม่เที่ยง)
-บาลีขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๓/๑๐๓.
หนังสือ จิต-มโน-วิญญาณ หน้า 93

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุ เห็นรูป อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง
ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อเห็น อยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไป แห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุ เห็นเวทนา อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง …
ภิกษุ เห็นสัญญา อันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง …
ภิกษุ เห็นสังขาร อันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง …

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุ เห็นวิญญาณ อันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง
ความเห็นของ เธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อเห็นอยู่ โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่ง นันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ 
เพราะความสิ้นไปแห่ง ราคะ จึงมี ความสิ้นไปแห่ง นันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ และราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งรูป โดยอุบายอันแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง แห่งรูป ตามความเป็นจริง
เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งรูป โดยอุบายอันแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง
ย่อมเบื่อหน่ายในรูป

เพราะความสิ้นไป แห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความ สิ้นไป แห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไป แห่งนันทิและราค

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่ง เวทนาโดยอุบายอันแยบคาย …
เธอทั้งหลายจงกระทำ ไว้ในใจซึ่งสัญญาโดยอุบายอันแยบคาย …
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งสังขารโดยอุบายอันแยบคาย …

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่ง วิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความ ไม่เที่ยงแห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง
เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งวิญญาณโดยอุบายอันแยบคาย
และพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงแห่ง วิญญาณตามความเป็นจริง
ย่อมเบื่อหน่าย ในวิญญาณ

เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไป แห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไป แห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี
----------------------------------------------------------------------------------------------------


4

จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๒)
(เห็นอายตนะภายในว่าไม่เที่ยง)
-บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕,๒๔๗.
หนังสือ จิต-มโน-วิญญาณ หน้า 95

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุ เห็นจักษุ อันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง
ความเห็นของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อเห็นอยู่ โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมี ความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและ ราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุ เห็นโสตะ อันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง …
ภิกษุ เห็นฆานะ อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่า ไม่เที่ยง …
ภิกษุ เห็นชิวหา อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง …
ภิกษุ เห็นกาย อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง …

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเห็น มนะ อันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง
ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อเห็นอยู่ โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมี ความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งจักษุ โดยอุบายอันแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง แห่งจักษุตามความเป็นจริง
เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งจักษุ โดยอุบายอันแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุ ตามความเป็นจริง
ย่อมเบื่อหน่ายในจักษุ

เพราะความ สิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไป แห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไป แห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งโสตะ โดยอุบายอันแยบคาย …
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจ ซึ่งฆานะ โดยอุบายอันแยบคาย …
เธอทั้งหลายจงกระทำ ไว้ในใจซึ่งชิวหาโดยอุบายอันแยบคาย …
เธอทั้งหลาย จงกระทำไว้ในใจซึ่งกายะโดยอุบายอันแยบคาย …

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่ง มนะ โดยอุบายอันแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่ง มนะ ตามความเป็นจริง
เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งมนะโดย อุบายอันแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งมนะ ตามความเป็นจริง
ย่อมเบื่อหน่ายในมนะ
เพราะความสิ้นไป แห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่ง ราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่ง นันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี
----------------------------------------------------------------------------------------------------

5
จิตหลุดพ้น (นัยที่ ๓)
(เห็นอายตนะภายนอกว่าไม่เที่ยง)
-บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๑๗๙,๑๘๐/๒๔๖,๒๔๘.
หนังสือ จิต-มโน-วิญญาณ หน้า 97

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุ เห็นรูป อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่า ไม่เที่ยง
ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมี ความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุ เห็นเสียง อันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง …
ภิกษุ เห็นกลิ่น อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่า ไม่เที่ยง …
ภิกษุ เห็นรส อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง …
ภิกษุ เห็นโผฏฐัพพะ อันไม่เที่ยงนั่นแหละว่าไม่เที่ยง …

ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเห็นธรรมอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ว่าไม่เที่ยง
ความเห็นของเธอนั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ
เมื่อเห็นอยู่ โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ จึงมี ความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งรูป โดยอุบายอันแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง แห่งรูปตามความเป็นจริง
เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่งรูป โดยอุบายอันแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป ตามความเป็นจริง
ย่อมเบื่อหน่ายในรูป

