เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อริยสัจ ๔ โดยละเอียด (มีคำของตถาคต และคำแต่งใหม่ ปะปนกัน) 490
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
อริยสัจ ๔ โดยละเอีบด...
๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ



 
 
 
  พระสูตรนี้ เป็นพระอภิธรรมปิฎก จำแนกโดยอรรถกถาจารย์
ในพระสูตรนี้มีทั่งคำสอนของพระพุทธจ้า และแต่งขึ้นมาใหม่

(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔-๔๕ เป็นพระอภิธรรมทั้งหมด
คลิก )

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์


๔. สัจจวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์

             [๑๔๔] อริยสัจ ๔ คือ
         ๑. ทุกขอริยสัจ
         ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ
         ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ

         ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

๑. ทุกขอริยสัจ

             [๑๔๕] ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน
             ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสส อุปายาสทุกข์ อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

             [๑๔๖] ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน
             ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏ แห่งขันธ์ ความได้ อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้ เรียกว่าชาติ

             [๑๔๗] ชรา เป็นไฉน
             ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนัง เหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา

             [๑๔๘] มรณะ เป็นไฉน
             ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ

             [๑๔๙] โสกะ เป็นไฉน
             ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายในความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อม โภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรคความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วย ความเสื่อม อย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า โสกะ

             [๑๕๐] ปริเทวะ เป็นไฉน
             ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำกิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกกระทบ ด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อม ทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์ อย่างใด อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ปริเทวะ

             [๑๕๑] ทุกข์ เป็นไฉน
             ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์

             [๑๕๒] โทมนัส เป็นไฉน
             ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น ทุกข์อัน เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า โทมนัส

             [๑๕๓] อุปายาส เป็นไฉน
             ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกกระทบด้วย ความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือ ความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ที่ถูกกระทบ ด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อุปายาส

             [๑๕๔] อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ เป็นไฉน
                
(** เป็นคำแต่งใหม ไม่มีในคำสอนของพระศาสดา**)

             ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความอยู่ร่วม กับอารมณ์อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคล ผู้ที่ มุ่งก่อความพินาศ มุ่งทำลายประโยชน์ มุ่งทำลายความผาสุก มุ่งทำอันตรายความเกษมจากโยคะ ของเขานี้เรียกว่า อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์

             [๑๕๕] ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ เป็นไฉน
                 (** เป็นคำแต่งใหม ไม่มีในคำสอนของพระศาสดา**)
             ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์ อันเป็นที่ ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคล ผู้ที่ใคร่แต่ความเจริญ ใคร่แต่ประโยชน์ ใคร่แต่ความสำราญ ใคร่แต่ความเกษมจากโยคะของเขา ได้แก่มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตนี้เรียกว่า ปิเยหิวิปปโยคทุกข์

             [๑๕๖] ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ เป็นไฉน
                 (** เป็นคำแต่งใหม ไม่มีในคำสอนของพระศาสดา**)
             ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดอย่าได้มา ถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง
             ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนาย่อมเกิด ขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนา ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ผู้มีความตาย เป็นธรรมดา ฯลฯ
             ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา หรือโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส อย่าได้มา ถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความ ปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง

             [๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
             รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทาน ขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

             สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ

             [๑๕๘] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน
             ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินอยู่ใน อารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

             [๑๕๙] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ตั้งอยู่ที่ไหน
             ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อ ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ ปิยรูป สาตรูป * นี้
* (ปิยรูป สาตรูป อ่าน P1380)

             ก็อะไร เป็น ปิยรูปสาตรูป ในโลก

             จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิด ที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้
(ปิยรูป คือ พอใจ - สาตรูป คือยินดี)

             รูป เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ ที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมารมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิด ที่ธัมมารมณ์นี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นี้

             จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุ วิญญาณ นี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโน วิญญาณนี้

             จักขุสัมผัส ป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลกตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโน สัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้

             จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิด ที่จักขุ สัมผัสสชา เวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัสสชา เวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนาฯลฯ กายสัมผัสสชา เวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้

             รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลกตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานี้

             รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญ เจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพ สัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้

             รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ รูปตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหาฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อเกิดก็เกิด ที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้

             รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปที่วิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูป วิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯโผฏฐัพพ วิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้

             รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิจารนี้เมื่อ ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯโผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูป สาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้
             สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ

(ปิยรูป สาตรูป อ่าน P1380)

๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ

             [๑๖๐] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน
             ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความส่งคืนความ พ้น ความไม่ติดอยู่ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว อันใด

             [๑๖๑] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อจะละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน ปิยรูปสาต รูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้

             ก็อะไร เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก

             จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุนี้ เมื่อดับก็ดับ ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนนี้ เมื่อจะดับก็ดับที่มโนนี้

             รูป เป็นปิยสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมารมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมารมณ์ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมารมณ์นี้

             จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุ วิญญาณนี้ เมื่อดับก็ ดับที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลกตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับ ที่มโน วิญญาณนี้

             จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับ ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็น ปิยรูปสาตรูปในโลกตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสนี้

             จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละ ที่จักขุสัมผัสสชา เวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัสสชา เวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯกายสัมผัสสชา เวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลกตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละ ที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้

             รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูป สัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญาฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็น ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้เมื่อจะละ ก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมสัญญานี้

             รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปสัญ เจตนานี้ เมื่อดับก็ดับ ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนาฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อดับก็ดับที่ ธัมมสัญเจตนานี้

             รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูป ตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูป สาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละ ที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมตัณหานี้

             รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิตกนี้เมื่อดับ ก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯโผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมม วิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับก็ดับ ที่ธัมมวิตกนี้

             รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิจารนี้เมื่อดับ ก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯโผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับ ที่ธัมมวิจารนี้

             สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

             [๑๖๒] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
             อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมา อาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

             [๑๖๓] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
             ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

             [๑๖๔] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
             ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริใน การไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

             [๑๖๕] สัมมาวาจา เป็นไฉน
             ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ความงด เว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา

             [๑๖๖] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
             ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความงดเว้น จากการประพฤติผิด ในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

             [๑๖๗] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
             บุคคลผู้อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้วเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมา อาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

             [๑๖๘] สัมมาวายามะ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคอง จิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อป้องกันอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ฯลฯ เพื่อละ อกุศลบาปธรรม ที่เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทำฉันทะ ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่ง กุศลธรรมที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

             [๑๖๙] สัมมาสติ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณา เห็นกายในกาย เนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ผู้ประกอบด้วย ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ฯลฯ ผู้ประกอบด้วย ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณา เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ

             [๑๗๐] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌาน ที่มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน อันยังใจให้ ผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่เพราะคายปีติได้ อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน  มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียกว่า  สัมมาสมาธิ

             สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์