|
ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า 106
ความเหนียวแน่นของสัสสตทิฏฐิปิด บังการเห็นอริยสัจสี่
จึงสงสัยต่อหลักของอริยสัจ หรือปฏิจจสมุทบาท
สัสสตทิฐิ (อ่านว่า สัดสะตะทิถิ) แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง เป็นทิฐิที่ตรงกันข้ามกับ อุจเฉททิฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ หรือไม่เกิดอีก ไม่เชื่อว่าชาติหน้ามีจริง) ศาสนาพุทธถือว่าทั้งสัสสตทิฐิ และ อุจเฉททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออะไรมีอยู่หนอ เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งอะไร เพราะปักใจเข้าไปสู่อะไร ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นจนถึงกับว่า "ลมก็ไม่พัดแม่น้ำก็ไม่ไหลสตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอดพระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตกแต่ละอย่างๆเป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้?
ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลวิงวอนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ธรรมทั้งหลาย ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเป็นผู้นำ มีพระผู้มี พระภาคเป็นที่พึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! เป็นการชอบแล้วหนอ ขอให้อรรถแห่ง ภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเองเถิด. ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังจากพระผู้มี พระภาคแล้วจักทรงจำไว้" ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเตือนให้ภิกษุทั้งหลาย เหล่านั้นตั้งใจฟังด้วยดีแล้ว ได้ตรัสข้อความต่อไปนี้:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อ รูปนั่นแล มีอยู่, เพราะเข้าไปยึดถือซึ่งรูป เพราะปักใจ เข้าไปสู่รูป ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ ก็ไม่คลอด พระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็ไม่ขึ้น ไม่ตก แต่ละอย่างๆ เป็นของตั้งอยู่ อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้.
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสอย่างเดียวกัน ทุกตัวอักษรกับในกรณี แห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์แต่ละขันธ์ เท่านั้น).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นอย่างไร:
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
("ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!")
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
("เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!")
แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐฺอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมี ครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์ และพระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นและไม่ตก แต่ละอย่างๆเป็นของ ตั้งอยู่อย่างมั่นคง ดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้?
("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!")
(ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีถ้อยคำที่ตรัสถาม และภิกษุเหล่านั้น ทูลตอบ อย่างเดียวกันทุกตัวอักษรกับในกรณีแห่งรูปนี้ ต่างกันแต่เพียงชื่อแห่งขันธ์ แต่ละขันธ์เท่านั้น).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! แม้ สิ่งใดที่บุคคลได้เห็นแล้วฟังแล้วรู้สึกแล้ว รู้แจ้งแล้ว บรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว ครุ่นคิดอยู่ด้วยใจแล้ว; เหล่านี้เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
("ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า!")
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
("เป็นทุกข์พระเจ้าข้า!")
แม้สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่น ซึ่งสิ่งนั้นแล้ว ทิฏฐิอย่างนี้ จะเกิดขึ้นได้ไหมว่า "ลมก็ไม่พัดแม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์และ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นและไม่ตก แต่ละอย่าง ๆ เป็นของตั้งอยู่อย่างมั่นคงดุจการตั้งอยู่ของเสาระเนียด" ดังนี้?
("ข้อนั้นหามิได้พระเจ้าข้า!")
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในกาลใดแล ความสงสัย (กังขา) ในฐานะทั้งหลาย ๖ ประการ เหล่านี้๑ เป็นสิ่งที่อริยะสาวกละขาดแล้ว; ในกาลนั้น ก็เป็นอันว่า ความสงสัยแม้ใน ทุกข์, แม้ในเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์, แม้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, แม้ในข้อ ปฏิบัติเครื่องทำ สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์; ก็เป็นสิ่งที่อริยสาวกนั้น ละขาดแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าเป็น อริยสาวกผู้เป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ (ต่อนิพพาน) มีการตรัสรู้พร้อม ในเบื้องหน้า, ดังนี้ แล.
----------------------------------------------------------------------------------------------
เมื่อบุคคลมีความเห็นว่า รูปเป็นต้น เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ เป็นอันเดียวกัน ทั้งในโลกนี้ และในโลก อื่น แล้ว, สัสสตทิฏฐิจะเกิดขึ้นแก่เขาอย่างแน่นแฟ้น จนถึงขนาดที่จะปรียบเทียบกัน กับอุปมา ในที่นี้ได้ว่า ลมจะไม่พัด แม่น้ำจะไม่ไหล ดังนี้เป็นต้น; คือเขาจะไม่ยอมเปลี่ยนทิฏฐิ อันแน่น แฟ้น ดุจเสาระเนียดนี้, มันจึงปิดบังการเห็นอริยสัจสี่, อริยสัจทั้งสี่ ก็คือ ปฏิจจสมุทบาท นั่นเอง; ดังนั้นจึงเป็นอันว่า ทิฏฐินั้นปิดบังการเห็นปฏิจจสมุทบาทโดยแท้. – ผู้รวบรวม. |