เว็บไซต์ อนาคามี เผยแพร่คำพระศาสดา เผยแพร่คำสอนตถาคต เว็บไซต์เผยแพร่พระสุตรคำสอนของพระพุทธเจ้า คลิปคำสอน คลิปสาธยายธรรม
 
ค้นหาคำที่ต้องการ          

 
 อาชินสูตร วาทะของผู้เป็นบัณฑิต (มรรค ๑๐ ประการ) 304  
 
 

(โดยย่อ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (มรรค ๑๐ ประการ และ ตรงกันข้าม)
๑. มิจฉาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรม เป็นอันมาก ที่ เกิดขึ้น เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วน กุศลธรรมเป็นอันมาก ที่ถึงความ เจริญเต็มที่ เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็น ประโยชน์
๒. มิจฉาสังกัปปะ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๓. มิจฉาวาจา เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจา เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๔. มิจฉากัมมันตะ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๕. มิจฉาอาชีวะ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๖. มิจฉาวายามะ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวายามะ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๗. มิจฉาสติ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๘. สัมมาสมาธิ เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๙. มิจฉาญาณะ (ความรู้) เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
๑๐. มิจฉาวิมุตติ (หลุดพ้น) เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม...

เรื่องสำคัญของพระพุทธเจ้า
การบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ
การประสูติ แสงสว่าง แผ่นดินไหว
แสวงหาสัจจะบำเพ็ญทุกรกิริยา
ปัญจวัคคีย์หลีก สิ่งที่ตรัสรู้
ตรัสรู้ แสดงเทศนาปัญจวัคคีย์
ปลงสังขาร ปรินิพพาน
ลำดับขั้นการปรินิพพาน
เทวดาแสดงฤทธิ์ขณะถวายเพลิง
แบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วน
 
 


พระไตรปิฎก [ฉบับมหาจุฬาฯ] เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก หน้าที่ ๒๖๖-๒๖๘

(ฉบับมหาจุฬา มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายกว่า ฉบับหลวง จึงนำมาเปรียบเทียบกัน)

๔. อชิตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อว่าอชิตะ

          [๑๑๖] ครั้งนั้น อชิตปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า

          “ท่านพระโคดม เพื่อนพรหมจารีของข้าพเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะมี จิตตุปบาท ๕๐๐ ดวง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้อัญเดียรถีย์ทั้งหลาย ผู้ถูกข่มขี่แล้ว รู้ตัวว่าถูกข่มขี่”

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังทรงจำเหตุแห่งความเป็นบัณฑิตได้หรือไม่”

          ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เวลานี้เป็นเวลาสมควร ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นเวลาสมควร ที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดง ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค แล้วจักทรงจำไว้”

          พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ ให้ดี เราจักกล่าว” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส เรื่องนี้ว่า

          ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะ๑- ที่ไม่เป็นธรรม ด้วย วาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดี ด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วย ธรรมนั้น จึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้ เป็นบัณฑิตหนอ’

          บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรม ด้วยวาทะที่ไม่เป็น ธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น จึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกัน ว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’

          บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะทั้งที่เป็นธรรม และไม่เป็นธรรม ด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วย วาทะ ที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะที่ไม่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น จึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิต หนอ’

          บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่ไม่เป็นธรรม ด้วยวาทะที่เป็น ธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะที่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’

          บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่เป็นธรรม และย่อมชักนำบริษัทผู้ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรมนั้น เพราะวาทะ ที่เป็นธรรมนั้น บริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมนั้นจึงสรรเสริญขึ้นพร้อมกันว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ’

          บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นประโยชน์ ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม และเป็นประโยชน์

     สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็น ประโยชน์ อะไรบ้าง คือ

     ๑. มิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาทิฏฐิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศลธรรม เป็นอันมากที่เกิดขึ้น เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วน กุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่ เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็น ประโยชน์
     ๒. มิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสังกัปปะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
     ๓. มิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวาจาเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
     ๔. มิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมากัมมันตะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
     ๕. มิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาอาชีวะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
     ๖. มิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวายามะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
     ๗. มิจฉาสติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
     ๘. สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาสมาธิเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
     ๙. มิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาญาณะเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
     ๑๐. มิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สัมมาวิมุตติเป็นสิ่งที่เป็นธรรม บาปอกุศล ธรรม เป็นอันมากที่เกิดขึ้น เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญเต็มที่ เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่ง ที่เป็นประโยชน์

     ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยคำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลควรทราบทั้งสิ่งที่ ไม่เป็น ธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม ควรทราบทั้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นประโยชน์

     ครั้นทราบแล้ว ควรปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม และเป็นประโยชน์’ เราจึงกล่าวไว้ เช่นนั้น



พระไตรปิฎก (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๒๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

อาชินสูตร
วาทะของผู้เป็นบัณฑิต


          [๑๑๖] ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าอาชินะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เพื่อนพรหมจรรย์ของข้าพเจ้าทั้งหลายชื่อว่าบัณฑิต เพราะ คิดจิตตุปบาทได้ ๕๐๐ ดวง ซึ่งเป็นเครื่องซักถามอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย อัญญ เดียรถีย์ทั้งหลายเป็นผู้ถูกข่มขี่แล้ว รู้ตัวว่าถูกข่มขี่ ฯ

          ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายทรงจำเหตุแห่งความเป็นบัณฑิตได้หรือไม่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กาลนี้เป็นกาลควร ข้าแต่พระสุคต กาลนี้เป็นกาลควร ที่พระผู้มี พระภาคพึงทรงภาษิต ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค แล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอ ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัส ว่า

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะอันไม่เป็น ธรรม ด้วยวาทะอันไม่เป็นธรรม และ ย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วย วาทะอันไม่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม นั้น ย่อมสรรเสริญ เสียงเอ็ดอึง เพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิต หนอ ฯ

            อนึ่ง บุคคลบางคน ในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรม ด้วยวาทะที่ไม่เป็น ธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วยวาทะ ที่ไม่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึง เพราะวาทะ อันไม่เป็นธรรมนั้น ว่า ดูกรท่านผู้เจริญท่านผู้นี้ เป็นบัณฑิตหนอ
ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ

           อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรม และวาทะ ที่ไม่เป็นธรรมด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบ ด้วยธรรม ให้ยินดี ด้วยวาทะไม่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญ เสียงเอ็ดอึง เพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิต หนอ ดูกรท่าน ผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ

           อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่ไม่เป็นธรรม ด้วยวาทะ ที่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่ เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะ วาทะอันเป็นธรรม นั้นว่าดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิต หนอ ฯ

           อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรม ด้วยวาทะ ที่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ประกอบ ด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะ ที่เป็นธรรม บริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะ ที่เป็นธรรม นั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้ เป็นบัณฑิตหนอ ดูกรท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ฯ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควร ทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่ เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็น ธรรมตามสิ่งที่เป็นประโยชน์

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์ เป็นไฉน และสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน ฯ

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความเห็นชอบ เป็นสิ่งที่ เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิด เป็น ปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ เห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความดำริผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความดำริชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเจรจาผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเจรจาชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การงานชอบเป็นสิ่ง
ที่เป็นธรรม ... ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีพผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเลี้ยงชีพชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพยายามผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพยายาม
ชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความระลึกผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความระลึกชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความตั้งใจชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความรู้ชอบเป็นสิ่งที่
เป็นธรรม ... ฯ
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ความพ้นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพ้นชอบเป็น
สิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความพ้นผิดเป็นปัจจัย
เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะ ความพ้นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรม และสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และ สิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ

        ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็น ธรรม และสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และ สิ่งที่ เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติ ตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ คำที่เรากล่าว ดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วเพราะ อาศัยเหตุนี้ ฯ

 
 
 
พุทธวจน : อ่านคำสอนพระศาสดา อ่านแบบสบายตา โดยคัดลอกหนังสือทั้งเล่มมาจัดทำเป็นเว็บเพจ (คลิกอ่านพร้อมดาวน์โหลดไฟล์ pdf)
90 90 90 90
พุทธประวัติ ขุมทรัพย์ อริยสัจ
ภาคต้น
อริยสัจ
ภาคปลาย
ปฏิจจ ปฐมธรรม ตถาคต อนาคามี อินทรีย์
สังวร
สัตว์
สัตตานัง
ทาน
สกทาคามี
ฆราวาส
ชั้นเลิศ
มรรควิธี
ที่ง่าย
อริยวินัย เดรัจฉานวิชา กรรม สมถะ
วิปัสสนา
โสดาบัน นา
ปานสติ
จิต มโน
วิญญาณ
ก้าวย่าง
อย่างพุทธะ
ตามรอย
ธรรม
ภพ ภูมิ
พุทธวจน
สาธยาย
ธรรม
สังโยชน์