เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  เรื่องชฎิล 3 พี่น้อง : ทรงแสดงฤทธิ์จนชฎิลและสาวก 1000 คนขอบวช 405
 
 

(โดยย่อ)

(พระสูตรนี้ น่าสงสัยว่า อาจเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่ (อรรถกถา)

เรื่องชฎิล 3 พี่น้อง
พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริก ถึงตำบล อุรุเวลา ได้เสด็จไปที่อาศรมของชฎิล 3 พี่น้อง ได้แก่ อุรุเวลกัสสป เป็นผู้นำ มีศิษย์ ๕๐๐ คน
นทีกัสสป เป็นผู้นำ มีศิษย์ ๓๐๐ คน
คยากัสสป เป็นผู้นำ มีศิษย์ ๒๐๐ คน

รวมศิษย์ทั้งหมด ๑,๐๐๐ คน

พระผู้มีพระภาคได้ขออาศัยในโรงโรงบูชาเพลิง(บูชาไฟ) สักหนึ่งคืน
อุรุเวลกัสสป กล่าวว่าในโรงไฟ มีพญานาค ดุร้าย เป็นอสรพิษ อาศัยอยู่ อย่าเลย มันจะทำให้ท่าน ลำบาก แม้จะปฏิเสธถึง ๓ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พญานาคจะไม่ทำให้เราลำบาก

ในโรงบูชาเพลิง
เมื่อพญานาคเห็นพระผู้มีพระภาค ก็โกรธ ไม่พอใจ จึงบังหวนควัน และพ่นไฟ พระผู้มีพระภาคได้ทรง บันดาล อิทธาภิสังขาร เข้าครอบงำเดช ทำให้พญานาคเข้ามาขดอยู่ในบาตร แต่ อุรุเวลกัสสป คิดว่า พระมหาสมณะ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ จึงครอบงำเดช ของพญานาค ที่ดุร้ายมีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ แต่พระมหาสมณะนี้ ก็ไม่เป็นพระอรหันต์ เหมือนเราแน่

จากนั้นพระผู้มีพระภาคทรงบันดาลฤทธิ์อีกหลายอย่าง ในคืนนั้นก็มีเทวดามากองค์ด้วยกัน ขอเข้าเฝ้าเพื่อฟังธรรม แต่ทุกครั้ง อุรุเวลกัสสป ก็ยอมรับ ฤทธานุภาพของพระผู้มีพระภาค แต่ก็คิดว่า ยังไม่เป็นอรหันต์เหมือนตนทุกครั้ง

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า โมฆบุรุษ นี้ได้มีความคิดมานานแล้วว่า พระมหาสมณะ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ แต่ก็ไม่เป็น พระอรหันต์เหมือนเราแน่ ถ้ากระไร เราพึงให้ชฎิล นี้สลดใจ จึงตรัสกะ ชฎิลอุรุเวล กัสสปว่า ดูกรกัสสป ท่านไม่ใช่พระอรหันต์แน่ ทั้งยังไม่พบทางแห่งความ เป็นพระอรหันต์ แม้ปฏิปทาของท่านที่จะเป็นเหตุให้เป็นพระอรหันต์ ก็ไม่มี. 

ที่นั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ซบเศียร ลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบท ต่อพระผู้มีพระภาค จากนั้น ชฎิลทั้งหมดก็ขออุปสมบท จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พร้อมกันทั้งหมด  

การแสดงปาฎิหาริย์ของพระผู้มีพระภาค รวบรวมได้ 13 ครั้ง

ครั้งที่ 1 ปราบพญานาค... ทรงปราบพญานาคที่ดุร้ายในโรงไฟ ให้เข้ามาขดไว้ในบาตร
ครั้งที่ 2 ท้าวมหาราชทั้ง 4 (เทวดาชั้นจาตุมหาราช) มีรัศมีรอบกาย เข้าเฝ้า พ.เพื่อฟังธรรม
ครั้งที่ 3 ท้าวสักกะ (เทวดาชั้นดาวดึงส์) มีรัศมีรอบกาย เข้าเฝ้า พ.เพื่อฟังธรรม…
ครั้งที่ 4 ท้าวสหัมบดีพรหม (พรหมสุทธาวาส) มีรัศมีรอบกาย เข้าเฝ้า พ.เพื่อฟังธรรม
ครั้งที่ 5 เสด็จไปทรงบาตรที่อุตรกุรุทวีป เพื่อเลี่ยงพิธีบูชายัญของชฎิลที่อาจหันมาเลื่่อมใสพระองค์
ครั้งที่ 6 ท้าวสักกะ (ชั้นดาวดึงส์) ขุดสระโบกขรณีให้พระพุทธเจ้า ชฎิลเข้าใจผิดว่าเป็นฤทธิ์ของ พ.
ครั้งที่ 7 ปาฏิหาริย์เก็บผลหว้า พ.ได้หายตัวไปปรากฏที่โรงไฟ ชฏิลแปลกใจว่า พ.มาได้อย่างไร
ครั้งที่ 8 ปาฏิหาริย์ เสด็จไปสู่ภพดาวดึงส์ ทรงเก็บดอกปาริฉัตตกะ
ครั้งที่ 9 ปาฏิหาริย์ผ่าฟืน ชฎิลเก็บฝืนเพื่อบูชาไป แต่ผ่าฝืนไม่ได้ แต่หลังจากนั้น ผ่าได้
ครั้งที่ 10 ปาฏิหาริย์ก่อไฟ ชฎิลก่อไฟไม่ได้ แต่หลังจากชฎิลอุรุเวลกัสสปเข้าเฝ้า จึงก่อได้
ครั้งที่ 11 ปาฏิหาริย์ดับไฟ ชฎิลบำเรอไฟแล้วไม่อาจดับไฟได้ แต่หลังจากพระองค์ได้ตรัสจึงก่อได้
ครั้งที่ 12 ปาฏิหาริย์กองไฟ ชฎิลลงดำน้ำในราตรีที่หนาว พ.ได้ทรงนิรมิตกองไฟไว้ให้ชฎิลได้ผิง
ครั้งที่ 13 ปาฏิหาริย์น้ำท่วม ทรงบันดาลให้น้ำห่างออกไป แล้วเสด็จจงกรมอยู่บนภาคพื้นที่มีฝุ่น

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


(พระสูตรนี้ น่าสงสัยว่าอาจเป็นคำแต่งใหม่ หรือ อรรถกถา)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๓๖

เรื่องชฎิล ๓ พี่น้อง


         [๓๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบล อุรุเวลา แล้ว. ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิล ๓ คน คือ อุรุเวลกัสสป ๑ นทีกัสสป ๑ คยากัสสป ๑ อาศัยอยู่ในตำบล อุรุเวลา.

