เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 กระดองของบรรพชิต 521
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
ทรงอุปมาเหมือนเต่าหดหัวในกระดอง ซึ่งเป็นที่ปลอดภัยของสัตว์
ภืกษุก็เช่นกัน ต้องควบคุมทวารอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ
ไม่ให้บาปอกุศคือความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้ามาได้
เมื่อนั้นมารผู้มีบาปจะทำอันตรายเธอไม่ได้
 
 
 

พุทธวจนหมวดธรรม เล่ม4 หน้า24-26 ข้อ8 บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๒/๓๒๐.

กระดองของบรรพชิต

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแต่ก่อน
เต่าตัวหนึ่งเที่ยวหากินตามริมลำธารในตอนเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ก็เที่ยวหากิน ตามริมลำธารในตอนเย็นเช่นเดียวกัน เต่าตัวนี้ได้เห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากิน (เดินเข้ามา) แต่ไกล

ครั้นแล้ว จึงหดอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ ๕ เข้าในกระดองของตนเสีย เป็นผู้ ขวนขวายน้อยนิ่งอยู่ แม้สุนัขจิ้งจอกก็ได้เห็นเต่า ตัวที่เที่ยวหากินนั้น แต่ไกลเหมือน กัน

ครั้นแล้ว จึงเดินตรงเข้าไปที่เต่า คอยช่องอยู่ว่า “เมื่อไรหนอเต่าจักโผล่อวัยวะ ส่วนใด ส่วนหนึ่งออกในบรรดาอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ ๕ แล้วจักกัดอวัยวะ ส่วนนั้น คร่าเอาออกมากินเสีย” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ตลอดเวลาที่เต่าไม่โผล่อวัยวะออกมา สุนัขจิ้งจอกก็ไม่ได้โอกาส ต้องหลีกไปเอง

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น

มารผู้ใจบาป ก็คอยช่องต่อพวกเธอทั้งหลาย ติดต่อไม่ขาดระยะอยู่เหมือนกันว่า “ถ้าอย่างไร เราคงได้ช่อง ไม่ทางตาก็ทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ” ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย

จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด

ได้เห็นรูปด้วยตา ได้ฟังเสียงด้วยหู ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้สัมผัส โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว จงอย่าได้ถือเอา โดยลักษณะ ที่เป็นการรวบถือทั้งหมด อย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการแยกถือเป็นส่วนๆ เลย

สิ่งที่เป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌา (โลภอยากได้ของเขา) และโทมนัส (ความเป็นทุกข์ใจ) จะพึงไหลไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์เหล่าใดเป็นเหตุ พวกเธอทั้งหลาย จงปฏิบัติเพื่อการปิดกั้น อินทรีย์นั้นไว้ พวกเธอทั้งหลายจงรักษาและถึงความสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เถิด

ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใด พวกเธอทั้งหลาย จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลายอยู่ ในกาลนั้น มารผู้ใจบาป จักไม่ได้ช่องแม้จากพวกเธอทั้งหลาย และจักต้องหลีกไปเอง เหมือนสุนัขจิ้งจอกไม่ได้ช่องจากเต่าก็หลีกไปเอง ฉะนั้น.

“เต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง ฉันใด ภิกษุพึงตั้งมโนวิตก (ความตริตรึกทางใจ) ไว้ในกระดอง ฉันนั้น เป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยได้ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่กล่าวร้ายต่อใครทั้งหมด เป็นผู้ดับสนิทแล้ว”

ดังนี้แล


 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์