เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ธชัคคสูตรที่ ๓ (วิธีป้องกันความหวาดสะดุ้งกลัว-คาถาป้องกันภัย) 522
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
อุปมาเปรียบเหมือนศึกสงคราม ทหารต้องแลดูยอดธงของฝ่ายเดียวกัน
ความกลัวก็จะหมดไป ภิกษุที่อยู่ป่าก็เช่นกันให้นึกถึงตถาคต
ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความสะดุ้งกลัวก็จะหมดไป



 
 
 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

ธชัคคสูตรที่ ๓
วิธีป้องกันความหวาดสะดุ้งกลัว-คาถาป้องกันภัย



             [๘๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่าน อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว

              [๘๖๔] พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่าง เทวดา กับ อสูร ประชิดกันแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียก เทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า
แน่ะ ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี ความ ขนพอง สยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดาผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดู ยอดธงของเรา อยู่ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป

             ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธง ของท้าวปชาบดี เทวราช เถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธง ของท้าวปชาบดี เทวราชอยู่ ความกลัว ก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวก ท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช

             ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อ พวกท่าน แลดู ยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพอง สยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธง ของท้าววรุณ เทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวก ท่าน แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงของ ท้าวสักกะผู้เป็นจอม แห่งเทวดา ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของ ท้าววรุณ เทวราช อยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ก็ดี  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้างข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุว่า ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ยังเป็นผู้ไม่ ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ ไม่ปราศจากโมหะ ยังเป็นผู้กลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่

             [๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากความ กลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดีพึงบังเกิด แก่พวกเธอผู้ไป ในป่าก็ดีอยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี

             ที่นั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่น จะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ จำแนกธรรม ดังนี้


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราอยู่ความกลัว ก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดีความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว บุคคลพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดูได้ ควรน้อมเข้าไปในตน อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตนดังนี้

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกเธอ ไม่ตามระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติ ชอบยิ่ง พระสงฆ์นั้นคือใคร ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่รวมเป็นบุรุษ บุคคลแปด

             นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมา บูชา เป็นผู้ ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี เป็นบุญเขตของ โลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึก ถึง พระสงฆ์ อยู่ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็ จักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่า พระตถาคตอรหันต สัมมา สัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปราศจากราคะปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป

             [๘๖๖] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี  อยู่ที่โคนไม้ก็ดีอยู่ในเรือนว่าง เปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย ถ้าว่าเธอ ทั้งหลาย ไม่พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้นเธอ ทั้งหลาย พึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ถ้าเธอ ทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดง ดีแล้วทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดีความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์