บรรดาชฎิล ๓ คนนั้น

ชฎิลชื่อ อุรุเวลกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้าเป็น ประธาน ของชฎิล ๕๐๐ คน.

ชฎิลชื่อ นทีกัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๓๐๐ คน.

ชฎิลชื่อ คยากัสสป เป็นผู้นำ เป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๒๐๐ คน.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้เสด็จเข้าไปสู่อาศรมของชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสป แล้วได้ตรัส กะชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ใน โรงบูชาเพลิง สักคืนหนึ่ง.

อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมีพญานาค ดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลยมันจะทำให้ท่านลำบาก.

แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า
ดูกรกัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจเราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.

อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้นมี พญานาคดุร้าย มีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลย มันจะทำให้ท่านลำบาก.

แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่ชฎิลชื่ออุรุเวลกัสสปว่า
ดูกรกัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักคืนหนึ่ง.

อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ในโรงบูชาเพลิงนั้น มีพญานาคดุร้าย มีฤทธิ์เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง อย่าเลยมันจะทำให้ท่านลำบาก.
ภ. ลางทีพญานาคจะไม่ทำให้เรา ลำบาก

ดูกรกัสสป เอาเถิด ขอท่านจงอนุญาตโรงบูชาเพลิง.
อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ เชิญท่านอยู่ตามสบายเถิด.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่โรงบูชาเพลิง แล้วทรงปูหญ้าเครื่องลาด ประทับ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติมั่น.

ปราบพญานาค (ปาฏิหาริย์ที่ ๑)

              [๓๘] ครั้งนั้น ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปดังนั้น ครั้นแล้ว มีความ ขึ้งเคียด ไม่พอใจ จึงบังหวนควันขึ้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ทรงดำริว่า ไฉนหนอเราพึงครอบงำเดช ของพญานาคนี้ ด้วยเดชของตน ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูกและเยื่อใน กระดูก ดังนี้ แล้วทรงบันดาล อิทธาภิสังขาร เช่นนั้น ทรงบังหวนควันแล้ว. พญานาคนั้นทนความ ลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที. แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงเข้ากสิณสมาบัติ มีเตโชธาตุ เป็นอารมณ์ บันดาล ไฟต้านทานไว้.

เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟขึ้น โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์ เป็นเปลวเพลิงดุจไฟลุกไหม้ ทั่วไป จึงชฎิลพวกนั้น พากันล้อมโรงบูชาเพลิง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ชาวเราพระมหา สมณะ รูปงามคงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่.

ต่อมาพระผู้มีพระภาค ได้ทรงครอบงำเดชของพญานาคนั้น ด้วยเดชของ พระองค์ ไม่กระทบกระทั่งผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และเยื่อในกระดูก ทรงขดพญานาค ไว้ในบาตร โดยผ่านราตรีนั้น แล้วทรงแสดงแก่ชฎิลอุรุเวลกัสสป ด้วยพระพุทธ ดำรัสว่า

ดูกรกัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมัน ด้วยเดชของเราแล้ว จึงชฎิล อุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ จึงครอบงำเดช ของพญานาค ที่ดุร้ายมีฤทธิ์ เป็นอสรพิษ มีพิษร้ายแรง ด้วยเดชของตนได้ แต่พระ มหาสมณะนี้ ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

         [๓๙] ที่แม่น้ำเนรัญชรา  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะ ชฎิลอุรุเวลกัสสป ว่าดังนี้
ดูกรกัสสป ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขออาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิงสักวันหนึ่ง.

อุรุ. ข้าแต่มหาสมณะ ข้าพเจ้าไม่หนักใจเลย แต่ข้าพเจ้าหวังความสำราญ จึงห้ามท่าน ว่าในโรงบูชาเพลิงนั้น มีพญานาคดุร้ายมีฤทธิ์ เป็นอสรพิษมีพิษร้ายแรง อย่าเลยมันจะทำให้ท่าน ลำบาก.

ภ. ลางที พญานาคนั้นจะไม่ทำให้เราลำบาก 
ดูกรกัสสป เอาเถิดท่านจงอนุญาต โรงบูชาเพลิง.

พระผู้มีพระภาคทรงทราบ อุรุเวลกัสสปนั้น ว่าอนุญาตให้แล้ว ไม่ทรงครั่นคร้าม ปราศจากความกลัว เสด็จเข้าไป.

พญานาคเห็นพระผู้มีพระภาค ผู้แสวงคุณความดี เสด็จเข้าไป แล้วไม่พอใจ จึงบังหวนควันขึ้น.

ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ มีพระทัยดี มีพระทัยไม่ขัดเคือง ทรงบังหวน ควันขึ้น ในที่นั้น. แต่พญานาคทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้.

ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ประเสริฐ ทรงฉลาดในกสิณสมาบัติ มีเตโชธาตุ เป็นอารมณ์ ได้ทรงบันดาลไฟต้านทานไว้ในที่นั้น เมื่อทั้งสองฝ่ายโพลงไฟ ขึ้นแล้ว 
โรงบูชาเพลิงรุ่งโรจน์เป็นเปลวเพลิง. พวกชฎิลกล่าว กันว่าชาวเราพระสมณะรูปงาม คงถูกพญานาคเบียดเบียนแน่.

ครั้นราตรีผ่านไป เปลวไฟของพญานาคไม่ปรากฏ. แต่เปลวไฟสีต่างๆ ของพระผู้มี พระภาค ผู้ทรงฤทธิ์ยังสถิตอยู่. พระรัศมีสีต่างๆ คือสีเขียว สีแดง สีหงสบาท สีเหลือง สีแก้วผลึก ปรากฏที่พระกาย พระอังคีรส.

