เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา (ศรัทธา11 ประการ) 311  
 
  (ย่อ)

ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา (ศรัทธา11 ประการ)
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
2. ภิกษุเป็นผู้มีสุตตะมาก ทรงสุตตะ สั่งสมสุตตะ
3. ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
4. ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน
5. ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน
6. ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม กล่าวคำเป็นที่รัก เป็นผู้มีความ ปราโมทย์อย่างยิ่ง
7. ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม
8. ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ ลำบากซึ่งฌานทั้ง๔
9. ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากคือ ระลึกได้ชาติหนึ่ง บ้าง
10. ภิกษุเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม
11. ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ มิได้
 
 

-บาลี เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๖๖/๒๒๑

ลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา


ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ! บัดนี้เป็นกาลสมควรทรงแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น.
ข้าแต่พระสุคต ! บัดนี้เป็นกาลสมควรทรงแสดงลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น
ขอพระผู้มีพระภาคพึงตรัสลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธาเถิด ข้าพระองค์จักทราบ บัดนี้ว่า ภิกษุนี้จะเห็นพร้อมในลักษณะของ ผู้มีศรัทธาทั้งหลาย หรือไม่.

สุภูติ !  ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

(๑) สุภูติ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อม ด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีล ... สมาทานศึกษา อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.

(๒) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสุตตะมาก ทรงสุตตะ สั่งสมสุตตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดอย่างดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.
สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสุตตะมาก ... แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะ แห่ง ศรัทธาของผู้มีศรัทธา.

(๓) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี.
สุภูติ !  ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้นี้ ก็เป็นลักษณะ แห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.

(๔) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ ว่าง่ายเป็นผู้อดทน ยอมรับฟังคำสั่งสอนโดยเคารพ. สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทนยอมรับฟังคำสั่งสอน โดยเคารพ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.

(๕) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในกรณียกิจทั้งสูง และต่ำ ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา
อันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้น อาจทำอาจจัดได้. สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ... อาจทำ อาจจัดได้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.

(๖) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม กล่าวคำเป็นที่รัก เป็นผู้มีความ ปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง. สุภูติ !  ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้กล่าวคำอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา

(๗) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรม. สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุปรารภความเพียร ... แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.

(๘) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ ลำบากซึ่งฌานทั้ง๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.
สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก
ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน แม้นี้ ก็เป็นลักษณะ แห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.

(๙) อีกประการหนึ่ง ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากคือ ระลึกได้ชาติหนึ่ง บ้าง สองชาติบ้างสามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้างห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่าในภพโน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุ เพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่อ อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้
เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยอาการ อย่างนี้.
สุภูติ !ข้อที่ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ บ้าง ... เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยอาการอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.

(๑๐) อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิว พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ ด้วยกาย ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปจึงต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยอาการ อย่างนี้. สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ...
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยอาการอย่างนี้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่ง ศรัทธาของผู้มีศรัทธา.

(๑๑) อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. สุภูติ ! ข้อที่ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่ง ศรัทธาของผู้มีศรัทธา.

.


 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์