เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  กัปปสูตร : อหังการ มมังการ มานานุสัย 385  
 
เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป

  อหังการ หมายถึง การยึดว่าเป็นตัวเรา ความเย่อหยิ่งจองหอง ความทะนงตัว
  มมังการ ความสำคัญว่าเป็นของเรา ความถือว่าเป็นของเรา ความยึดถือของจิต,
  มานานุสัย หมายถึงความถือตัว ความเคยชิน (ว่าเป็นตัวเราของเรา)


 
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก หน้าที่ ๑๖๓

๑๒.
กัปปสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการรู้เห็นเป็นเหตุไม่มี อหังการ มมังการ และ มานานุสัย


              [๓๑๘] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระกัปปะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรหนอแล จึงจะไม่มี อหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีใจครองนี้ และ ในสรรพนิมิตภายนอก?

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัปปะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่าง ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีอยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี อริยสาวกเห็น สิ่งทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา.

              ดูกรกัปปะ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงไม่มีอหังการ มมังการ และ มานานุสัยในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก.
จบ สูตรที่ ๑๒.

อธิบายศัพท์
อหังการ หมายถึง การยึดว่าเป็นตัวเรา ความเย่อหยิ่งจองหอง ความทะนงตัว
มมังการ ความสำคัญว่าเป็นของเรา ความถือว่าเป็นของเรา ความยึดถือของจิต,
มานานุสัย หมายถึงความถือตัว ความเคยชิน
(ว่าเป็นตัวเราของเรา)



๑๓. กัปปสูตรที่ ๒
ว่าด้วยการรู้การเห็นเป็นเหตุปราศจาก อหังการ มมังการ และ มานานุสัย


             [๓๑๙] พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระกัปปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่าง ไร เห็นอยู่อย่างไรหนอแล มนัสจึงจะปราศจาก อหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่ มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว?

             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกัปปะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่าง ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี มีอยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี อริยสาวกเห็น สิ่งทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา อย่างนี้แล้ว จึงหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น.

              ดูกรกัปปะ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่ อย่างนี้แล มนัสจึงปราศจาก อหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว.
จบ สูตรที่ ๑๓.



   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์