พระพุทธองค์ทรงขดพญานาคไว้ในบาตรแล้ว ทรงแสดงแก่พราหมณ์ว่า ดูกรกัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมัน ด้วยเดชของเราแล้ว.

พระรัศมีสีต่างๆ คือสีเขียว สีแดง สีหงสบาท สีเหลือง สีแก้วผลึก ปรากฏที่พระกาย พระอังคีรส. พระพุทธองค์ทรงขดพญานาคไว้ในบาตรแล้ว ทรงแสดงแก่พราหมณ์ว่า ดูกรกัสสป นี่พญานาคของท่าน เราครอบงำเดชของมัน ด้วยเดชของเราแล้ว.

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เทวดาชั้นจาตุเข้าเฝ้า (ปาฏิหาริย์ที่ ๒)

         [๔๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง ไม่ไกลจาก
อาศรมของชฎิลอุรุเวลกัสสป. 

ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เมื่อราตรีปฐมยามผ่านไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ ทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้วจึงถวายบังคม พระผู้มีพระภาค ได้ยืนเฝ้าอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ดุจกองไฟใหญ่ฉะนั้น. 

ต่อมาชฎิลอุรุเวลกัสสป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค โดยผ่านราตรีนั้น ครั้นถึงแล้ว ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้วมหาสมณะ ภัตตาหารเสร็จแล้ว
พวกนั้น คือใครกันหนอ เมื่อราตรีปฐมยามผ่านไปแล้วมีรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้น ให้สว่างไสว เข้าไปหาท่าน ครั้นถึงแล้ว อภิวาทท่าน ได้ยืนอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ดุจกองไฟ ใหญ่ฉะนั้น?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป พวกนั้นคือท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้ามาหาเรา เพื่อฟังธรรม.

ครั้งนั้นชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้
ถึงกับท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหาร ของชฎิลอุรุเวลกัสสปแล้วประทับอยู่ใน
ไพรสณฑ์ ตำบลนั้นแล.

ท้าวสักกะเทวดาพรหมเข้าเฝ้า (ปาฏิหาริย์ที่ ๓)

               [๔๑] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้ว
จึงถวายบังคม พระผู้มีพระภาค ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่งาม และประณีตกว่ารัศมี แต่ก่อน.

ต่อมาชฎิลอุรุเวลกัสสป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค โดยผ่านราตรีนั้น ครั้นถึงแล้วได้ ทูล คำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่าถึงเวลาแล้ว มหาสมณะ ภัตตาหาร เสร็จแล้ว ผู้นั้น คือใครกันหนอ  เมื่อราตรีปฐมยามผ่านไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสณฑ์ทั้งสิ้น ให้สว่างไสวเข้ามาหาท่าน ครั้นถึง แล้วอภิวาทท่าน ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่ งามและประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป ผู้นั้นคือ ท้าวสักกะจอมทวยเทพ เข้ามาหาเรา เพื่อฟังธรรม. ครั้งนั้นชฎิลอุรุกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ ถึงกับ ท้าวสักกะจอมทวยเทพเข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ก็ไม่เป็น พระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้วประทับอยู่ใน ไพรสณฑ์ ตำบลนั้นแล.

ท้าวสหัมบดีพรหม เข้าเฝ้า (ปาฏิหาริย์ที่ ๔)

              [๔๒] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม เมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว เปล่งรัศมี งาม ยังไพรสณฑ์ ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้ว จึงถวายบังคม พระผู้มีพระภาค ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่งาม
และประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน. ครั้นล่วงราตรีนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสป  ได้เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค

ครั้นถึงแล้วได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่าถึงเวลาแล้วมหาสมณะ ภัตตาหารเสร็จ แล้ว ผู้นั้นคือใครกันหนอ เมื่อราตรีปฐมยามผ่านไปแล้ว เปล่งรัศมีงาม ยังไพรสนฑ์ ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาท่าน ครั้นถึงแล้วอภิวาทท่านได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง ดุจกองไฟใหญ่งามและ ประณีตกว่ารัศมีแต่ก่อน?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป ผู้นั้นคือ ท้าวสหัมบดีพรหม เข้ามาหาเรา เพื่อฟังธรรม. ครั้งนั้นชฎิลอุรุเวลกัสสป ได้ดำริว่าพระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก
มีอานุภาพ มากแท้ ถึงกับท้าวสหัมบดีพรหมเข้ามาหาเพื่อฟังธรรม แต่ก็ไม่เป็นพระ อรหันต์ เหมือนเราแน่.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสป  แล้วประทับ อยู่ใน ไพรสณฑ์ตำบลนั้นแล

พระผู้มีพระภาค เสด็จไปอุตตรกุรุทวีป ปาฏิหาริย์ที่ ๕

              [๔๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้เตรียมการบูชายัญ เป็นการใหญ่ และประชาชนชาวอังคะ และมคธทั้งสิ้น ถือของเคี้ยวของบริโภค เป็นอันมาก บ่ายหน้ามุ่งไปหา. จึงชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า บัดนี้เราได้เตรียมการ บูชายัญเป็นการใหญ่ และประชาชนชาวอังคะ และมคธทั้งสิ้น ได้นำของเคี้ยว ของบริโภค เป็นอันมากบ่ายหน้ามุ่งมาหา ถ้าพระมหาสมณะจักทำ อิทธิปาฏิหาริย์ ในหมู่มหาชน ลาภสักการะจักเจริญยิ่งแก่พระมหาสมณะ ลาภสักการะของเรา จักเสื่อม โอ ทำไฉน วันพรุ่งนี้พระมหาสมณะจึงจะไม่มาฉัน. 

ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของ ชฎิลอุรุเวล กัสสป ด้วยพระทัยแล้ว เสด็จไปอุตตรกุรุทวีป ทรงนำบิณฑบาตมาจาก อุตตรกุรุทวีป นั้น แล้วเสวย ที่ริมสระอโนดาต ประทับกลางวันอยู่ ณ ที่นั้นแหละ.

