เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
  อนัตตาสูตร สังโยชนสูตร อุปาทานสูตร 383  
 
  เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป
  ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา :
  ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ :
  ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และ อุปาทาน

 
 
 

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๗. อนัตตาสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นอนัตตา


              [๓๘๓] พระนครสาวัตถี. ท่านพระราธะได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อนัตตา อนัตตา ดังนี้ อะไรหนอเป็นอนัตตา? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณ เป็นอนัตตา ดูกรราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี.
จบ สูตรที่ ๗.

๘. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์


              [๓๐๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งสังโยชน์ และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งสังโยชน์เป็นไฉน สังโยชน์เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งสังโยชน์.
              ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า สังโยชน์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ นี้เรียกว่า สังโยชน์.
จบ สูตรที่ ๘.

๙. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งอุปาทาน และ อุปาทาน


              [๓๐๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง อุปาทาน และอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน เป็นไฉน?
              ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งอุปาทาน. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ชื่อว่า อุปาทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน.
จบ สูตรที่ ๙.


   
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์