เพราะความสิ้นไป แห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความสิ้นไป แห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไป แห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่ง เสียงโดยอุบายอันแยบคาย …
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ใน ใจซึ่งกลิ่นโดยอุบายอันแยบคาย …
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ ในใจซึ่งรสโดยอุบายอันแยบคาย …
เธอทั้งหลายจงกระทำ ไว้ในใจซึ่งโผฏฐัพพะโดยอุบายอันแยบคาย …

ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงกระทำไว้ในใจซึ่งธรรม โดยอุบายอันแยบคาย
และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง แห่งธรรมตามความเป็นจริง
เมื่อภิกษุกระทำไว้ในใจซึ่ง ธรรมโดยอุบายอันแยบคาย
และพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง แห่งธรรมตามความเป็นจริง
ย่อมเบื่อหน่ายในธรรม เพราะ

ความสิ้นไปแห่งนันทิ จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ
เพราะความ สิ้นไปแห่งราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไป แห่งนันทิและราคะ

กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี
----------------------------------------------------------------------------------------------------

6

จิตที่หลุดพ้นดีแล้ว

-บาลีปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.
หนังสือ จิต-มโน-วิญญาณ หน้า 99


ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕ ประการนี้

๕ ประการอะไรบ้าง คือ

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึง กาม ทั้งหลาย จิตของเธอย่อม ไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ มนสิการถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไป ในเนกขัมมะ จิตของเธอนั้น ชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกามทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์ และความ เร่าร้อน เหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกามเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะ ทุกข์ และความ เร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวย เวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการ พรากออก แห่งกามทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการ ถึง พยาบาทจิตของเธอย่อมไม่ แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอ มนสิการถึงความไม่พยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะ พยาบาทเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจาก อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิด เพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็น การพรากออกแหง่ พยาบาท

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึง วิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่ แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอมนสิการ ถึง อวิหิงสา จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปใน อวิหิงสา จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนิน ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออก ดีแล้วจาก วิหิงสา อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิด เพราะ วิหิงสาเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้นเธอย่อม ไม่เสวยเวทนา ที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก แห่งวิหิงสา

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการ ถึงรูปทั้งหลา จิตของเธอย่อมไม่ แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอ มนสิการถึงอรูป จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในอรูป จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็น จิตดำ􀄁เนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิด เพราะรูปเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวย เวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก แห่งรูป ทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการ ถึงสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่ แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อเธอ มนสิการ ถึงความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากสักกายะ อาสวะ ทุกข์ และ ความเร่าร้อน เหล่าใด ย่อมเกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์ และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าว ว่า เป็นการพรากออกแห่งสักกายะ

ภิกษุทั้งหลาย ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินใน พยาบาทก็ดี ความเพลินใน วิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้นแก่เธอ เพราะความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลิน ในวิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ไม่บังเกิดขึ้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหา ได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะ ละมานะได้โดยชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้แล
----------------------------------------------------------------------------------------------------

7
ผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี
-บาลีทสก. อํ. ๒๔/๓๓/๒๐.
หนังสือ จิต-มโน-วิญญาณ หน้า 103

… ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบ ระงับแล้วเป็นอย่างไร

ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัส และ โทมนัส ก่อนๆ ย่อมบรรลุ จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่สติ อันบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาแล้ว แลอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีกายสังขารอันสงบระงับแล้ว เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้ว ด้วยดีเป็นอย่างไร จิตของภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เป็นธรรมชาติหลุดพ้นแล้วจากราคะ หลุดพ้นแล้วจากโทสะ หลุดพ้นแล้ว จากโมหะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีจิต อันหลุดพ้นแล้วด้วยดี เป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้ว ด้วยดีเป็นอย่างไร

ภิกษุในธรรม วินัยนี้
ย่อมรู้ชัดว่า ราคะเราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำให้ไม่มี และมีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ย่อมรู้ชัด ว่าโทสะ เราละได้แล้ว

ย่อมรู้ชัดว่าโมหะเราละได้แล้ว ตัดรากได้ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำให้ไม่มี และมีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็น ผู้มีปัญญาอันหลุดพ้นแล้วด้วยดี เป็นอย่างนี้แล


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์