ครั้นล่วงราตรีนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นถึงแล้ว ได้ทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคว่าถึงเวลาแล้วมหาสมณะ ภัตตาหารเสร็จแล้วเพราะเหตุ ไรหนอ วานนี้ท่านจึงไม่ มา เป็นความจริง พวกข้าพเจ้าระลึกถึงท่านว่า เพราะเหตุ ไรหนอ พระมหาสมณะจึงไม่มา แต่ส่วนแห่ง ขาทนียาหาร ข้าพเจ้าได้จัดไว้เพื่อท่าน พระผู้มีพระภาค ตรัสย้อนถามว่า 

ดูกรกัสสป ท่านได้ดำริอย่างนี้มิใช่หรือว่า บัดนี้เราได้เตรียมการบูชายัญ เป็นการใหญ่ 
และประชาชนชาวอังคะ และมคธทั้งสิ้น ได้นำของเคี้ยว และของบริโภค เป็นอันมาก บ่ายหน้ามุ่งมาหา ถ้าพระมหาสมณะจักทำอิทธิปาฏิหาริย์ ในหมู่มหาชน
ลาภสักการะ จักเจริญยิ่งแก่พระมหา สมณะ ลาภสักการะของเราจักเสื่อม โอ ทำไฉน วันพรุ่งนี้พระมหาสมณะจึงจะไม่มาฉัน 

ดูกรกัสสป เรานั้นแลทราบความปริวิตกแห่งจิต ของท่านด้วยใจ ของเรา จึงไปอุตตร กุรุทวีป นำบิณฑบาตมาจากอุตตรกุรุทวีปนั้น มาฉันที่ริมสระอโนดาต แล้วได้พัก กลางวันอยู่ ณ ที่นั้นแหละ.

ทีนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ จึงได้ทราบความคิดนึกแม้ด้วยใจได้  แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้วประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ตำบลนั้นแล.


เรื่องผ้าบังสุกุล ทรงเคลื่อนแผ่นศิลา (ปาฏิหาริย์ที่ ๖)

              [๔๔] ก็โดยสมัยนั้น ผ้าบังสุกุลบังเกิด แก่พระผู้มีพระภาค. จึงพระองค์ได้ ทรงพระดำริว่า เราจะพึงซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ. ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอม ทวยเทพ ทรงทราบพระดำริใน พระทัยของพระผู้มีพระภาค ด้วยพระทัยของพระองค์
 จึงขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ แล้วได้ทูล พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค โปรดซักผ้าบังสุกุลในสระนี้. ที่นั้นพระผู้มีพระ ภาคได้ทรงพระดำริ ว่า เราจะพึงขยำผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงทราบพระดำริ ในพระทัยของพระผู้มี พระภาค ด้วยพระทัย ของพระองค์แล้ว ได้ยกศิลาแผ่นใหญ่มาวางพลางทูลว่า พระพุทธเจ้า ข้าขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงขยำผ้าบังสุกุลบนศิลาแผ่นนี้.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่าเราจะพึงพาดผ้าบังสุกุลไว้ ณ ที่ไหนหนอ. 

ครั้งนั้นเทพยดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นกุ่มบก ทราบพระดำริในพระหทัยของพระผู้มีพระภาค ด้วยใจของตน จึงน้อมกิ่งกุ่มลงมา พลางกราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงพาดผ้าบังสุกุลไว้ที่กิ่งกุ่มนี้. 

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า เราจะผึ่งผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ. 

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงทราบพระดำริในพระหทัย ของพระผู้มี พระภาค ด้วยพระทัย ของพระองค์แล้ว ได้ยกแผ่นศิลาใหญ่มาวางไว้ พลางกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรด ทรงผึ่งผ้าบังสุกุลบนศิลาแผ่นนี้.

หลังจากนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคโดยล่วงราตรีนั้น ครั้นถึงแล้ว ได้ทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ถึงเวลาแล้วมหาสมณะ ภัตตาหารเสร็จแล้ว เพราะเหตุไรหนอ มหาสมณะ เมื่อก่อนสระนี้ไม่มีที่นี้ เดี๋ยวนี้มีสระอยู่ที่นี้ เมื่อก่อนศิลา เหล่านี้ไม่มีวางอยู่ ใครยกศิลา เหล่านี้มาวางไว้  เมื่อก่อนกิ่งกุ่มบกต้นนี้ ไม่น้อมลง เดี๋ยวนี้กิ่งนั้นน้อมลง?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป ผ้าบังสุกุลบังเกิดแก่เรา ณ ที่นี้เรานั้น ได้ ดำริว่าจะพึงซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ 

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทรงทราบความดำริในจิตของเรา ด้วยพระทัย ของพระองค์แล้ว จึงขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ แล้วตรัสบอก แก่เราว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงซักผ้า บังสุกุลในสระนี้ สระนี้อัน ผู้มิใช่มนุษย์ ได้ขุดแล้วด้วยมือ 

ดูกรกัสสป เรานั้นได้ดำริว่าจะพึงขยำผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ ครั้งนั้น ท้าวสักกะ จอมทวยเทพ ทราบความดำริในจิตของเราด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ได้ทรงยก ศิลา แผ่นใหญ่ มาวางไว้ โดยทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรง ขยำผ้าบังสุกุล บนศิลาแผ่นนี้  ศิลาแผ่นนี้ อันผู้มิใช่มนุษย์ได้ยกมาวางไว้ 

ดูกรกัสสป เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงพาดผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ 

ครั้งนั้น เทพดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นกุ่มบก ทราบความดำริในจิตของเราด้วยใจ
ของตน แล้ว จึงน้อมกิ่งกุ่มลงมาโดยทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคโปรด ทรงพาดผ้า บังสุกุล ไว้บนกิ่งกุ่มนี้ ต้นกุ่มบกนี้นั้นประหนึ่งจะกราบทูลว่า ขอพระองค์จง ทรงนำ พระหัตถ์ มาแล้วน้อมลง

ดูกรกัสสป เรานั้นได้ดำริว่าจะพึงผึ่งผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอครั้งนั้น ท้าวสักกะ จอมทวยเทพ ทรงทราบความดำริแห่งจิต ของเราด้วยพระทัย ของพระองค์แล้ว ได้ยกศิลา แผ่นใหญ่ มาวางไว้โดยทูลว่าพระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรง ผึ่งผ้าบังสุกุลบนศิลา แผ่นนี้ ศิลาแผ่นนี้ อันผู้มิใช่มนุษย์ ได้ยกมาวางไว้.

