เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  ปฏิจจสมุปบาท คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น 397  
 
 เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
 ปฏิจจสมุปบาท
 เป็นตถตาเป็นอย่างนั้น,
 เป็นอวิตถตาไม่ผิดไปจาก
 เป็นอนัญญถตา
 ไม่เป็นไปโดยประการอื่น
 เป็น อิทัปปัจจยตา
 คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น


 
 
 


ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ หน้า43


ปฏิจจสมุปบาท
คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดงซึ่งปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น) แก่พวกเธอทั้งหลาย. พวกเธอทั้งหลาย จงฟังซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น, จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์, เราจักกล่าวบัดนี้...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไรเล่า?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
เพราะเหตุที่ พระตถาคตทั้งหลาย
จะบังเกิดขึ้นก็ตาม, จะไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม,
ธรรมธาตุนั้น ย่อมตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว;
คือความตั้งอยู่แห่ง ธรรมดา (ธัมมัฏฐิตตา),
คือความเป็นกฎ ตายตัวแห่งธรรมดา (ธัมมนิยามตา),
คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตา).

ตถาคต ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ย่อมถึงพร้อมเฉพาะ ซึ่งธรรมธาตุนั้น; 
ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว, ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงาย ของที่คว่ำ; และได้กล่าวแล้ว ในบัดนี้ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ท่านทั้งหลายจงมาดู:
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะย่อมมี" ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะเหตุดังนี้แล:
ธรรมธาตุใด ในกรณีนั้นอัน
เป็น
ตถตา คือความเป็นอย่างนั้น,
เป็น
อวิตถตา คือความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,
เป็น
อนัญญถตา คือความไม่เป็นไป โดยประการอื่น,
เป็น
อิทัปปัจจยตา คือความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ธรรมนี้เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท (คือธรรมอันเป็นธรรมชาติ อาศัยกันแล้ว เกิดขึ้น).

 

 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์