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แท้ถึง กับท้าวสักกะจอมทวยเทพได้ทำการช่วยเหลือ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือน เราแน่.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค เสวยภัตตาหาร ของชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้วประทับ อยู่ใน ไพรสณฑ์ ตำบลนั้นแล.

ปาฏิหาริย์เก็บผลหว้าเป็นต้น (ปาฏิหาริย์ที่ ๗)
(พระผู้มีพระภาค หายจากต้นหว้า ไปปรากฎที่โรงเพลิง)

              [๔๕] ครั้นล่วงราตรีนั้นไป ชฎิลอุรุเวลกัสสป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค 
ครั้นแล้ว จึงกราบทูลภัตตกาล แด่พระผู้มีพระภาคว่าถึงเวลาแล้วมหาสมณะ 
ภัตตาหารเสร็จแล้ว. พระผู้มี พระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ท่านไปเถิดเราจะตามไป.

พระผู้มีพระภาค ทรงส่งชฎิลอุรุเวลกัสสปไปแล้ว ทรงเก็บผลหว้าจากต้นหว้า ประจำ ชมพูทวีป แล้วเสด็จมาประทับนั่งในโรงบูชาเพลิงก่อน. 

ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้เห็นพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งในโรงบูชาเพลิง แล้วได้ทูลคำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่มหาสมณะ ท่านมาทางไหน ข้าพเจ้ากลับมา ก่อนท่าน แต่ท่านยังมานั่ง ในโรงบูชาเพลิงก่อน?

ภ. ดูกรกัสสป เราส่งท่านไปแล้ว ได้เก็บผลหว้าจากต้นหว้าประจำชมพูทวีป แล้วมานั่ง ในโรงบูชาเพลิงนี้ก่อน ดูกรกัสสปผลหว้านี้แล สมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น รส ถ้าท่านต้องการ เชิญบริโภคเถิด.

อุรุ. อย่าเลย มหาสมณะท่านนั่นแหละ เก็บผลไม้นี้มาท่านนั่นแหละจงฉันผลไม้นี้เถิด.

ลำดับนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แท้ เพราะส่งเรามาก่อนแล้ว ยังเก็บผลหว้าจากต้นหว้าประจำชมพูทวีป แล้วมานั่งใน โรงบูชาเพลิง ก่อน แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

เสด็จไปสู่ภพดาวดึงส์ ทรงเก็บดอกปาริฉัตตกะ (ปาฏิหาริย์ที่ ๘)

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค เสวยภัตตาหารของชฎิลอุรุเวลกัสสป แล้วประทับอยู่ใน ไพรสณฑ์ ตำบลนั้นแล. ครั้นล่วงราตรีนั้นไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วจึงทูลภัตตกาล แด่พระผู้มีพระภาคว่าถึงเวลาแล้ว มหาสมณะ ภัตตาหาร เสร็จแล้ว.

พระผู้มีพระภาค ทรงส่งชฎิลอุรุเวลกัสสปไปด้วยพระดำรัสว่า ดูกรกัสสป ท่านไปเถิด เราจักตามไป แล้วทรงเก็บผลมะม่วง... ผลมะขามป้อม .. ผลสมอ ในที่ไม่ไกล ต้นหว้า ประจำชมพู ทวีปนั้น ...เสด็จไปสู่ภพดาวดึงส์ ทรงเก็บดอก ปาริฉัตตกะ แล้วมาประทับ นั่ง ในโรงบูชาเพลิง ก่อน. 

ชฎิลอุรุเวลกัสสป ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งในโรงบูชาเพลิง ครั้นแล้ว ได้ทูล คำนี้ ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่มหาสมณะ ท่านมาทางไหน ข้าพเจ้ากลับมา ก่อนท่าน แต่ท่าน ยังมา นั่งในโรงบูชาเพลิงก่อน?.

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัสสป เราส่งท่านแล้วได้ไปสู่ภพดาวดึงส์ เก็บดอก ปาริฉัตตกะ แล้วมานั่งในโรงบูชาเพลิงก่อน ดูกรกัสสป ดอกปาริฉัตตกะนี้แล สมบูรณ์ ด้วยสี และกลิ่น.

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แท้  เพราะส่งเรามาก่อนแล้วยังไปสู่ภพดาวดึงส์ เก็บดอกปาริฉัตตกะ แล้วมานั่งในโรง บูชาเพลิง ก่อน แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ปาฏิหาริย์ผ่าฟืน (ปาฏิหาริย์ที่ ๙)

              [๔๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิลเหล่านั้นปรารถนาจะบำเรอไฟ แต่ไม่อาจ จะผ่าฟืนได้. จึงชฎิลเหล่านั้นได้มีความดำริต้องกันว่า ข้อที่พวกเราไม่อาจผ่าฟืน ได้นั้น คงเป็นอิทธานุภาพ ของพระมหาสมณะไม่ต้องสงสัยเลย. 

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสปว่าดูกรกัสสป พวกชฎิล จงผ่าฟืน เถิด. ชฎิลอุรุเวลกัสสป รับพระพุทธดำรัสว่า ข้าแต่มหาสมณะพวกชฎิล จงผ่าฟืนกัน. ชฎิลทั้งหลายได้ผ่า ฟืน ๕๐๐ ท่อนคราวเดียวเท่านั้น. 

ครั้งนั้นแล ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ มากแท้ ถึงกับให้พวกชฎิลผ่าฟืนได้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.


ปาฏิหาริย์ก่อไฟ (ปาฏิหาริย์ที่ ๑๐)

              [๔๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิลเหล่านั้นปรารถนา จะบำเรอไฟ แต่ไม่ อาจจะก่อไฟ ให้ลุกได้. จึงชฎิลเหล่านั้นได้มีความดำริ ต้องกันว่าข้อที่พวกเราไม่อาจ จะก่อไฟให้ลุกขึ้นได้นั้น คงเป็นอิทธานุภาพ ของพระมหาสมณะ ไม่ต้องสงสัยเลย.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป พวกชฎิล จงก่อไฟ ให้ลุกเถิด. ชฎิลอุรุเวลกัสสป รับพระพุทธดำรัสว่า ข้าแต่มหาสมณะ พวกชฎิล จงก่อไฟ ให้ลุกไฟทั้ง ๕๐๐ กอง ได้ลุกขึ้นคราวเดียวกันเทียว. 

ลำดับนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่าพระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แท้ ถึงกับให้ไฟลุกขึ้นได้  แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.

ปาฏิหาริย์ดับไฟ (ปาฏิหาริย์ที่ ๑๑)

              [๔๘] ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิลเหล่านั้น บำเรอไฟกันแล้วไม่อาจดับไฟได้
จึงได้คิด ต้องกันว่าข้อที่พวกเราไม่อาจดับไฟได้นั้น คงเป็นอิทธานุภาพของพระสมณะ ไม่ต้องสงสัยเลย. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป พวกชฎิลจงดับไฟเถิด.

ชฎิลอุรุเวลกัสสป รับพระพุทธดำรัสว่าข้าแต่มหาสมณะ พวกชฎิลจงดับไฟกัน. ไฟทั้ง ๕๐๐ กอง ได้ดับคราวเดียวกันเทียว.

ครั้งนั้นแล ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ มากแท้ ถึงกับให้พวกชฎิลดับไฟได้  แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่.


ปาฏิหาริย์กองไฟ (ปาฏิหาริย์ที่ ๑๒)

              [๔๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ชฎิลเหล่านั้น พากันดำลงบ้างผุดขึ้นบ้าง ทั้งดำ ทั้งผุดบ้าง ในแม่น้ำเนรัญชรา ในราตรีหนาวเหมันตฤด ระหว่างท้ายเดือน ๓ ต้นเดือน ๔ ในสมัยน้ำค้างตก.

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาค ได้ทรงนิรมิตกองไฟไว้ ๕๐๐ กอง สำหรับให้ชฎิลเหล่านั้น ขึ้นจากน้ำแล้วจะได้ผิง. จึงชฎิลเหล่านั้นได้มีความดำริต้องกัน ว่า ข้อที่ กองไฟเหล่านี้ ถูกนิรมิตไว้ นั้น คงต้องเป็นอิทธานุภาพของพระมหาสมณะ ไม่ต้องสงสัยเลย. 

ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่าพระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
แท้ ถึงกับนิรมิตกองไฟได้มากมายถึงเพียงนั้น แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเราแน่


ปาฏิหาริย์น้ำท่วม (ปาฏิหาริย์ที่ ๑๓)

              [๕๐] ก็โดยสมัยนั้นแล เมฆใหญ่ ในสมัยที่มิใช่ฤดูกาลยังฝน ให้ตกแล้ว  ห้วงน้ำใหญ่ ได้ไหลนองไป. ประเทศที่พระผู้มีพระภาคประทับ อยู่นั้น ถูกน้ำท่วม. ขณะนั้นพระผู้มีพระภาค ได้ทรง พระดำริว่าไฉนหนอ เราพึงบันดาล ให้น้ำ ห่างออกไปโดยรอบ แล้วจงกรมอยู่บนภาคพื้น อันมีฝุ่นฟุ้ง ขึ้นตอนกลาง.

ครั้นแล้วจึงทรงบันดาลให้น้ำห่างออกไปโดยรอบ แล้วเสด็จจงกรมอยู่บน ภาคพื้น  อันมีฝุ่นฟุ้งขึ้นตอนกลาง.  ต่อมาชฎิลอุรุเวลกัสสปกล่าวว่า พระมหาสมณะ อย่าได้ ถูกน้ำพัดไปเสีย เลยดังนี้ แล้วพร้อมด้วยชฎิลมากด้วยกัน ได้เอาเรือไปสู่ ประเทศ ที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่.  ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงบันดาลให้น้ำ ห่างออกไป โดยรอบ แล้วเสด็จจงกรมอยู่บนภาคพื้น อันมีฝุ่นฟุ้งขึ้นตอนกลาง แล้วได้ทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่มหาสมณะท่านยังอยู่ที่นี่ดอกหรือ? 

               พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่าถูกละ กัสสป เรายังอยู่ที่นี่ ดังนี้แล้วเสด็จ
ขึ้นสู่เวหาส ปรากฏอยู่ที่เรือ. จึงชฎิลอุรุเวลกัสสปได้มีความดำริว่า พระมหาสมณะ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ถึงกับบันดาลไม่ให้น้ำไหลไปได้ แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์ เหมือนเราแน่.


ทูลขอบรรพชาและอุปสมบท

              [๕๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่า โมฆบุรุษนี้ได้มีความ คิดอย่างนี้มา นานแล้ว ว่าพระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ แต่ก็ไม่เป็น พระอรหันต์เหมือนเราแน่ ถ้ากระไร เราพึงให้ชฎิลนี้สลดใจแล้ว จึงตรัสกะชฎิลอุรุเวล กัสสปว่า ดูกรกัสสป ท่านไม่ใช่ พระอรหันต์แน่  ทั้งยังไม่พบทางแห่งความ เป็น พระอรหันต์ แม้ปฏิปทาของท่านที่จะเป็นเหตุ ให้เป็นพระอรหันต์  หรือพบทางแห่ง ความเป็นพระอรหันต์ก็ไม่มี. 

ทีนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ซบเศียรลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค  แล้วทูลขอ บรรพชา อุปสมบท ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระพุทธเจ้าพึงได้บรรพชา พึงได้ อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดูกรกัสสป ท่านเป็นผู้นำเป็นผู้ฝึกสอน เป็นผู้เลิศ เป็นหัวหน้า เป็นประธาน ของชฎิล ๕๐๐ คน ท่านจงบอกกล่าวพวกนั้นก่อน พวกนั้นจักทำ ตามที่เข้าใจ.

ลำดับนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปเข้าไปหาชฎิลเหล่านั้น ครั้นแล้วได้แจ้งความประสงค์ ต่อชฎิลเหล่านั้นว่าผู้เจริญทั้งหลาย เราปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ ในพระมหา สมณะ ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงทำตามที่เข้าใจ.

               ชฎิลพวกนั้นกราบเรียนว่า พวกข้าพเจ้าเลื่อมใสยิ่งในพระมหาสมณะมานานแล้วขอรับ ถ้าท่าน อาจารย์จักประพฤติพรหมจรรย์ ในพระมหาสมณะ พวกข้าพเจ้า ทั้งหมดก็จัก ประพฤติ พรหมจรรย์ ในพระมหาสมณะเหมือนกัน.

ต่อมา ชฎิลเหล่านั้นได้ลอยผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชาเพลิงในน้ำ แล้ว พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซบเศียรลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วได้ ทูลขอบรรพชา อุปสมบท ต่อพระผู้มี พระภาคว่า ขอพวกข้าพระองค์พึงได้ บรรพชา พึงได้ อุปสมบทใน สำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

  พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้แล้ว ได้ตรัสต่อไปว่า ธรรม อันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

              [๕๒] ชฎิลนทีกัสสปได้เห็นผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชาเพลิง
ลอยน้ำมา ครั้นแล้ว ได้มีความดำริว่าอุปสรรคอย่าได้มีแก่พี่ชายเราเลย จึงส่งชฎิล ไปด้วย คำสั่งว่า พวกเธอ จงไป จงรู้พี่ชายของเราดังนี้แล้ว ทั้งตนเองกับชฎิล ๓๐๐ ได้เข้าไปหา ท่านพระอุรุเวลกัสสป แล้วเรียนถามว่าข้าแต่พี่กัสสป พรหมจรรย์นี้
ประเสริฐแน่หรือ? พระอุรุเวลกัสสปตอบว่า แน่ละเธอ พรหมจรรย์นี้ประเสริฐ.

หลังจากนั้น ชฎิลเหล่านั้นลอยผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชาเพลิง ในน้ำ แล้วพากันเข้า เฝ้าพระผู้มีพระภาค ซบเศียรลงแทบพระบาท ของพระผู้มีพระภาค แล้วได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอพวกข้า พระพุทธเจ้าพึงได้ บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่าพวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิดดังนี้แล้ว ได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรา กล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์ โดยชอบเถิด.

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

              [๕๓] ชฎิลคยากัสสปได้เห็นผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชาเพลิง ลอยน้ำมา. ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า อุปสรรคอย่าได้มีแก่พี่ชายทั้งสองของเรา เลย แล้วส่งชฎิลไป ด้วยคำสั่ง ว่าพวกเธอจงไป จงรู้พี่ชายทั้งสองของเราดังนี้แล้ว ทั้งตนเองกับชฎิล ๒๐๐ คน ได้เข้าไปหาท่าน พระอุรุเวลกัสสป แล้วเรียนถามว่า ข้าแต่พี่กัสสป พรหมจรรย์นี้ประเสริฐแน่หรือ?

พระอุรุเวลกัสสปตอบว่า แน่ละเธอ พรหมจรรย์นี้ประเสริฐ.

หลังจากนั้น ชฎิลเหล่านั้นลอยผม ชฎา เครื่องบริขาร และเครื่องบูชาเพลิง ในน้ำแล้ว พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซบเศียรลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ทูลขอบรรพชา อุปสมบท ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอพวกข้าพระพุทธเจ้า พึงได้บรรพชา จึงได้อุปสมบทในสำนัก พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิดดังนี้แล้ว ได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด

พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุเหล่านั้น.

              [๕๔] พวกชฎิลนั้น ผ่าฟืน ๕๐๐ ท่อนไม่ได้ แล้วผ่าได้ก่อไฟไม่ติด  แล้วก่อไฟติดขึ้นได้ ดับไฟไม่ดับ แล้วดับได้ ด้วยการเพ่งอธิษฐานของพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงนิรมิตกองไฟ ไว้ ๕๐๐ กอง. ปาฏิหาริย์ ๓๕๐๐ วิธี ย่อมมีโดยนัยนี้.



อาทิตตปริยายสูตร (แสดงธรรมแก่เหล่าชฎิล)

              [๕๕] ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระพุทธาภิรมย์ แล้ว เสด็จจาริกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่ตำบลคยาสีสะ พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูป  ล้วนเป็นปุราณชฎิล. ได้ยินว่าพระองค์ ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วย ภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป.

ณ ที่นั้น  พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย ว่าดังนี้
             
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวง เป็นของร้อน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณ อาศัยจักษุ เป็นของร้อน สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์  หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย  แม้นั้นก็เป็น ของร้อน  ร้อนเพราะอะไร? 

เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ  ร้อนเพราะ ความเกิด  เพราะความแก่และความตาย  ร้อนเพราะความโศก  เพราะความรำพัน  เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ  เพราะความคับแค้น.

โสตเป็นของร้อน  เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ...
ฆานะเป็นของร้อน  กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ...
ชิวหาเป็นของร้อน  รสทั้งหลายเป็นของร้อน ...
กายเป็นของร้อน  โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน ...
มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน 
วิญญาณอาศัยมนะเป็นของร้อน
สัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน
ความเสวยอารมณ์เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข 
ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
แม้นั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร?

เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และความตาย ร้อนเพราะความโศก 
เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ 
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยจักษุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์ มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ...
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยมนะ  ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข  ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย.

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด 
เพราะสิ้นกำหนัด
จิตก็พ้น
เมื่อจิตพ้นแล้ว
ก็รู้ว่าพ้นแล้ว 
อริยสาวกนั้น
ทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์
ได้อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ
ได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้
ไม่มี 

ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้น  พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.(สำเร็จอรหันต์พร้อมกัน)

(พระสูตรต่อจากนี้ ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร พร้อมกับเหล่าชฎิลทั้ง ๑,๐๐๐ รูป
ซึ่งเป็นการเสด็จพระนครราชคฤห์ ครั้งแรก P402 )



(ความโดยย่อ)
ทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้เหล่าชฏิล 3 พี่น้องได้เห็นถึง  12 ครั้ง
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จมาประทับ ณ โรงบูชาเพลิง(บูชาไฟ)



ครั้งที่ 1 ปราบพญานาค
ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร (แสดงฤทธิ์)หลังพญานาค ที่อาศัยอยู่ในโรงบูชาเพลิง พ่นควัน และไฟ เข้าใส่พระพุทธเจ้า จนพระองค์จับพญานาค มานอนขดไว้ในบาตร

ครั้งที่ 2 ท้าวมหาราชทั้ง 4 ผู้มีฤทธิ์มากเข้าเฝ้า
ท้าวมหาราชทั้ง 4 (ท้าวจาตุมหาราช เทวดาชั้นกามภพ) ผู้มีฤทธิ์มาก (มากกว่าพญานาค) และมีรัศมีรอบกาย เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม

ครั้งที่ 3 ท้าวสักกะจอมทวยเทพเข้าเฝ้า
ท้าวสักกะจอมทวยเทพ (เทวดาชั้นดาวดึงส์- ชั้นกามภพ) ผู้มีฤทธิ์มากกว่าท้าวมหาราช และมีรัศมีรอบกายที่ประณีตกว่า เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม… ทำให้ชฎิลอุรุกัสสป เข้าใจว่า พระศาสดามีฤทธิ์มาก

ครั้งที่ 4 ท้าวสหัมบดีพรหมเข้าเฝ้า
ท้าวสหัมบดีพรหม(เทวดาชั้นพรหม-สุทธาวาส) ผู้มีฤทธิ์มากกว่าท้าวสักกะจอม ทวยเทพ และมีรัศมีรอบกายที่ประณีตกว่า เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม

ครั้งที่ 5  เสด็จไปทรงบาตรที่อุตรกุรุทวีป
พระศาสดาทราบความวิตกของเหล่าชฏิลในวันพิธีบูชายัญ เกรงว่าพระศาสดา จะแสดง ฤทธิ์ จนชาวมคธหันมาเลื่อมใสพระศาสดา จึงเสด็จไปทรงบาตร ที่อุตรกุรุทวีป

ครั้งที่ 6 ท้าวสักกะ ขุดสระพร้อมยกแผ่นศิลาใหญ่มาวางให้พระพุทธเจ้าซักผ้าบังสุกุล
ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ทราบความดำริของพระศาสดา ว่าต้องการซักผ้าบังสุกุล จึงขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ พร้อมกับยกศิลาแผ่นใหญ่มาวาง

ครั้งที่ 7 ปาฏิหาริย์เก็บผลหว้า
พระพุทธเจ้าทรงเก็บผลหว้า ให้ชฎิลอุรุเวลกัสสปกลับไปก่อน  แต่เมื่อถึงที่ประทับ ชฏิลแปลกใจว่า พระพุทธเจ้าทำไมมาถึงก่อน จึงทูลถามว่าพระองค์มาจากทางไหน

ครั้งที่ 8 ปาฏิหาริย์
เสด็จไปสู่ภพดาวดึงส์ ทรงเก็บดอกปาริฉัตตกะ

ครั้งที่ 9 ปาฏิหาริย์ผ่าฟืน
ชฎิลเก็บฝืนเพื่อบูชาไป แต่ผ่าฝืนไม่ได้ แต่หลังจากชฎิลอุรุเวลกัสสป เข้าเฝ้า พระองค์ตรัสให้ชฏิลผ่าฝืน ชฎิลทั้งหลายได้ผ่าฟืน ๕๐๐ ท่อนในคราวเดียวเท่านั้น

ครั้งที่ 10 ปาฏิหาริย์ก่อไฟ
ชฎิลเก็บฝืนเพื่อบูชาไป แต่แต่ก่อไฟไม่ได้ แต่หลังจากชฎิลอุรุเวลกัสสป เข้าเฝ้า พระองค์ตรัสให้ชฏิลก่อไฟ ชฎิลทั้งหลายได้ก่อไฟ  ๕๐๐ กองในคราวเดียวเท่านั้น

ครั้งที่ 11 ปาฏิหาริย์ดับไฟ
ชฎิลเหล่านั้นบำเรอไฟกันแล้วไม่อาจดับไฟได้ พระองค์ได้ตรัสกะชฎิลอุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป พวกชฎิลจงดับไฟเถิด ทำให้ไปดับพร้อมกันทั้ง 500 กอง

ครั้งที่ 12 ปาฏิหาริย์กองไฟ
ชฎิลเหล่านั้นพากันดำลงบ้างผุดขึ้นบ้าง ทั้งดำทั้งผุดบ้าง ในแม่น้ำเนรัญชรา ในราตรีหนาวเหมันตฤด ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคได้ทรงนิรมิตกองไฟไว้ ๕๐๐ กอง สำหรับให้ชฎิลเหล่านั้น ขึ้นจากน้ำแล้วจะได้ผิง

ครั้งที่ 13 ปาฏิหาริย์น้ำท่วม
เมฆใหญ่ในสมัยที่มิใช่ฤดูกาลยังฝนให้ตกแล้ว ห้วงน้ำใหญ่ ได้ไหลนองไป จึงทรง บันดาลให้น้ำห่างออกไปโดยรอบ แล้วเสด็จจงกรมอยู่บนภาคพื้น อันมีฝุ่นฟุ้งขึ้น ตอนกลาง

แม้ปาฏิหาริย์ทั้ง 12 ครั้ง ชฎิลอุรุเวลกัสสปก็รู้ว่าพระองค์มีฤทธิ์มาก แต่ก็คิดว่า ยังไม่ เป็นอรหันต์ เหมือนตน พระผู้มีพระภาคได้ทรงพระดำริว่านี่เป็น โมฆบุรุษ จึงตรัสกะ ชฎิลอุรุเวลกัสสปว่า ดูกรกัสสป ท่านไม่ใช่พระอรหันต์แน่ ทั้งยังไม่พบทางแห่ง ความ เป็นพระอรหันต์ แม้ปฏิปทา ของท่านที่จะเป็นเหตุ ให้เป็นพระอรหันต์ หรือพบทางแห่ง ความเป็นพระอรหันต์ก็ไม่มี. 

ณ ที่นั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสป (หัวหน้าชฏิล) ได้ซบเศียรลงที่พระบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูลขอบรรพชาอุปสมบท พร้อมกับ ได้ชักชวนชฏิลทั้งหมดอีก 1000 คน เข้ามาบวช สรุปว่าพระพู้มีพระภาคเสด็จจาริก ที่ตำบลอุรุเวลาครั้งนี้ ได้สาวกเข้ามาบวชในพุทธศาสนาถึง 1003 คน        
.

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์